PHARMA NEWS


ฉบับประจำวันที่ 1  ตุลาคม  2558


ข่าวจากกลุ่มงานเภสัชกรรม


เปลี่ยนแปลงรายการยาในโรงพยาบาล


1. Mecobalamine tablet 500 ug.

           เปลี่ยนบริษัทจัดซื้อยา มาเป็น ชื่อการค้า Mecobal  ®  ผลิตโดยบริษัท T.O CHEMICALS (1979) LTD .
ตัวยาสำคัญ : Mecobalamine 500 ug.
ข้อบ่งใช้  : ใช้สำหรับรักษาอาการปวดชาปลายประสาท ( peripheral neuropathies) , ผู้ที่ขาดวิตามิน B 12
ขนาดรับประทาน : รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร 

อาการข้างเคียง 
          อาจเกิดอาการ ปวดศรีษะ คลื่นใส้ อาเจียร เบื่ออาหารได้


ยาใหม่


2. Amitriptyline 25  mg.

        เปลี่ยนบริษัทจัดซื้อยามาเป็น Amitriptyline Hydrochloride tablet  ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม
ตัวยาสำคัญ : Amitriptyline 25 mg.
ข้อบ่งใช้ :   เป็นยาคลายเครียด รักษาอาการนอนไม่หลับ รักษาอาการปวดเรื้อรัง และ ปวดประสาท ปวดเส้นประสาท 
ขนาดรับประทาน : ขึ้นกับการวินิจฉัยของแพทย์
อาการข้างเคียง  
           อาการที่พบบ่อยได้แก่ มึนงง ความดันต่ำเมื่อลุกนั่งอย่างรวดเร็ว  ท้องผูก คลื่นใส้ อาเจียร 
ข้อควรระวัง
         ยานี้ทำให้มึนงง ง่วงนอน ไม่ควรใช้ยาเมื่อต้องขับรถ หรือทำงานกับเครื่องจักร

ยาใหม่


3. Fenoterol hydrochloride, Ipratropium bromide 

           เปลี่ยนบริษัทจัดซื้อยา มาเป็น ชื่อการค้า Iprateral  ®  ผลิตโดยบริษัท Pharma Innova Co., LTD .
ตัวยาสำคัญ : Fenoteral hydrobromide 1.25 mg. และ Ipratropium bromide 0.50 mg.
ข้อบ่งใช้  :  เป็นยาพ่น ขยายหลอดลม
ขนาดยา  : ขึ้นกับการวินิจฉัยของแพทย์และความรุนแรงของโรค 
อาการข้างเคียง 
          อาจเกิดอาการใจสั่นได้




ยาใหม่ ( บรรจุภัณฑ์ )


ยาใหม่

3. Ceftazidime Injection.
           เปลี่ยนบริษัทจัดซื้อยา มาเป็น ชื่อการค้า ZEDIM   ®  ผลิตโดยบริษัท Reyoung Pharmaceutical  Co., LTD. นำเข้าโดยบริษัท Great Eastem Drug Co.,Ltd.
ตัวยาสำคัญ : Ceftazidime 1 g.
ข้อบ่งใช้  :  รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย 
ขนาดยา  : ขึ้นกับการวินิจฉัยของแพทย์และความรุนแรงของโรค 
อาการข้างเคียง 
          อาจเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ ปวดและอักเสบ เมื่อฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำหรือเข้ากล้าม
ข้อควรระวัง : ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ หากเกิดอาการผื่นแดง ระคายเคือง บวม ให้หยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์



ยาใหม่


ยาใหม่ (บรรจุภัณฑ์)

นิทรรศการ ผักปลอดสาร อาหารปลอดภัย หัวใจแข็งแรง


          กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร จัดโครงการ ผักปลอดสาร อาหารปลอดภัย หัวใจแข็งแรง ในวันที่ 5 -8 ตุลาคม 2558  ณ ลานพักญาติ ภายในงานมีการจัดนิทรรศการและสาธิตตลาดผักปลอดสารพิษ  สาธิตการออกกำลังกาย เวทีเสวนากินและอยู่อย่างไรไม่เป็นโรคหัวใจ และ การแสดงลำตัด กินผักปลอดสาร อาหารปลอดภัย 


