PHARMA NEWS


ฉบับประจำวันที่ 1  สิงหาคม  2558



ข่าวจากกลุ่มงานเภสัชกรรม


เปลี่ยนแปลงรายการยาในโรงพยาบาล


1. Carvedilol 6.25 mg. 

         ปรับเปลี่ยนขนาดยา carvedilol โดย ตัดยา  carvedilol  ขนาด  12.5 mg. ออกจากบัญชียาโรงพยาบาล นำยา carvedilol ขนาด 6.25 mg. ผลิตโดย บริษัท Berlin ชื่อการค้า Caraten ® มาแทน โดยคง carvedilol ขนาด 25 mg. ผลิตโดยบริษัท T.O.CHEMICAL(1979) Ltd. ชื่อการค้า TOCARLOL ® ดังเดิม 



carvedilol 6.25 mg.




carvedilol 25 mg


2.Clarithromycin 250 mg.


         เปลี่ยนบริษัทในการจัดซื้อยา จากชื่อการค้า Crixan ® ผลิตโดยบริษัท RANBAXY  เป็น ชื่อการค้า   CLARITH 250 ® ผลิตโดยบริษัท L.B.S. LABORATORY LTD.,PART.

ชื่อสามัญทางยา :  Clarithromycin 250 mg.

ลักษณะยา : เป็นยาเม็ดเคลือบฟิล์ม รูปวงรี  สีเหลืองอ่อน  บรรจุอยู่ในแผงสีเงิน แผงละ 10 เม็ด

คุณสมบัติ :  เป็นยาปฏิชีวนะ 


ข้อบ่งใช้ : ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ที่ไวต่อยา เช่น โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนกลาง, โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน , โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง 

ยาใหม่



ยาเดิม




ความรู้คู่ยา


ยา Hydroxyzine กับความผิดปรกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ


          สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แจ้งข้อมูลความปลอดภัยของยา Hydroxyzine กับการเกิดความผิดปรกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ชนิด QT interval prolongation และ Tosade de pointes เนื่องจาก ผลการทบทวนข้อมูลความปลอดภัยของ สหภาพยุโรป พบว่า ความเสี่ยงดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับการใช้ยา Hydroxyzine อย่างชัดเจน โดยห้ามใช้ยานี้ในผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ( heart rhythm disturbance) หรือใช้ร่วมกับยาอื่นที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด QT interval prolongation และขนาดยาที่แนะนำให้ใช้คือ ผู้ใหญ่ไม่ควรเกิน 100 mg./วัน  ผู้สูงอายุไม่ควรเกิน 50 mg/วัน ซึ่งขนาดยาที่วางขายทั่วไปในท้องตลาด  คือ Hydroxyzine 10 mg./เม็ด 
ยา Hydroxyzine เป็นยาในกลุ่ม antihistamine ได้รับอนุมัติข้อบ่งใช้ในประเทศไทย เพื่อ รักษาบรรเทาอาการวิตกกังวลในผู้ใหญ่ รักษาบรรเทาอาการคัน หรือให้ยาในเบื้องแรกก่อนทำการผ่าตัด จัดเป็นยาที่ต้องแจ้งข้อความคำเตือนในการใช้ยาไว้ในฉลากยา และ เอกสารกำกับยา 
          คำเตือนในฉลาก(กล่อง)
1. ยานี้ทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง 
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ไม่ควรใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรกและสตรีให้นมบุตร
          คำเตือนในเอกสารกำกับยา ใช้คำเตือนเช่นเดียวกับฉลาก และเพิ่มคำเตือนต่อไปนี้ด้วย 
1. ยานี้ทำให้ปากแห้ง ปัสสาวะขัด เสมหะเหนียวข้น ตาพร่า วิงเวียนและสับสนได้
2. เด็กและผู้สูงอายุ จะไวต่อยานี้มากขึ้น ทำให้ง่วงนอน ประสาทหลอน ปากแห้ง ปัสสาวะคั่ง  ความดันโลหิตต่ำ หงุดหงิด นอนไม่หลับ และบางรายอาจมีอาการชักได้ (Paradoxical reaction)
3. ระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เช่น Benzodiazepines ยาที่มีฤทธิ์แอนติโคลิเนอร์จิก และยาต้านอาการซึมเศร้าชนิดต่างๆ
4. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปรกติ ผู้ที่มีประวัติโรคหอบ โรคถุงลมโป่งพอง
          คณะอนุกรรมการศึกษาและเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ยา ได้พิจารณาข้อมูลยา Hydroxyzine แล้ว เห็นควรให้ปรับปรุงข้อความคำเตือนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ให้ครอบคลุมถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับภาวะความผิดปรกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
          ในเบื้องต้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงขอความร่วมมือบุคลากรทางการแพทย์ ให้ใช้ยา Hydroxyzine ด้วยความระมัดระวังตามคำแนะนำของสหภาพยุโรป และเฝ้าระวังติดตามควมปลอดภัยการใช้ยา 

เอกสารอ้างอิง  : เข้าถึงได้จาก http://thaihpvc.fda.moph.go.th/thaihvc/Public/News/uploads/hpvc_2_5_0_100521.pdf

ทบทวนความเสี่ยง เพื่อการป้องกันเชิงระบบ

  มีรายงานความเสี่ยง เรื่อง ผู้ป่วยไม่ได้รับประทานยา Rifampicin Syrup เนื่องจากไม่มีฉลากยา  รายละเอียดดังนี้
           ผู้ป่วย เด็กชายไทย ได้รับยา รักษาวัณโรค 4 ชนิด คือ Ethambutal tablet,  Pyrazinamide syrup, INH syrup, Rifampicin syrup   ต่อมาผู้ป่วยมาพบแพทย์ตามนัด พ่อถือขวดยาที่ยังไม่ผสมกลับมาด้วย  แจ้งแพทย์ว่าไม่ได้รับประทานยา เนื่องจากว่าเข้าใจว่ากินครั้งละ 1 ขวด และ ยาขวดที่ยังไม่ผสมก็ไม่มีฉลากยา
ปัญหาที่พบ
1. ผู้ดูแลไม่เข้าใจวิธีการกินยารักษาวัณโรคว่าต้องกินยาพร้อมกันทั้ง 4 ชนิด
2. ปัญหาเรื่องฉลากยาน้ำ เมื่อห้องยาจ่ายยาน้ำชนิดเดียวกันมากกว่า 1 ขวด จะติดสติ๊กเกอร์ วิธีการกินยาเพียงขวดเดียว ไม่ได้ติดทั้งหมด เนื่องจากเกรงว่าผู้ป่วยจะรับประทานยาพร้อมกันทุกขวด  แต่ทำให้เกิดปัญหาว่าผู้ป่วยไม่ได้รับประทานยาขวดที่ไม่มีฉลากยา 
 แนวทางการแก้ไข
1. ในกรณีที่มีการจ่ายยาน้ำชนิดเดียวกันมากกว่า 1 ขวด ให้จัดยาทั้งหมดใส่รวมในซองใหญ่ให้หมด และติดฉลากยาที่ซองใหญ่
2. ผู้ป่วยวัณโรคที่ได้รับยาน้ำ มากกว่า 2 ชนิดขึ้นไป ทุกราย ต้องเข้าไปรับคำแนะนำการใช้ยาที่ห้องให้คำปรึกษาด้านยา เพื่อสอนวิธีการกินยาให้กับผู้ป่วย
3. จัดทำฉลากช่วยในการกินยา ให้กับผู้ป่วยทุกครั้ง ที่มีการจ่ายยา
    ฉลากช่วยในการกินยา






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560