กันยายน 2558

PHARMA NEWS


ฉบับประจำวันที่ 1  กันยายน   2558



ข่าวจากกลุ่มงานเภสัชกรรม


เปลี่ยนแปลงรายการยาในโรงพยาบาล


1. ยาระบายมะขามแขก
           เปลี่ยนบริษัทจัดซื้อยา มาเป็น ชื่อการค้า Senokort ®  ผลิตโดยบริษัท เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ เฮลธ์แคร์ ประเทศอังกฤษ จำกัด
ข้อบ่งใช้ 
           ใช้สำหรับรักษาอาการท้องผูก เชนนา มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ได้จากฝักของเมล็ดต้นมะขามแขก ออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นให้ลำใส้มีการเคลื่อนไหว เชนนา ในเม็ดยาเสโนคอต ประกอบด้วยตัวยาสำคัญ เซนโนไซด์ ซึ่งอยู่ในรูปแบบที่ทำให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้เม็ดยาเสโนคอตทุกเม็ด มีตัวยาสำคัญ เซนโนไซด์ในปริมาณ 7.5 มิลลิกรัม คงที่ทุกเม็ด
ขนาดรับประทาน
ผู้ใหญ่  ผู้สูงอายุและเด็กอายุมากกว่า 12 ปี : 2-4 เม็ด ก่อนนอน
เด็กอายุ 6-12 ปี : 1-2 เม็ด (รับประทานเวลาเช้า)
เด็กอายุ 2-6 ปี : 1/2 - 1 เม็ด (รับประทานเวลาเช้า)
          ขนาดรับประทานที่ถูกต้องคือ ขนาดต่ำสุดที่ทำให้ถ่ายได้ปกติ ซึ่งอาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เนื่องจากบุคคลหนึ่งอาจจะถ่ายวันละครั้งเป็นปรกติ ในขณะที่บางบุคคลอาจถ่ายสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นปรกติ หลังจากรับประทานยาเสโนคอตแล้ว เมื่อการขับถ่ายกลับคืนสู่ภาวะปรกติก็สามารถหยุดยาได้
อาการข้างเคียง 
          อาจเกิดอาการปวดมวนท้องได้บ้าง ขณะเพิ่มขนาดยา
ข้อควรระวัง 
          ห้ามใช้ยาระบาบทุกชนิดเมื่อมีอาการปวดท้องหรือคลื่นใส้อาเจียน










2. Losartan 50 mg.
        เปลี่ยนบริษัทจัดซื้อยามาเป็น ชื่อการค้า LANZAAR 50® ผลิตโดยบริษัท Berlin Pharmaceutical Industry Co.,Ltd.
ข้อบ่งใช้
          ใช้สำหรับรักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตจากโรคเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง ใช้ลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับกล้ามเนื้อหัวใจโต
ขนาดรับประทาน : ขึ้นกับการวินิจฉัยของแพทย์
อาการข้างเคียง  
           อาการที่เกิดขึ้น มากกว่า 10 % ได้แก่ ระบบหลอดเลือดหัวใจมีอาการเจ็บหน้าอก  ระบบประสาทส่วนกลางอาการล้า  ระบบต่อมไร้ท่อมีอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ระบบทางเดินอาหารพบอาการท้อเสีย อาการระบบสืบพันธุ์พบการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ระบบเลือดพบอาการโลหิตจาง เป็นต้น 
ข้อควรระวัง
          ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้หรือควรใช้ยานี้ในขนาดต่ำๆในผู้ป่วยที่มี volume depletion  ควรใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีภาวะไตผิดปกติ  ภาวะตับผิดปกติ 








3. Imipenem and Cilastatin for injection  500 mg.
        เปลี่ยนบริษัทจัดซื้อยามาเป็นชื่อการค้า BACQURE®  ผลิตโดยบริษัท  RANBAXY laboratories limited. 
ข้อบ่งใช้ 
           รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย
ขนาดยา 
           ขึ้นกับการวินิจฉัยของแพทย์
อาการข้างเคียง
        โดยทั่วไปผู้ป่วยจะทนต่ออาการข้างเคียงของยาได้ดี อาการข้างเคียงที่ทำให้ที่ทำให้ต้องหยุดการให้ยามีน้อยและโดยทั่วไปอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นคืออาการเฉพาะที่  เช่น บวมแดงและปวดบริเวณที่ฉีดยา หลอดเลือดดำอักเสบ  อาการแพ้ ผื่นแดง คัน ลมพิษ เป็นต้น
ข้อควรระวัง 
         มีรายงานการเกิดอาการข้างเคียงต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น อาการสับสน และชักเมื่อให้ยาทางหลอดเลือดดำ โดยเฉพาะเมื่อให้ยาเกินขนาดเเนะนำ อาการข้างเคียงเหล่านี้มักพบในผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติทางระบบประสาทส่วนกลางอยู่ก่อนแล้ว  หรือผู้ที่มีภาวะไตทำงานผิดปกติ 






