16 september 2014


PHARMA NEWS


ฉบับประจำวันที่ 16 กันยายน    2557



ข่าวจากกลุ่มงานเภสัชกรรม


เปลี่ยนแปลงรายการยาในโรงพยาบาล

1. chloramphenicol eye drop

เปลี่ยนบริษัทจัดซื้อยา เป็นของ บริษัท นิด้า ฟาร์มา อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด
ชื่อการค้า : PHENICOL EYE DROP 0.5 % ®
ชื่อสามัญทางยา : Chloramphenicol 
ความแรง : 0.5 mg.(0.5%)
ลักษณะยา : เป็นยาหยอดตาใส บรรจุในขวดพลาสติก ขนาด 10 ซีซี
ข้อบ่งใช้ : เป็นยาหยอดตาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย







2. olanzapine 10 mg.

เปลี่ยนบริษัทจัดซื้อยา เป็นของ บริษัท ยูนีซัน จำกัด
ชื่อการค้า : OLAPIN - 10  ®
ชื่อสามัญทางยา : olanzapine  
ความแรง : 10 mg
ลักษณะยา : เป็นยาเม็ด บรรจุในแผงสีเงิน แผงละ 10 เม็ด
ข้อบ่งใช้  : เป็นยารักษาโรคจิตเภท











3. Quetiapine 25 mg.

เปลี่ยนบริษัทจัดซื้อยา เป็นของ บริษัท ยูนีซัน จำกัด
ชื่อการค้า : QUANTIA 25  ®
ชื่อสามัญทางยา : quetiapine fumarate 
ความแรง : 25 mg
ลักษณะยา : เป็นยาเม็ด บรรจุในแผงสีเงิน แผงละ 10 เม็ด
ข้อบ่งใช้  : เป็นยารักษาโรคจิตเภท







4. Donepezil Hydrochloride

เป็นยาสนับสนุนของ บริษัท เอไซ (ประเทศไทย) มาร์เก็ตติ้ง จำกัด
ชื่อการค้า : DONEPT  ®
ชื่อสามัญทางยา : donepezil hydrochloride
ความแรง : 5 mg
ลักษณะยา : เป็นยาเม็ด บรรจุในแผลสีเงิน แผงละ 14 เม็ด
ข้อบ่งใช้  : รักษาโรคภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์










5. ยาสูตรผสม FBC

เปลี่ยนบริษัทจัดซื้อยา เป็นของ บริษัท T.MAN PHARMA CO.,LTD.
ชื่อการค้า : Ferro-vit  ®
ชื่อสามัญทางยา : เป็นยาสูตรผสม ใน 1 เม็ด ประกอบด้วย
Ferrous fumarate                            200 mg.
Vitamin B1   mononitrate                   2 mg.
Vitamin B2                                            2 mg.
Folic acid                                         100 mcg.
Vitamin D (calciferol)                  400 unit.
Vitamin K3                                       1.25 mg.
Calcium lactate                                37.5 mg.
Ammonium   molybdate                3.75 mg.
Nicotinamide                                     7.5 mg.
ลักษณะยา : เป็นยาเม็ดสี่เหลี่ยม สีแดงเลือดหมู
ข้อบ่งใช้  : เป็นยาบำรุงร่างกาย






        โครงการ สาระน่ารู้สู่ประชาชน


         กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร เชิญชวนผู้ที่สนใจ  เข้าร่วมงาน     สาระน่ารู้สู่ประชาชน เพื่อให้สาระความรู้ด้านอาหาร และ ยา  สอดแทรกความบันเทิงให้ประชาชน บุคลากรในโรงพยาบาล ผู้ป่วยและญาติ ทุกวันศุกร์สุดท้ายของเดือน 

         เดือน กันยายน  พบกันวันที่ 26 กันยายน  2557  เวลา 9.00 - 11.30 น. 
                     ณ ลานพักญาติ ด้านหลังอาคารอุบัติเหตุฉุกเฉิน








      กิจกรรมถุงผ้า     


          กลุ่มงานเภสัชกรรม ได้ทำกิจกรรมถุงผ้า ในแผนกผู้ป่วยนอก และ แผนกผู้ป่วยใน เพื่อติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย ลดปัญหาการใช้ยาซ้ำซ้อน ยาเสื่อมสภาพ 
          แผนกผู้ป่วยนอก เภสัชกร จะทำการติดตามยาของผู้ป่วย ที่คลินิกโรคเรื้องรังต่างๆ ได้แก่ คลินิกอายุรกรรม ได้แนะนำให้ผู้ป่วยนำยาที่แพทย์สั่ง ที่เหลือที่บ้าน กลับมาด้วยทุกครั้ง ที่มาพบแพทย์ตามนัด เภสัชกรจะทำการติดตามการใช้ยา ให้คำแนะนำการใช้ยาแก่ผู้ป่วย หากมีการสั่งยาชนิดเดิม ก็จะนำยาเดิมของผู้ป่วยรายนั้นๆ มาใช้ต่อ  หลังจากที่มีการตรวจสภาพ และพบว่ายายังมีคุณภาพ 
          จากการดำเนินกิจกรรม ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557  ( ตุลาคม 2556 - สิงหาคม 2557 ) เป็นต้นมา ในแผนกผู้ป่วยนอก ได้ติดตามการใช้ยาผู้ป่วยทั้งหมด 2,836 คน จากการที่นำยาเดิมของผู้ป่วยรายนั้นๆ มาใช้ต่อ ทำให้โรงพยาบาลสามารถประหยัดค่ายาไปได้ เป็นจำนวนเงิน  794,719.35  บาท.


