PHARMA NEWS

ฉบับประจำวันที่ 1 มกราคม 2557

ข่าวจากฝ่ายเภสัช



รายการยาใหม่ในโรงพยาบาล

1. Retinoic acid 




ชื่อการค้า : VESANOID ®
   รูปแบบ :  ใน 1 เม็ด ประกอบด้วยตัวยา All-trans retinoic acid 10 mg.(tretinoin)
  ข้อบ่งใช้ : ใช้ในการรักษาการลุกลามของโรค acute promyelocytic leukemia (APL; FAB classification AML-M3) 
  ขนาดยาและวิธีใช้ : 
  ผู้ใหญ่ : รับประทานขนาด 45 มิลลิกรัม/ตารางเมตร  โดยแบ่งการให้ยาเป็น 2 ครั้ง ซึ่งจะประมาณ 80 มิลลิกรัม/วัน ในผู้ใหญ่ ในผู้ป่วยเด็กควรให้ยาในขนาด 45 มิลลิกรัม/ตารางเมตร เช่นกัน เว้นแต่จะปรากฎอาการเป็นพิษขึ้น ซึ่งถ้าเกิดอาการดังกล่าว ควรปรับลดขนาดยา
  ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยา ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์และแม่ที่ให้นมลูก เนื่องจากทำให้เกิดความบกพร่องต่อการพัฒนาร่างกายของทารก
  ข้อควรระวัง : ในการศึกษาทางคลินิกพบอุบัติการณ์ของภาวะเม็ดเลือดขาวมากเกินปรกติ

  2. Ticagrelor 90 mg.
          เป็นยาตัวอย่าง ใช้ในผู้ป่วยเฉพาะราย 





ชื่อการค้า : BRILINTA®

   รูปแบบ : ใน 1 เม็ดประกอบด้วยตัวยา ticagrelor 90 mg.
   ข้อบ่งใช้ : ใช้สำหรับป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายแบบ NSTEMI หรือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายแบบ STEMI  รวมทั้งผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา และผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยการทำหัตถการสวนขยายหลอดเลือดหัวใจ (PCI)
  ขนาดยา : ควรเริ่มด้วยการรับประทานยาในขนาด 180 mg. ครั้งเดียว ต่อจากนั้นให้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง
   ข้อห้ามใช้ :  ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยา  ผู้ที่กำลังมีเลือดออก


      เปลี่ยนแปลงยา

  1. WARFARIN 5 mg
          เปลี่ยนแปลงขวดยา แต่ลักษณะสี และเม็ดยายังคงเดิม 








    โรงพยาบาลพุทธโสธร ขอเชิญชม
concert  "เพลงรักรวมใจ จัดซื้อเครื่องมือแพทย์ "

วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 13.00 - 15.00 น.
ณ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อหารายได้ในการจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ และเครื่องมือใช้ในการพยาบาลที่จำเป็นในการดูแลรักษาผู้ป่วย ภายในอาคารสร้างใหม่ 14 ชั้น ซึ่งยังขาดแคลนอีกจำนวนมากรวมมูลค่า 7 ล้านบาท
 2. เพื่อเป็นการตอบแทนผู้ให้ความอนุเคราะห์ด้วยเสียงเพลงในเทศกาลแห่งความรักด้วยวงดนตรี- นักร้องคุณภาพและนักร้องกิตติมศักดิ์

กำหนดการและรายละเอียด
12.30 น. : ท่านผู้มีเกียรติ ลงทะเบียนและรับอาหารว่าง
13.00 น. : เริ่มบรรเลงเพลงรักรวมใจจัดซื้อเครื่องมือแพทย์โดย
     สุเทพ     วงศ์กำแหง     ศิลปินแห่งชาติ นักร้องแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน
     อุมาพร     บัวพึ่ง     นักร้องแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน
     ดร.วินัย     พันธุรักษ์     อดีตวง the impossible และ วง the oriental funk
     นัดดา     วิยกาญจน์     เจ้าของรางวัลนานาชาติ the best song award 
15.00 น. : สรุปรายได้และปิดงาน          


ผลการดำเนินการกิจกรรมถุงผ้า
สรุปการทำกิจกรรม  Medication Reconciliation ผู้ป่วยใน

