PHARMA NEWS
ฉบับประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2556
ข่าวจากฝ่ายเภสัช
เปลี่ยนแปลงยาในโรงพยาบาล
1. Amoxycillin 875 mg. และ Clavulanic acid 125 mg. tablet (สูตร Augmantin 1 g.)
เปลี่ยนแปลงยาจาก ชื่อการค้า Augmantin® ของบริษัท GlaxoSmithKline มาเป็นชื่อการค้า AMK® ของบริษัท R.X.Manufacturing Co.,Ltd ดังรูป
|
ยาเดิมตัดออกจากบัญชียาโรงพยาบาล |
|
ยาใหม่เข้าบัญชียาโรงพยาบาล |
2. Amoxycillin 500 mg. และ Clavulanic acid 125 mg. tablet (สูตร Augmantin 1 g.)
เปลี่ยนแปลง
ยาจาก ชื่อการค้า Cavumox® บริษัท Siam Pharmaceutical มาเป็นชื่อการค้า Curam® บริษัท SANDOZ ดังรูป
|
ยาเดิม |
|
ยาใหม่ |
3. Reparil tablet.
เปลี่ยนแปลงยา จากรูปแบบ เม็ดเปลือย มาเป็นรูปแบบ แผง ๆ ละ 10 เม็ด โดยยังคงเป็นยาของบริษัทเดิม คือ ผลิตโดย บริษัท Madaus GmbH,ดังรูป
|
ยารูปแบบเดิม |
|
ยารูปแบบใหม่ |
ผลการดำเนินงาน ถุงผ้า งานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วย นอก
กลุ่ม
งานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้จัดกิจกรรม
มอบถุงผ้าใส่ยา
ให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง และต้องมาพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง
โดยส่งมอบยาใส่ลงในถุงผ้า
และอธิบายให้ผู้ป่วยนำยาที่เหลือทั้งหมดใส่ลงในถุงผ้า
เมื่อมารับยาครั้งต่อไป เมื่อผู้ป่วยมารับยาพร้อมกับยาที่เหลือในถุงผ้า
เจ้าหน้าที่จะนำยาเดิมที่เหลือมาตรวจสอบสภาพและวันหมดอายุ
หากยามีสภาพที่ดี จะนำยาเดิมกลับมาใช้กลับผู้ป่วยคนเดิม
โดยหักลบยาเดิมจากยาที่แพทย์สั่ง ทำให้ผู้ป่วยได้ใช้ยาเดิมจนหมด
ป้องกันการใช้ยาที่เสื่อมสภาพ หรือหมดอายุ
และลดค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาลได้อีกด้วย
ผลการดำเนินการ ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2555- เดือน พฤษภาคม 2556 เป็นดังนี้
มูลค่ายาที่สามารถประหยัดได้ ดังกราฟ
จากการดำ กิจกรรม ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2555 จนถึง เดือน พฤษภาคม 2556 มีผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรม ทั้งหมด 2,874 คน โรงพยาบาลนำยาเดิมของผู้ป่วยกลับมาให้ผู้ป่วยคนเดิมใช้ ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาลได้ คิดเป็น มูลค่า 934,979.23 บาท
สรุปผลการประเมินการใช้ยา ปีงบประมาณ 2555
กลุ่มงานเภสัชกรรม ได้ทำการประเมินความเหมาะสมในการใช้ยา ในยา 4 กลุ่ม ได้แก่
1. ยาลดไขมันกลุ่ม statin 4 รายการ คือ
- Pravastatin tablet 40 mg. (Mevalotin ®)
- Rosuvastatin tablet 10 mg. (Crestor ®)
- Atrovastatin tablet 20 mg. (Xerator ® )
- Pitavastatin tabet 2 mg. (Livalo ® )
2. ยาต้านการอักเสบ กลุ่ม Selective COX2 Inhibitor 5 รายการ คือ
- Cerecoxib tablet 200 mg. (Cerebrex ® 200 mg)
- Cerecoxib tablet 400 mg. (Cerebrex ® 400 mg)
- Etoricoxib tablet 60 mg. (Arcoxia ® 60 mg)
- Etoricoxib tablet 90 mg. (Arcoxia ® 90 mg)
- Parecoxib injection 40 mg. (Dynastat ®)
