1 july 2015
PHARMA NEWS
ฉบับประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2558
ข่าวจากกลุ่มงานเภสัชกรรม
เปลี่ยนแปลงรายการยาในโรงพยาบาล
1. Loratadine 10 mg.
เปลี่ยนบริษัทในการจัดซื้อยา เป็น ชื่อการค้า CETYNE ® ผลิตโดยบริษัท UTOPIAN CO.,LTD
ชื่อสามัญทางยา : Loratadine 10 mg.
ลักษณะยา : เป็นยาเม็ดรูปไข่ สีขาว บรรจุอยู่ในแผงสีเงิน แผงละ 10 เม็ด
คุณสมบัติ : เป็นสารต้านฮิสตามีนชนิด selective - peripheral H1 - receptor antagonist
คุณสมบัติ : เป็นสารต้านฮิสตามีนชนิด selective - peripheral H1 - receptor antagonist
ข้อบ่งใช้ : ใช้บรรเทาอาการของระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากโรคภูมิแพ้ ใช้บรรเทาอาการลมพิษเรื้อรัง และอาการแพ้ทางผิวหนังอื่นๆ
วิธีใช้ : ผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 12 ปี ขึ้นไป รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง
วิธีใช้ : ผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 12 ปี ขึ้นไป รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง
ยาใหม่ |
กิจกรรมสัปดาห์เภสัช เภสัชกรในดวงใจ : ใช้ยาปลอดภัย
กลุ่มงานเภสัชกรรม จัดกิจกรรม สัปดาห์เภสัช โดยในวันที่ 22 มิถุนายน 2558 เป็นกิจกรรมการแสดงศิลปะพื้นบ้าน " เพลงฉ่อยเพื่อการใช้ยาอย่างปลอดภัย" พร้อมทั้งถ่ายทำสื่อวิดีทรรศน์ เพื่อการเผยแพร่ ร่วมกับนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาที่ลานพักญาติ วันที่ 25 มิถุนายน 2558 เป็นการบบรยายเรื่อง การป้องกันการแพ้ยา และการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา โดย ภญ. จันทร์จิรา ชอบประดิถ และ ภญ. ธนพร ลิขิตเทียนทอง จากโรงพยาบาลสมุทรสาคร ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชน และบุคคลากรทางสาธารณสุข เป็นอย่างมากเฝ้าระวัง อาการไม่พึงประสงค์จากยา Dimenhydrinate
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แจ้งผลการประเมินข้อมูลรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ในฐานข้อมูล Thai Vigibase พบรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ทางผื่นผิวหนังชนิด Fixed - drug eruption ภายหลังใช้ยา dimenhydrinate นอกจากนี้ยังพบผื่นผิวหนังชนิดรุนแรงอื่นๆด้วย เช่น Stevens - Johnson syndrome และ toxic epidermal necrolysis จึงขอให้ใช้ยาดังกล่าวด้วยความระมัดระวัง
สืบเนื่องจากผลการประเมินข้อมูลรายงานอาการไม่พึงประสงค์จาก Thai Vigibase พบว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้รับรายงานจากเครือข่ายทั่วประเทศของยา dimenhydrinate จำนวนทั้งสิ้น 3,322 ฉบับ เป็นรายงานทางระบบผิวหนัง มากที่สุด จำนวน 2,711 ฉบับ ( ข้อมูล ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2558 ) โดยพบ fixed - drug eruption มากที่สุด จำนวน 1,013 ฉบับ ผลของอาการส่วนใหญ่หายโดยยังมีร่องรอยเดิม
นอกจากนี้ ฐานข้อมูล Thai Vigibase ยังพบผื่นผิวหนังรุนแรงชนิดอื่นๆ เช่น stevens-Johnson syndrome 71 ฉบับ epidermal necrolysis 4 ฉบับ toxic epidermal necrolysis 21 ฉบับ erythema multiforme 45 ฉบับ erythema multiforme severe 3 ฉบับ เป็นต้น
ผื่นแพ้ยา fixed- drug eruption เป็นผื่นแพ้ยาที่พบได้บ่อย ลักษณะของผื่นจะมีรูปร่างกลม ขอบชัดเจน ระยะแรกเริ่มจะมีสีแดงจัด ต่อมาตรงกลางของผื่นอาจเปลี่ยนเป็นสีแดงคล้ำหรืออกม่วง ผู้ป่วยที่มีอาการแพ้มากบริเวณตรงกลางของผื่นอาจพองเป็นตุ่มน้ำได้ มักจะมีอาการแสบๆคันๆ ลักษณะที่สำคัญที่สุดของผื่นแพ้ยาชนิดนี้คือ หากผู้ป่วยได้รับยาเดิมที่แพ้เป็นครั้งที่ต่อๆมาอีก ก็จะเกิดผื่นแพ้ยาซ้ำตรงตำแหน่งเดิมทุกครั้งเสมอไป
ข่าวความปลอดภัยด้านยา
Takeda Agrees to Pay $2.4 Billion to Settle Suits over Cancer Risk of Actos
