1 february 2014

PHARMA NEWS


ฉบับประจำวันที่ 1 กุมภาพันธ์  2557


ข่าวจากกลุ่มงานเภสัชกรรม


โรงพยาบาลพุทธโสธร ขอเชิญชม

concert  "เพลงรักรวมใจ จัดซื้อเครื่องมือแพทย์ "


วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 13.00 - 15.00 น.
ณ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

วัตถุประสงค์

1. เพื่อหารายได้ในการจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ และเครื่องมือใช้ในการพยาบาลที่จำเป็นในการดูแลรักษาผู้ป่วย ภายในอาคารสร้างใหม่ 14 ชั้น ซึ่งยังขาดแคลนอีกจำนวนมากรวมมูลค่า 7 ล้านบาท

 2. เพื่อเป็นการตอบแทนผู้ให้ความอนุเคราะห์ด้วยเสียงเพลงในเทศกาลแห่งความรักด้วยวงดนตรี- นักร้องคุณภาพและนักร้องกิตติมศักดิ์

กำหนดการและรายละเอียด

12.30 น. : ท่านผู้มีเกียรติ ลงทะเบียนและรับอาหารว่าง

13.00 น. : เริ่มบรรเลงเพลงรักรวมใจจัดซื้อเครื่องมือแพทย์โดย

     สุเทพ     วงศ์กำแหง     ศิลปินแห่งชาติ นักร้องแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน
     อุมาพร     บัวพึ่ง     นักร้องแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน
     ดร.วินัย     พันธุรักษ์     อดีตวง the impossible และ วง the oriental funk
     นัดดา     วิยกาญจน์     เจ้าของรางวัลนานาชาติ the best song award 

15.00 น. : สรุปรายได้และปิดงาน          


ความรู้คู่ยา


ไม่ควรเก็บยาทุกชนิดในตู้เย็น

    บางคนมีความเชื่อว่า การเก็บยาในตู้เย็น จะช่วยให้ยาคงสภาพ และคงประสิทธิภาพดี ในการรักษา จึงพบว่า บ่อยครั้ง จะมีการเก็บยาทุกชนิดในตู้เย็น  เมื่อสังเกตุดูดีๆ จึงพบว่ามีความชื้น หรือหยดน้ำเกาะบนกล่องยา และยาเม็ดบางตัว เกิดจุดด่างดำบนเม็ดยา แคปซูลชื้นบวม เป็นต้น เหล่านี้คือความเสื่อมสภาพของยานั่นเอง ดังนั้น ความเชื่อที่ว่า ตู้เย็นจะช่วยถนอมยาให้คงสภาพดีอยู่เสมอ จึงอาจไม่จริงสำหรับยาทุกตัวเสมอไป ปัจจัยภายนอกที่ทำให้ยาเสื่อมสภาพ ไม่ได้มีเพียงอุณหภูมิเท่านั้น แสงแดดและความชื้น ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ยาเสื่อมสภาพได้
          สำหรับอุณหภูมินั้นยาแต่ละตัวมีช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษาแตกต่างกัน โดยสามารถสังเกตได้จากฉลากหรือข้อความที่ระบุข้างกล่องยา ซึ่งยาแต่ละชนิด จะแบ่งช่วงอุณหภูมิการเก็บรักษาได้ดังนี้
          เก็บที่อุณหภูมิห้อง หมายถึง การเก็บที่ช่วงอุณภูมิระหว่าง 20-25 องศาเซลเซียส แต่ไม่ควรเกิน 30 องศาเซลเซียส ซึ่งยาส่วนใหญ่ มักจะเก็บที่ช่วงอุณหภูมินี้
          เก็บในที่เย็น หมายถึง การเก็บในช่วงอุณหภูมิระหว่าง 8-15 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจใช้การเก็บรักษาในตู้เย็นช่องธรรมดา (ที่ใช้สำหรับเก็บรักษาผัก ผลไม้ ) ตัวอย่างยาที่เก็บในช่วงนี้ เช่น ยาเหน็บทวารหนักบางตัว
          เก็บในตู้เย็น หมายถึง การเก็บในช่วงอุณหภูมิระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียส ซึ่งการเก็บรักษาอาจใช้การเก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาชั้นปกติ หรือชั้นกลางตู้เย็น ไม่ควรเก็บยาในชั้นที่ติดอยู่กับแผงทำความเย็น เพราะอาจมีอุณหภูมิต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้ยาบางชนิด เสื่อมคุณภาพลงไปได้ เนื่องจากเก็บที่อุณหภูมิต่ำเกินไป หรือเสื่อมคุณภาพ เนื่องจากการเสื่อมเป็นน้ำแข็งของยา และไม่เก็บที่ฝาตู้เย็น เพราะ อุณหภูมิจะไม่คงที่เนื่องจากการเปิด ปิดตู้เย็น ตัวอย่างยาที่เก็บในช่วงอุณหภูมินี้ เช่น ยาฉีด อินซุลิน ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ยาหยอดตาที่มียาฆ่าเชื้อคลอแรมเฟนิคอลเป็นส่วนประกอบ
          จากช่วงอุณหภูมิในการเก็บรักษายาข้างต้น จะเห็นว่า ยาแต่ละตัวมีช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษายาที่แตกต่างกันออกไป การเก็บยาในช่วงอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม จะเป็นสาเหตุให้ยาเสื่อมสภาพได้
          การเก็บยาในตู้เย็น จึงไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดของการเก็บรักษายาเสมอไป การเก็บยาจึงควรศึกษาถึงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษายาจากฉลากยา หรือรายละเอียดบนกล่องยา เพื่อให้ยาคงประสิทธิภาพดีที่สุด ในการออกฤทธิ์เพื่อรักษา