3. ยาลดความดัน กลุ่ม Angiotensin Receptor blocker (ARBs) 6 รายการ คือ
- Irbesartan tablet 300 mg. (Aprovel ®)
- Telmisartan tablet 40 mg. (Micardis ® )
- Valsartan tablet 80 mg. (Divan ® )
- Valsartan 160 mg+ amlodipin 5 mg tablet. (Exforge ® )
- Candesartan tablet 16 mg. (Blopress ® )
- Olmesartan 20 - Amlodipine 5 (Normetec ®)
4.ยาลดกรดกลุ่ม Proton Pump Inhibitor 3 รายการ คือ
- Esomeprazole tablet 20 mg. (Nexium ® )
- Lansoprazole tablet 30 mg (Prevacid ® )
- Rabeprazole tablet 20 mg (Pariet ® )
จากการประเมินผลการใช้ยาตามเกณฑ์ ที่ได้จัดทำขึ้น พบว่า มีการสั่งใช้ยาไม่เหมาะสมตามเกณฑ์ ในยาแต่ละกลุ่มดังนี้
ยาลดไขมันกลุ่ม Statins
มีการประเมิน ความเหมาะสมในการใช้ยาทั้งหมด 259 คน ผลเป็นดังนี้
จากกราฟ พบว่า ยา Pitavastatin มีการสั่งใช้ยาไม่เหมาะสมตามเกณฑ์ มากที่สุด คือ 22.39 %
ยาต้านการอักเสบ กลุ่ม Selective COX2 Inhibitor
มีการประเมิน ความเหมาะสมในการใช้ยาทั้งหมด 832 คน ผลเป็นดังนี้
จากกราฟ พบว่า ยา Parecoxib มีการสั่งใช้ยาไม่เหมาะสมตามเกณฑ์ มากที่สุด คือ 41.67 %
ยาลดความดัน กลุ่ม Angiotensin Receptor blocker
มีการประเมิน ความเหมาะสมในการใช้ยาทั้งหมด 284 คน ผลเป็นดังนี้
จากกราฟ พบว่า ยา Normetec ( Olmesartan 20 mg. +Amlodipine 5 mg) มีการสั่งใช้ยาไม่เหมาะสมตามเกณฑ์ มากที่สุด คือ 50 %
ยาลดกรด กลุ่ม Proton Pump Inhibitor
มีการประเมิน ความเหมาะสมในการใช้ยาทั้งหมด 135 คน ผลเป็นดังนี้
ยา Lansoprazole มีการสั่งใช้ยา ทั้งหมด 16 คน พบว่าการสั่งใช้ยาเหมาะสมตามเกณฑ์ 100 %
เมื่อพิจารณา เป็นกลุ่มยา พบว่า ยาลดความดัน กลุ่ม Angiotensin Receptor blocker มีการสั่งใช้ยาไม่เหมาะสมตามเกณฑ์ มากที่สุด คือ 30.28 % ดังกราฟ
ทบทวนความเสี่ยง เพื่อการป้องกันเชิงระบบ
พบความคลาดเคลื่อน ในการจ่ายยา คือ จ่ายยาที่ฉลากยาผิด รายละเอียด เป็นดังนี้
ผู้ป่วยมารับการตรวจที่ แผนกผู้ป่วยนอก แพทย์สั่งยา methimazole 5 mg. 3 x 1 มีการจ่ายยาเป็น methimazole 5 mg. แต่ฉลากยาเป็น methadone 5mg.
ใบสั่งยาที่เกิดความคลาดเคลื่อน
เมื่อพบความคลาดเคลื่อน ได้ทำการติดตามผู้ป่วย พบว่าผู้ป่วยได้รับยาเป็น methimazole ถูกต้อง และตรวจสอบปริมาณยาสำรอง methadone พบว่าไม่ได้จ่ายยาชนิดนี้ออกไป จึงได้มีการทบทวนสาเหตุของความคลาดเคลื่อน พบว่า เกิดจากขั้นตอนการพิมพ์ชื่อยา โดย ชื่อยาในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ของยา methimazole และ mthadone ชื่อยาอยู่ติดกัน ขนาดความแรงของยา มีขนาดเดียวกัน คือ methimazole 5 mg. และ methadone 5 mg. ทำให้มีโอกาสเกิดความคลาดเคลื่อนได้
การแก้ไข
1. แก้ไขประวัติยาของผู้ป่วยในฐานข้อมูล ระบบคอมพิวเตอร์ ของโรงพยาบาลให้ถูกต้อง
2. ทบทวนความคลาดเคลื่อนในหน่วยงาน ให้ผู้ปฏิบัติระมัดระวัง
3. ปรับปรุงข้อมูลชื่อยา ในระบบคอมพิวเตอร์ ให้ methimazole 5 mg. ใช้ชื่อยาเป็น MMI 5 mg. ส่วน Methadone 5 mg. ให้ใช้ชื่อเดิม เพื่อป้องกันโอกาสในการเกิดความคลาดเคลื่อน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น