บริษัท Takeda Pharmaceutical ตกลงที่จะจ่ายค่าชดเชยจํานวน 2,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ ผู้ป่วย และญาติที่ทําการฟ้องร้องว่ายา Actos® (pioglitazone) ของบริษัทดังกล่าว เป็นสาเหตุการเกิดมะเร็ง กระเพาะปัสสาวะ และบริษัทฯ มิได้ปฏิบัติตาม product liability lawsuits ผู้เสียหายกล่าวหาว่า บริษัทฯ ปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะดังกล่าว โดยมิได้มีการระบุไว้ที่ข้อมูล ผลิตภัณฑ์ฉลาก หรือเอกสารกํากับยา อย่างไรก็ตามบริษัทฯ อ้างว่ามิได้จ่ายค่าชดเชยเนื่องจากยอมรับความผิด ตามที่ถูกกล่าวหา แต่จ่ายเพื่อเป็นการยุติคดีความเท่านั้น
องค์การอาหารและยา แห่งสหรัฐอเมริกา ได้เพิ่มคําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะที่ฉลากยา pioglitazone ตั้งแต่ปี 2554 เนื่องจากมีหลักฐานเชิงประจักษ์ระบุว่าอุบัติการณ์การเกิด มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สงสัยจากยาดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 เมื่อใช้ยาเป็นเวลา 2 ปีขึ้นไป
ยา pioglitazone เป็นยารักษาเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่ม Thiazolidinediones ออกฤทธิ์โดยกระตุ้น peroxisome proliferator activated receptors (PPAR) มีผลลดการดื้อต่ออินซูลิน ข้อมูลของยา pioglitazone ในประเทศไทย ยา pioglitazone ได้รับอนุมัติทะเบียนตํารับในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2543 โดยในปัจจุบันยา ที่มีส่วนประกอบของ pioglitazone ได้รับการขึ้นทะเบียนยามีทั้งสิ้น 21 ทะเบียนยา เป็นยาเดี่ยว 18 ทะเบียน ยา และยาสูตรผสม 3 ทะเบียนยา มีจําหน่ายในชื่อการค้า Actose®, Utmos®, Senzulin®, Gitazone®, Gitazone-forte®, Piozone®, Glusorb® และ Glubosil® และ ยาที่มีส่วนประกอบ Pioglitazone และ Metformin มีจําหน่ายในชื่อการค้า Actosmet®
ยา pioglitazone เป็นยาที่ต้องมีข้อความคําเตือนที่ฉลากและเอกสารกํากับยาตามประกาศกระทรวง สาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคําเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกํากับยาและข้อความของคําเตือน ฉบับ ที่ 47 ณ วันที่ 13 ก.ค. 55 ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการยา ครั้งที่ 1/2555 วันที่ 9 มีนาคม 2555 ดังนี้
1. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่มีหัวใจล้มเหลวในระดับที่รุนแรง (NYHA ในระดับ 3 และ4) ยานี้อาจทําให้เกิดภาวะ หัวใจล้มเหลว หากใช้ยานี้แล้วมีอาการหายใจลําบากเหนื่อยง่าย น้ําหนักเพิ่มอย่างรวดเร็ว หรือเกิดอาการบวม มากให้รีบปรึกษาแพทย์โดยทันที
2. การใช้ร่วมกับ NSAIDs Coxib หรืออินซูลินจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดภาวะบวมน้ําและหัวใจล้มเหลว มากขึ้นต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
3. ยานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
4. ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่กําลังเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
5.ให้ใช้ยานี้ด้วยความระมัดระวัง โดยคํานึงถึงประโยชน์และความเสี่ยงในผู้ป่วยที่ เคยเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ การใช้ยา pioglitazone มากกว่า ๑ ปีอาจจะเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้น
6. หากมีอาการ หรืออาการแสดงปัสสาวะเป็นเลือดกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปวดเวลา ปัสสาวะ ปวดหลัง หรือปวดท้องให้ปรึกษาแพทย์
เอกสารอ้างอิง
1. http://www.nytimes.com/2015/04/29/business/takeda-agrees-to-pay-2-4-billion-to-settle-suitsover-cancer-risk-of-actos.html?_r=0 2. EMA recommends avoidance of certain
2. http://thaihpvc.fda.moph.go.th/thaihvc/Public/NewsAdr/uploads/hpvc_346.pdf
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น