reference : ทรงศักดิ์  วิมลกิตติพงศ์. "ไม่ควรเก็บยาทุกชนิดในตู้เย็น"อย.Report. 4(47) ; 10-11 : สิงหาคม 2556.

ข่าวความปลอดภัยทางยา



ยา Strontium ranelate กับอาการไม่พึงประสงค์ต่อหัวใจ
          
          คณะกรรมการ Pharmacovigilance Risk Assessment Committee (PRAC) ของประเทศยุโรป แจ้งข้อมูลการระงับการจำหน่ายยา Protelos/Osseor (Strontium ranelate) ภายหลังจากการทบทวนข้อมูลความปลอดภัยของยานี้พบความเสี่ยงที่ร้ายแรงคือ การเกิดภาวะ serious heart problem, blood clot, blockage of blood vessel serious รวมทั้งพบภาวะ skin reaction, disturbance in consciousness , seizures (fits), liver inflammation และ reduce number of blood cells.
           ยา Protelos/Osseor (Strontium ranelate) เป็นยาที่ใช้รักษาภาวะ severe osteoporosis ในสตรีวัยหมดประจำเดือน หรือผู้ชายที่มีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกผุ ในเดือนเมษายน 2013 คณะกรรมการ PRAC แนะนำให้จำกัดการใช้ยานี้ เนื่องจากพบรายงานการเกิดอาการข้างเคียงที่ร้ายแรงต่อหัวใจที่เพิ่มขึ้น คณะกรรมการ PRAC ได้ทำการทบทวนความเสี่ยงในการใช้ยา Protelos/Osseor (Strontium ranelate) โดยข้อมูลที่คณะกรรมการ PRAC ทบทวนคือ ข้อมูล in-depth review ของการเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยานี้ พบว่าผู้ป่วยที่ใช้ยา มีรายงานการเกิดภาวะ serious heart problem การเกิด blood clots หรือการเกิด blockage of blood vessel serious เท่ากับ 4 ราย ต่อ 1,000 patients- years เมื่อเปรียบเทียบกับ placebo นอกจากนี้คณะกรรมการ PRAC ได้ทำการทบทวนประโยชน์ของการใช้ยา ในการป้องกันการแตกหักของกระดูกซึ่งพบว่ามีค่อนข้างน้อย คือ สามารถลดการเกิด hip fractures ได้เท่ากับ 0.4 รายต่อ 1,000 patients-years
          คณะกรรมการ PRAC สรุปว่ายา Protelos/Osseor ( Strontium ranelate) มีความเสี่ยงมากกว่าประโยชน์ เห็นควรให้ระงับการจำหน่ายยานี้ และจะเสนอข้อมูลนี้ต่อคณะกรรมการ CHMP ในวันที่ 20-23 มกราคม 2014 เพื่อพิจารณาเป็นมาตรการของประเทศในสหภาพยุโรปต่อไป
          ในประเทศไทย ยา Protelos (Strontium ranelate) ขึ้นทะเบียนเป็นยาใหม่ มีทั้งหมด 2 ตำรับคือ เลขทะเบียน 1C 142/2549 (NC) และ เลขทะเบียน 1C 142/2549 (N) พบข้อมูลรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ในประเทศไทย ทั้งหมด 47 รายงาน โดยพบอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบหัวใจ คือ palpitation 1 รายงาน อาการไม่พึงประสงค์อื่นๆที่พบ เช่น rash, pruritus, Stevens Johnson syndrome, headache เป็นต้น (ข้อมูลถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556)
          กองแผนงานและวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จะนำเสนอเรื่องดังกล่าวพิจารณาในการประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาและเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ยาต่อไป
reference .
1. http://www.ema.europa.eu/ema access 13/01/2014
2.www.fda.moph.goth access 13/01/2014
3. www.fda.moph.go.th/vigilance access 13/01/2014



