1 August 2013
PHARMA NEWS
ฉบับประจำวันที่ 1 สิงหาคม 2556
ข่าวจากฝ่ายเภสัช
รายการยาเข้าใหม่ในโรงพยาบาล
1. metronidazole syrup
ชื่อการค้า : Flagyl-S
ปริมาณตัวยา : ใน 1 ช้อนชา ประกอบด้วยตัวยา metronidazole 200 mg. ใน 1 ขวด มียา 100 ml.
ลักษณะยา : เป็นยาน้ำแขวนตะกอน
บริษัทผู้ผลิตและจำหน่าย : ผลิตโดย บริษัท Unither Liquid Manufacturing,Colomier,France นำเข้าและจำหน่ายโดย บริษัท Zanofi
อย.เผยผลตรวจพิสูจน์ผลิตภัณฑ์น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวลักลอบใส่ยาลดความอ้วน เฟนฟลูรามีน
พบผลิตภัณฑ์น้ำมันรำข้าวและจมูก
ข้าวชนิดแคปซูล ตราออริซานอล เลขสารบบอาหาร ที่
10-1-00653-3-0006 ลักลอบใส่ยาลดความอ้วน เฟนฟลูรามีน (Fenfluramine)
ซึ่งเป็นยาที่เพิกถอนทะเบียนแล้ ว ตั้งแต่ปี 2543 เพราะอาจทำให้ผู้บริโภคเกิ ดภาวะความผิดปกติของลิ้นหัวใจ จัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ มีสิ่งน่าจะเป็นอั นตรายแก่สุขภาพเจือปน อย.สั่งให้ผู้ผลิตงดผลิต และเร่งดำเนินคดีตามกฎหมาย
ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิ
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ทาง อย.อยู่ในระหว่างดำเนินคดี ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด พร้ อมเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่ อ คารมของผู้จำหน่าย โดยเฉพาะอ้างว่ารับประทานแล้ วทำให้น้ำหนักลด เพราะอาหารไม่ใช่ยา จะลดความอ้วนไม่ได้ และมักพบการลักลอบใส่ยาลดความอ้ วนซึ่งมีผลข้างเคียงสูง หากไม่ได้รับการดู แลจากแพทย์อาจทำให้เกิดอันตราย โดยเฉพาะในกรณีนี้พบยาลดความอ้ วน เฟนฟลูรามีน (Fenfluramine) ซึ่งเป็นยาที่ถูกเพิกถอนทะเบี ยนตำรับยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เนื่องจากไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้ยา โดยปรากฎข้อมูลการศึกษาวิจั ยพบว่า ยาเฟนฟลูรามีน (Fenfluramine) มีความสัมพันธ์กับการเกิ ดภาวะความผิดปกติของลิ้นหัวใจ (Valvular heart Disease) อาจเกิดความเสี่ยงทำให้เกิดอั นตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ หากต้องการลดความอ้วนควรเริ่มต้ นด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ ำ
เสมอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ไม่รับประทานอาหารจุบจิบ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคพบเห็นการผลิตหรื อจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผิ ดกฎหมาย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่ วน อย. 1556 หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวั ดทั่วประเทศ
http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=56916
ผลการทำกิจกรรม Medication Reconciliation
กลุ่ม งานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้มีการดำเนินกิจกรรม ทบทวนการใช้ยาของผู้ป่วย ที่เป็นโรคเรื้อรัง เมื่อเข้าทำการนอนรักษาตัว เป็นผู้ป่วยใน โรงพยาบาล โดยเปรียบเทียบ ยาที่ผู้ป่วยได้รับทั้งหมด ตั้งแต่อยู่ที่บ้าน รับยามาจากโรงพยาบาลอื่น ยาที่แพทย์สั่งขณะที่นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล และยาที่แพทย์สั่งเมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน เพื่อลดความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยา ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างต่อเนื่อง ลดความซ้ำซ้อนจากการกินยา ได้มีการดำเนินการครอบคลุมทุกหอผู้ป่วย อย่างเป็นระบบ สามารถสรุปผลการดำเนินการ เดือน กรกฎาคม 2556 ดังนี้
จำนวนใบสั่งยา ที่ดำเนินกิจกรรม medication reconciliation 45 ใบสั่งยา หอผู้ป่วยที่มีการทบทวนใบสั่งยา มากที่สุด คือ หอผู้ป่วยอายุรกรรม 28 รายละเอียดดังกราฟ
กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วย (ราย) ในหอผู้ป่วยที่ทำ Medication Reconciliation
จากการดำเนินกิจกรรม medication reconciliation กลุ่มงานเภสัชกรรมได้ติดตามทบทวนการใช้ยาของผู้ป่วยใน ทุกหอผู้ป่วย ผลการติดตามในภาพรวม ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2555 ถึง เดือน มีนาคม 2556 เป็นดังนี้
กราฟแสดงร้อยละ ของการทำ Medication Reconciliation
จากกราฟ จะเห็นว่า สามารถ
ติดตามยาเดิมของผู้ป่วยได้ มากกว่าร้อยละ 80 แต่ยังไม่ถึง 100 % เฉลี่ยแล้วติดตามได้ ร้อยละ 85.85 เนื่องจากผู้ป่วยบางราย
เข้ามารักษาไม่นาน เมื่อเภสัชกรไปติดตามการใช้ยาที่หอผู้ป่วย พบว่า
แพทย์มีคำสั่งให้กลับบ้านไปแล้ว
ทบทวนความเสียง เพื่อการป้องกันเชิงระบบ
ปัญหาความคลาดเคลื่อนในการสั่งยา เรื่อง การสั่งยา ที่ คำสั่งใช้ยาในใบสั่งยา และใน OPD card ไม่ตรงกัน ยังคงพบปัญหาอยู่ ซึ่ง ในเดือน มิถุนายน 2556 พบผู้ป่วย 1 ราย รายละเอียดดังนี้
วันที่ 18 มีนาคม 2556 ผู้ป่วยมารับการตรวจที่ แผนก ผู้ป่วยนอก แพทย์สั่งยา ในใบสั่งยา ดังภาพ ห้องยา จ่ายยาตามใบสั่งยา
ใบสั่งยา วันที่ 18 มีนาคม 56 |
ซึ่งรายการยา HCTZ แพทย์สั่งยา โดยเขียนในใบสั่งยา ว่า กินครั้งละ ครึ่ง เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหาร เช้า 90 เม็ด
วันที่ 17 มิถุนายน 56 ผู้ป่วยมาพบแพทย์ตามนัด แพทย์สั่งยา ตามเดิม แต่สั่งยา HCTZ เป็น กินครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหาร เช้า เพิ่มขนาดยาจากเดิม
ใบสั่งยาวันที่ 17 มิถุนายน 56 |
สอบถามผู้ป่วย ว่ามีการปรับขนาดยาหรือไม่ ผู้ป่วยไม่แน่ใจ จึงได้ปรึกษาแพทย์ เพื่อยืนยันการสั่งยา แพทย์แจ้งว่าประวัติการสั่งยา HCTZ ใน OPD card วันที่ 18 มีนาคม 56 เป็น กินครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
จึงได้ติดตามประวัติ ใน OPD card วันที่ 18 มีนาคม 56 พบว่า บันทึก การสั่งยา HCTZ เป็น 1x1 ซึ่งไม่ตรงกับการสั่งยาในใบสั่งยา ดังภาพ
OPD card วันที่ 18 มีนาคม 56 |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น