พิธีเปิด โดย พญ.รุจิรัตน์  ปุณยลิขิต

สาธิตการออกกำลังกาย แบบฤาษีดัดตน

ประชาชนร่วมออกกำลังกาย แบบฤาษีดัดตน



ประชาชนและเจ้าหน้าที่ ซื้อผักเกษตรปลอดภัยเบอร์ 8 

โครงการอาหารปลอดภัยสูง เบอร์ 8 จังหวัดฉะเชิงเทรา

          จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้มีการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัย เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวในจังหวัด ได้รับบริการด้านอาหารที่สะอาด ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ รวมถึงให้เกษตรกรและผู้ผลิตสินค้ามีความปลอดภัยจากพิษภัยของสารเคมี  นอกจากนี้ยังต้องการให้จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นแหล่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพของประเทศไทย  มีการสนับสนุนให้เกษตรกรและผู้ประกอบการด้านอาหาร พัฒนากระบวนการผลิตอาหาร ทั้งข้าวสาร เนื้อสัตว์ พืชผักผลไม้ ให้ได้ตามมาตรฐานอาหารปลอดภัยสูง เบอร์ 8
          ผักปลอดภัยสูงเบอร์ 8 ของจังหวัดฉะเชิงเทรา มีหลักที่สำคัญ 8 ข้อคือ 

  1. ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี
  2. ไม่ใช้ยาฆ่าเเมลง
  3. ไม่ใช้ฮอร์โมนเร่ง
  4. ไม่ GMO
  5. น้ำดี
  6. ดินเหมาะสม
  7. เก็บเกี่ยวสะอาด
  8. ตรวจรับรองโดยสาธารณสุข 
           ถ้าผู้บริโภคได้บริโภคผักเบอร์ 8 แล้ว จะได้รับความปลอดภัยแน่นอน ไม่มีสารเคมีอันตรายตกค้างอยู่ โดยสามารถเลือกซื้อผักเบอร์ 8 ได้ที่ตลาดสินค้าเกษตร ข้างสนามกีฬาเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ทุกวันอังคาร และ วันศุกร์ และในช่วงต่อไปจะเปิดให้มีการจำหน่ายในตลาดประจำอำเภอทุกอำเภอ ห้างสรรพสินค้าในจังหวัด ก่อนเลือกซื้อ สามารถสังเกตุได้จากบรรจุภัณฑ์ จะมีเครื่องหมายตราผักเบอร์ 8 ติดอยู่



เครื่องหมายแสดงตรา ผัก เบอร์ 8


            สำหรับร้านอาหารปลอดภัยสูง มีหลักเกณฑ์มาตรฐานร้านอาหารปลอดภัยสูง ดังนี้ 

  1. ผ่านมาตรฐานร้านอาหาร  " อาหารสะอาด รสชาติอร่อย " หรือ  " Clean Food Good Taste "
  2. เลือกใช้ผักสดที่ได้รับการรับรอง " ผักเบอร์ 8 " หรือผักสดที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐว่าปลอดสารพิษ หรือ ได้รับการตรวจว่าผักปลอดสารพิษ และมีการล้างผักิย่างถูกวิธี
  3. เลือกใช้เนื้อสัตว์ที่ปลอดสารปนเปื้อน และมีการเก็บรักษาที่ได้มาตรฐาน 
  4. จัดบริการช้อนกลางเสริ์ฟมาพร้อมกับอาหาร
  5. จัดให้มีอ่างล้างมือที่สะอาดพร้อมสบู่ สำหรับให้บริการ
  6. จัดให้มีส้วมในร้านอาหารที่สะอาดปลอดภัยแก่ผู้มาใช้บริการ
  7. ผู้สัมผัสอาหารผ่านการอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารและได้รับการตรวจสุขภาพทุกปี
  8. ร้านอาหารปลอดจากภาชนะบรรจุประเภทโฟม








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560