1 April 1015

PHARMA NEWS


ฉบับประจำวันที่ 1  เมษายน 2558



ข่าวจากกลุ่มงานเภสัชกรรม


เปลี่ยนแปลงรายการยาในโรงพยาบาล

1. Budesonide Inhaler 100 ug/dose

เปลี่ยนบริษัทจัดซื้อยา  จากชื่อการค้า Pulmicort ®  เป็นชื่อการค้า   Budespray 100 HFA  ® ซึ่งเป็นยาที่ผลิตโดย บริษัท Medispray. ประเทศอินเดีย
ชื่อสามัญทางยา : budesonide  
ความแรง :  ในยา 1 ขวด พ่นได้ 200 ครั้ง  พ่น 1 ครั้ง มียา Budesonide 100 ug.
ลักษณะยา : เป็นขวดยา ใส่ในกระบอกสำหรับสูดพ่นยาทางปาก
ข้อบ่งใช้ : รักษาโรคหอบหืด  ซึ่งต้องการการรักษาเพื่อควบคุมอาการด้วยกลูโคคอร์ติโคสเตอรอย เพื่อควบคุมการอักเสบของทางเดินหายใจ








ผลการดำเนินงาน Drug Reconcile ผู้ป่วยใน


         กลุ่มงานเภสัชกรรม ได้ทำกิจกรรม ทบทวนการใช้ยา ผู้ป่วยใน  ( Drug Recocile) เมื่อผู้ป่วยมารักษาที่โรงพยาบาล เภสัชกรจะไปทบทวนรายการยาที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่ที่บ้าน ร่วมกับยาที่แพทย์สั่ง ขณะนอนรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อลดความซ้ำซ้อนของยา 
          เดือน กุมภาพันธ์  2558  มีผู้ป่วยที่ต้องทำการทบทวนการใช้ยาทั้งหมด 43 ราย สามารถทบทวนการใช้ยาได้ทั้งหมด  38  ราย คิดเป็นร้อยละ 88.37  ผู้ป่วยที่ไม่ได้ทบทวนการใช้ยาเป็นผู้ป่วยหอผู้ป่วยตา 3 ราย และ ศัลยกรรมทั่วไป 2 ราย  เนื่องจากเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในเวลาไม่นานแพทย์ก็ให้กลับบ้าน จำนวนผู้ป่วยที่เภสัชกรเข้าไปทำกิจกรรม ทบทวนการใช้ยาในหอผู้ป่วย จำแนกเป็นกลุ่มงานต่างๆ แสดงดังกราฟ

 จำนวนผู้ป่วยที่เภสัชกรดำเนินกิจกรรม Drug Reconcile 




              กลุ่มงานอายุรกรรม เป็นกลุ่มงานที่มีการทบทวนการใช้ยามากที่สุด คือ 26 คน จากผู้ป่วยทั้งหมด 38 คน คิดเป็นร้อยละ 68 

ความรู้คู่ยา



          เดือน เมษายน เป็นช่วงเวลาที่อากาศร้อนมากที่สุดของปี โรคที่มักพบมากในหน้าร้อนอีกโรคหนึ่ง ในประเทศไทย คือ โรคพิษสุนัขบ้า ( Rabies) เป็นโรคติดเชื้อของระบบประสาท จากสัตว์สู่คน เกิดจากเชื้อ rabies virus พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 

          การดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าหรือสงสัยว่าสัมผัส 

1. ประวัติการสัมผัส ระดับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า แยกตามลักษณะความเสี่ยงได้ 3 กลุ่ม 


2 ประวัติของสัตว์ที่สัมผัส ว่าเป็นสุนัข แมวที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าประจำปีหรือไม่ หรือเป็น สัตว์จรจัด สัตว์ป่า
3. การตรวจวินิจฉัยโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ท่ีสัมผัส กรณีสัตว์ตาย 

          การดูแลผู้สัมผัสโรค

1. ปฐมพยาบาลบาดแผลทันที โดยล้างแผล เช็ดแผล ไม่ควรเย็บแผลทันที
2. การป้องกันบาดทะยัก
3. รักษาตามอาการ
 4. การตัดสินใจให้วัคซีนและอิมมูโนโกลบูลินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

          การฉีดวัคซีนป้องกันโรคหลังสัมผัส

1. การฉีดวัคซีนโดยวิธีเข้ากล้าม (Intramuscular,IM)



2. การฉีดวัคซีนโดยวิธีเข้าในผิวหนัง ( Intradermal,ID)



          อาการไม่พึงประสงค์ที่พบหลังจากฉีดวัคซีน ยังไม่มีรายงานการแพ้วัคซีนรุนแรง อาจพบปฏิกริยาบริเวณที่ฉีด อาจมีอาการไข้ ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย เมื่อฉีดยาแล้วจะตรวจพบแอนติบอดี้คุ้มกันโรค หลังจากที่ฉีดยาไปแล้วประมาณ  14 วัน
          หากลืมฉีดยา หรือมาไม่ตรงวันนัด ไม่ต้องเริ่มฉีดยาเข็มแรกใหม่ ให้เริ่มนับต่อจากเข็มที่ฉีดล่าสุด แล้วนับวันที่ฉีดตามระยะห่างของแต่ละเข็มตามตาราง
เช่น  ผู้ป่วย ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า แบบ Intradermal  ตามกำหนดเป็นดังนี้


  แต่ในเข็มที่ 2 ผู้ป่วยลืมนัดโดยมาในวันที่ 5 เมษายน 2558 ดังนั้น ผู้ป่วย จึงได้ฉีดยาเข็มที่ 2 ในวันที่ 5 เมษายน 2558 การฉีดยาเข็มที่ 3 จึงต้องนัดให้ห่างจากเข็มที่ 2 อีก 4 วัน คือ วันที่ 9 เมษายน และเข็มที่ 4 นัดห่างจากเข็มที่ 3 อีก 27 วัน คือ วันที่ 2 พฤษภาคม 2558



























ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560