ทบทวนความเสี่ยง เพื่อการแก้ไขเชิงระบบ

          พบความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา คือ ไม่ได้จ่ายยาพ่นให้ผู้ป่วยกลับบ้าน รายละเอียด เป็นดังนี้
          ผู้ป่วยเด็ก รายหนึ่ง มารับการตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก  แพทย์สั่งยา โดยขอยาพ่น ventolin solution  ให้ไปพ่นก่อน 1 dose  ผู้ป่วยนำไปสั่งยามายื่นที่ห้องยา ห้องยา จ่ายยาพ่น พร้อมกับเขียนกำกับว่าจ่ายยาแล้ว
          หลังจากผู้ป่วยพ่นยา และแพทย์สั่งยารับประทานให้ผู้ป่วยกลับบ้าน  แพทย์ได้สั่งยารับประทาน และสั่งยาพ่น เพิ่มให้ผู้ป่วยกลับบ้าน ดังใบสั่งยาด้านล่าง  โดยยาพ่น ได้เขียนทับคำสั่งเดิม ที่เขียนว่า ขอยาก่อน ทำให้เภสัชกรผู้จ่ายยาคิดว่าผู้ป่วยได้รับยาไปแล้ว จึงได้จ่ายยาเฉพาะยารับประทานไป 




          จากปัญหาที่พบ จึงได้ทำการทบทวน ในหน่วยงาน ดังนี้

 1. กรณีที่พบว่า มีคำสั่งยา ที่เขียนว่าขอยาก่อน ให้สอบถามกับผู้ป่วยอีกครั้ง ว่าได้รับยาที่ขอก่อนไปหรือยัง ได้รับเป็นจำนวนเท่าใด ถ้าผู้ป่วยไม่แน่ใจ ให้เปิดดูข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อยืนยันอีกครั้ง 
2. หากข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ไม่ชัดเจน ให้โทรศัพท์สอบถามที่ห้องตรวจ
3. นำข้อมูลความเสี่ยง ประสานแพทย์ผู้สั่งยา และ แจ้งในที่ประชุม PCT กุมารเวชกรรม  หากต้องการสั่งยาเพิ่ม ให้เขียนคำสั่งใหม่ เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่าได้จ่ายยาให้ผู้ป่วยไปแล้ว









ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560