ผลการดำเนินงาน Drug Reconcile ผู้ป่วยใน


         กลุ่มงานเภสัชกรรม ได้ทำกิจกรรม ทบทวนการใช้ยา ผู้ป่วยใน  ( Drug Recocile) เมื่อผู้ป่วยมารักษาที่โรงพยาบาล เภสัชกรจะไปทบทวนรายการยาที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่ที่บ้าน ร่วมกับยาที่แพทย์สั่ง ขณะนอนรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อลดความซ้ำซ้อนของยา 
          เดือน สิงหาคม 2558 มีผู้ป่วยที่ต้องทำการทบทวนการใช้ยาทั้งหมด 25 ราย สามารถทบทวนการใช้ยาได้ทั้งหมด  22  ราย ผู้ป่วยที่ไม่ได้ทบทวนการใช้ยาเป็นผู้ป่วยหอผู้ป่วยตา  เนื่องจากเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในเวลาไม่นานแพทย์ก็ให้กลับบ้าน จำนวนผู้ป่วยที่เภสัชกรเข้าไปทำกิจกรรมทบทวนการใช้ยาในแต่ละหอผู้ป่วย แสดงดังกราฟ

กราฟแสดง ร้อยละ ผู้ป่วยที่เภสัชกร ทบทวนการใช้ยา



         

             ผู้ป่วยที่ได้ทบทวนการใช้ยา จะเป็นผู้ป่วยที่รักษาที่แผนกอายุรกรรม มากที่สุด ลำดับต่อมาเป็นผู้ป่วยแผนกศัลยกรรม และหอผู้ป่วยประกันสังคม ดังกราฟ

กราฟแสดงร้อยละของผู้ป่วยที่ทบทวนการใช้ยา แยกตามแผนก




           ข้อมูลการทบทวนการใช้ยา อาจจะมีผู้ป่วยบางส่วนที่บริหารยาที่หอผู้ป่วยโดยไม่ผ่านห้องยา หรือ Home Medication ระบุว่าเป็นยาเดิม โดยไม่ได้บันทึกลงในฐานข้อมูล ทำให้ไม่สามารถรู้ได้ว่ามีการทบทวนการใช้ยาหรือไม่


รายงานการเกิดทางเดินอาหารอุดตัน
 (Gastrointestinal obstruction) จากการใช้ยา Adalat CR ®      

           สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาขอแจ้งเตือนความเสี่ยงการเกิดทางเดินอาหารอุดตัน (gastrointestinal obstruction หรือ bezoar formation) ภายหลังจากการใช้ยา Adalat CR ®โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดังกล่าวอยู่ก่อน
          สืบเนื่องจากศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  ได้รับรายงานการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ภายหลังจากการใช้ยา Adalat CR ®ในผู้ป่วยหญิงอายุ 78 ปี โดยพบเปลือกของเม็ดยาจำนวน 51 เม็ดในลำใส้ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดลำใส้ เนื่องจากอาการของลำใส้อุดตันร่วมกับพบเนื้องอกในลำใส้  เนื่องจากตัวยา nifedipine บรรจุในเปลือกที่ไม่ถูกดูดซึม  โดยภายหลังปล่อยตัวยาให้ถูกดูดซึม เปลือกจะถูกกำจัดออกทางอุจจาระ และมีโอกาสเกิดก้อนในกระเพาะอาหารที่ไม่ผ่านเข้าไปในลำใส้หลังจากได้รับการย่อยครั้งแล้วครั้งเล่า  หรือทางเดินอาหารอุดตัน 
         จากฐานข้อมูลศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ( Thai Vigibase) ไม่พบรายงานการเกิดก้อนในกระเพาะอาหารที่ไม่ผ่านเข้าไปในลำใส้ หลังจากได้รับการย่อยครั้งแล้วครั้งเล่า หรือทางเดินอาหารอุดตัน จากการใช้ยา Adalat CR ® ส่วนฐานข้อมูลเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ขององค์การอนามัยโลก (WHO-VigiLyze) พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เกี่ยวกับทางเดินอาหารอุดตันภายหลังการใช้ยา Adalat  รูปแบบ extened release ทั้งหมด 9 รายงานโดยพบอาการ  bezoar และ gastrointestinal obstruction อย่างละ 5 อาการ intestinal ischaemia, ileua spastic ,gastric ulcer  และ gastrointestinal haemorrhage อย่างละ 1 อาการ ผลของอาการหายเป็นปกติ 3 ราย  ไม่ทราบผล 3 ราย อาการไม่ดีขึ้น 2 ราย และเสียชีวิตที่อาจเกี่ยวข้องกับยา 1 ราย

เข้าถึงได้จาก: http://thaihpvc.fda.moph.go.th/thaihvc/Public/NewsAdr/uploads/hpvc_198.pdf

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560