กราฟแสดงมูลค่ายาที่นำกลับมาใช้







กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยที่ทำกิจกรรมถุงผ้า





ความรู้คู่ยา


โรคติดเชื้อไวรัส อีโบล่า 





           อีโบลา เป็นกลุ่มโรคไข้แล้วมีเลือดออกชนิดหนึ่ง ที่น่าสนใจคือโรคนี้ อัตราการแพร่ระบาดสูงและ เร็ว และอัตราตายค่อนข้างสูง(50-90%) ในประเทศไทย ยังไม่มีข้อมูลการป่วยด้วยโรคนี้
          โรคอีโบลา อยู่ในกลุ่มโรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดประมาณ 80 นาโนเมตร ยาว 790-970 นาโนเมตร อยู่ในตระกูล Filoviridae ซึ่งประกอบด้วย 4 subtypes ได้แก่ แซร์อีร์ ซูดาน ไวอรี่โคทและเรสตัน 3 subtypes แรก ทำให้เกิดการป่วยรุนแรงในคนและมีอัตราตายสูงร้อยละ 50-90  ส่วนเรสตันพบในฟิลิปปินส์ ทำให้เกิดรุนแรงในลิง แต่ในคนไม่ทำให้เกิดอาการ

แหล่งรังโรคตามธรรมชาติ ยังไม่ทราบแน่ชัดจนปัจจุบัน ทวีปอาฟริกา และแปซิฟิกตะวันตกดูเหมือนว่าน่าจะเป็นแหล่งโรค แต่ก็ยังไม่สามารถอธิบายได้ ถึงแม้ว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่น ลิง จะเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในมนุษย์ แต่ก็ไม่ใช่รังโรค เชื่อว่าติดเชื้อมาจากสัตว์ป่า ปัจจุบัน ตรวจพบเชื้อในพวก กอริลลา ชิมแปนซี (ไอวอรี่โค้ด และคองโก) กอริลลา(กาบอนและคองโก) และในสัตว์พวกกวางที่มีเขาเป็นเกลียว(คองโก) ในการศึกษาทางห้องปฎิบัติการครั้งหนึ่งแสดงว่าค้างคาวติดเชื้ออีโบลาแล้วไม่ตาย ทำให้เกิดสมมติฐานว่าสัตว์จำพวกนี้หรือไม่ ที่ทำให้เชื้อไวรัสยังคงมีอยู่ในป่าแถบร้อนชื้น

การติดต่อสัมผัสโดยตรง กับ เลือด สิ่งคัดหลั่ง อวัยวะ หรือน้ำจากร่างกายผู้ติดเชื้อ งานศพ ญาติผู้เสียชีวิตที่สัมผัสร่างกายของผู้เสียชีวิต ผู้ดูแลลิงชิมแปนซี กอริลลาที่ป่วย และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่รักษาผู้ป่วยอีโบลา โดยไม่ป้องกัน

ระยะแพร่เชื้อ ตั้งแต่เริ่มมีไข้ และตลอดระยะที่มีอาการ



ระยะฟักตัว 2-21 วัน โรคนี้ พบได้ทุกกลุ่มอายุ
 อาการ   ไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เจ็บคอ ตามด้วยอาการท้องเสีย อาเจียน ผื่น ไตและตับไม่ทำงาน บางรายมีเลือดออกทั้งภายในและภายนอก ตรงจเลือดพบเม็ดเลือดขาวต่ำ
การวินิจฉัยโดยการตรวจ antigen-RNA หรือ genes ของไวรัสจากตัวอย่างเลือด หรือ ตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส หรือ แยกเพาะเชื้อไวรัส การตรวจตัวอย่างเหล่านี้ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาก ต้องทำในห้องปฎิบัติการที่มีการป้องกันระดับสูง ระดับ 4
 การรักษายังไม่มีการรักษาเฉพาะรวมทั้งยังไม่มีวัคซีน การทดแทนน้ำ-เกลือแร่ให้เพียงพอ



  • แยกผู้ป่วย และเน้นมาตรการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด
  • ติดตามผู้สัมผัสทั้งหมด รวมทั้งผู้ที่อาจจะสัมผัสกับผู้สัมผัสใกล้ชิด โดยต้องตรวจอุณหภูมิร่างกายวันละ 2 ครั้ง เมื่อมีไข้ต้องรีบมาโรงพยาบาลและเข้าห้องแยกทันที
  • เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุกคน ต้องมีการแจ้ง/บอกให้ทราบ ถึงโรคและการติดต่อ เน้นวิธีการป้องกันขณะดูแลผู้ป่วย และการจัดการเลือด สิ่งคัดหลั่งจากผู้ป่วย

  •  reference : (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.boe.moph.go.th/fact/Ebola.htm. 15 กันยายน 2557



    ความคิดเห็น

    โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

    16 february 2015

    มกราคม 2560