  กลุ่ม งานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้มีการดำเนินกิจกรรม ทบทวนการใช้ยาของผู้ป่วย ที่เป็นโรคเรื้อรัง เมื่อเข้าทำการนอนรักษาตัว เป็นผู้ป่วยใน โรงพยาบาล  โดยเปรียบเทียบ ยาที่ผู้ป่วยได้รับทั้งหมด ตั้งแต่อยู่ที่บ้าน รับยามาจากโรงพยาบาลอื่น ยาที่แพทย์สั่งขณะที่นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล และยาที่แพทย์สั่งเมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน เพื่อลดความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยา  ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างต่อเนื่อง ลดความซ้ำซ้อนจากการกินยา ได้มีการดำเนินการครอบคลุมทุกหอผู้ป่วย อย่างเป็นระบบ สามารถสรุปผลการดำเนินการ เดือน พฤศจิกายน  2556 ดังนี้
     มีผู้ป่วยที่มียาเดิม ที่ต้องทบทวนการใช้ยาทั้งหมด  76 ราย ได้มี การทบทวนการใช้ยาของผู้ป่วย  70 ราย คิดเป็นร้อยละ  92.11 หอผู้ป่วยที่มีการทบทวนใบสั่งยา มากที่สุด คือ หอผู้ป่วยอายุรกรรม   รายละเอียดดังกราฟ

กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วย (ราย) ในหอผู้ป่วยที่ทำ Medication Reconciliation




      จากการดำเนินกิจกรรม พบว่า ยังไม่สามารถติดตาม ทบทวนการใช้ยาของผู้ป่วยครอบคลุม 100 % เนื่องจากผู้ป่วยบางรายที่มีประวัติกินยาโรคเรื้อรัง และมานอนรักษาในโรงพยาบาลในเวลาสั้น เมื่อเภสัชกร ไปที่หอผู้ป่วยเพื่อทบทวนการใช้ยา พบว่าผู้ป่วยได้จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยกลุ่มที่มีการใช้ยาโรคเรื้อรังมากที่สุด คือ ผู้ป่วยกลุ่ม อายุรกรรม ในเดือน พฤศจิกายน 2556 มีผู้ป่วยที่ต้องทำการติดตามการใช้ยา  52 ราย สามารถติดตามการใช้ยาได้ 52  ราย คิดเป็น ร้อยละ 100

ทบทวนความเสี่ยง 

        มีรายงานความเสี่ยงในการจ่ายยา ซึ่งแพทย์ได้สั่งยา cefazolin 1 g. q 6 hr x 4 dose  ห้องจ่ายยา ได้จ่ายยาเป็นยาต่อเนื่อง พยาบาลที่หอผู้ป่วย โทรศัพท์มาแจ้งที่ห้องจ่ายยาว่าจ่ายยาเกินจากที่แพทย์สั่ง  จึงได้ติดตามใบสั่งยามาตรวจสอบ ดังภาพ



     ทบทวนหาสาเหตุของปัญหา เกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

1. ใบสั่งยาเป็น copy order ที่ถูกส่งมาที่ห้องยา คำสั่งใช้ยาไม่ชัดเจน แพทย์เขียน cefazolin 1 g. q 6 hr x 4 dose แต่ห้องยาอ่านไม่ชัด จึงคิดว่าแพทย์สั่งเป็นยาต่อเนื่อง
2. แพทย์ต้องการสั่งยาเป็น order for one day แต่เขียนคำสั่งยาในช่อง order for continue จึงคิดว่าต้องการสั่งยาเป็นแบบ continue

         แนวทางแก้ไข

1. ประสานงานไปยัง PCT ที่เกี่ยวข้อง ขอความร่วมมือให้เขียนใบสั่งยาให้ชัดเจน และหากต้องการสั่งยาเป็น order for one day ให้ย้ายมาเขียนคำสั่งที่ช่อง order for  one day
2. เภสัชกรผู้ตรวจสอบใบสั่งยา หากพบว่าคำสั่งใช้ยาไม่ชัดเจน ให้โทรศัพท์ยืนยันคำสั่งใช้ยา









  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560