1 december 2015

PHARMA NEWS


ฉบับประจำวันที่ 1  ธันวาคม  2558



ข่าวจากกลุ่มงานเภสัชกรรม


เปลี่ยนแปลงรายการยาในโรงพยาบาล


1. Omeprazole Injection .

           เปลี่ยนบริษัทจัดซื้อยา มาเป็น ชื่อการค้า MERPRACID  ®  ผลิตโดยบริษัท Reyoung Pharmaceutical Co.,Ltd. ประเทศจีน 
ตัวยาสำคัญ : Omeprazole Sodium 42.6 mg. equivqlent to Omeprazole 40 mg. 
ข้อบ่งใช้  : ใช้สำหรับรักษาแผลในกระเพาะอาหาร แผลในลำใส้เล็กส่วนต้น และรักษาอาการอักเสบของหลอดอาหารเมื่อไม่สามารถรับประทานยาได้ 
ขนาดและการบริหารยา  : หยดเข้าหลอดเลือดดำ (I.V infusion)  ละลายผงยาในน้ำเกลือ 0.9 % 100 ml.หรือ กลูโคส 5 % สำหรับฉีด 100 ml. ระยะเวลาในการฉีด ควรต้องใช้เวลา 20-30 นาทีหรือนานกว่า 

อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย  
 ระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย :  ปวดศรีษะ 
 ระบบทางเดินอาหาร : ท้องร่วง ท้องผูก ปวดท้อง คลื่นใส้/อาเจียน และท้องเฟ้อ 











2. Sertraline tablet.

          เปลี่ยนบริษัทจัดซื้อยา มาเป็นชื่อการค้า Sertraline Sandoz ® ผลิตโดยบริษัท Sandoz Ilac San.ve Ticaret A.S.,Kocaeli., ประเทศตุรกี
ตัวยาสำคัญ : Sertraline 50 mg. 
ข้อบ่งใช้  : ใช้สำหรับรักษาโรคซึมเศร้า 
ขนาดรับประทาน   :  ขนาดยาปกติต่อวันคือ 50 mg. ถ้าต้องเพิ่มขนาดยา ควรเพิ่มเป็นขั้นๆ ขั้นละ 50 mg. ในช่วงเวลาห่างอย่างน้อย 1 สัปดาห์ การเปลี่ยนแปลงขนาดยาไม่ควรทำมากกว่าสัปดาห์ละครั้ง ขนาดยาสูงสุดต่อวันคือ 200 mg.

อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย  
 ระบบเมตาบอลิซึม : เบื่ออาหาร
ความผิดปกติทางจิต : ความผิดปกติทางเพศในผู้ชาย นอนไม่หลับ ง่วงนอน
ความผิดปกติของระบบประสาท : สั่น เวียนศรีษะ
ความผิดปกติของกระเพาะอาหารและลำใส้ : คลื่นใส้ ปากแห้งผิดปกติ ท้องเดิน อุจจาระเหลว 








การประชุมวิชาการ


1. โครงการอบรมเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคไตโรงพยาบาลพุทธโสธร วันที่ 14 ธันวาคม 2558 

          กลุ่มงานเภสัชกรรม ขอเชิญ เภสัชกรในเครือข่ายจังหวัดฉะเชิงเทรา  พยาบาล และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตเมือง และคลองเขื่อน เข้าร่วมการอบรม  ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารอุบัติเหตุ โรงพยาบาลพุทธโสธร มีกำหนดการดังนี้
เวลา 8.30 น. - 9.00 น.          พิธีเปิดโครงการ  โดย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธโสธร
เวลา 9.00 น. - 10.30 น.        บรรยาเรื่องโรค Chronic Kidney Disease และแนวทางการดูแลผู้ป่วย
                                           โดย พญ.สราพร  มัทยาท นายแพทย์เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลพุทธโสธร
เวลา 10.30 น. - 12.00 น.      บรรยายเรื่อง ยาที่ใช้ในโรคไตของจังหวัดฉะเชิงเทรา 
                                           โดย ภก. เจนณรงค์  ฝีปากเพราะ เภสัชกรปฏิบัติการ โรงพยาบาลพุทธโสธร
เวลา 12.00 น - 13.00 น.        พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.30 - 16.00 น.           บรรยายเรื่อง ยาและสมุนไพรที่ทำให้เกิด Acute Kidney Injury 
                                            โดย ผศ.ดร.มยุรี  ตั้งเกียรติกำจาย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ทรวิโรต

2. โครงการอบรมเครือข่ายเภสัชกรด้านจิตเวชโรงพยาบาลพุทธโสธร วันที่ 25 ธันวาคม 2558 

          กลุ่มงานเภสัชกรรม ขอเชิญ เภสัชกรในเครือข่ายจังหวัดฉะเชิงเทรา  พยาบาล และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตเมือง และคลองเขื่อน เข้าร่วมการอบรม  ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารอุบัติเหตุ โรงพยาบาลพุทธโสธร มีกำหนดการดังนี้
เวลา 8.30 น. - 9.00 น.           พิธีเปิดโครงการ  โดย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธโสธร
เวลา 9.00 น. - 12.00 น.         บรรยาย เรื่อง โรคจิตเวช การวินิจฉัยและคัดกรอง การติดตามผู้ป่วยในชุมชน การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ระบบการส่งต่อและรับกลับผู้ป่วยในจังหวัดฉะเชิงเทรา 
                                            โดย นพ.เวทิศ   ประทุมศรี หัวหน้ากลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลพุทธโสธร
เวลา 12.00 น. - 13.00 น.       รับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.30 - 16.00 น.            บรรยายเรื่อง ยาที่ใช้ในการรักษาโรคจิตเวช, Drug interaction และ อาการไม่พึงประสงค์ 
                                             โดย ภก.ถนอมพงษ์    เสถียรลัคนา  คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม


 ผลการดำเนินงาน กิจกรรมถุงผ้า ประจำปี 2558





            ทบทวนความเสี่ยง


          พบรายงานความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา รายละเอียดดังนี้

        กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้รับแจ้งว่า มีผู้ป่วยชายไทย มารับยา หน้าซองยาฉลากยาพิมพ์ชื่อยา เป็น Transamine 250 mg. แต่ยาในซองเป็น tranxene 5 mg.  เมื่อได้รับแจ้ง จึงได้ไปตรวจสอบใบสั่งยา พบว่า แพทย์ได้สั่งยา เป็น Transamine 250 mg. รับประทานก่อนนอน  เมื่อติดตามอาการของผู้ป่วย ไม่พบอาการผิดปรกติ 






          จึงได้ทำการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และแนวทางการแก้ไขดังนี้

สาเหตุปัญหา

1. ชื่อยา Transamine และ Tranxene มีชื่อคล้ายกัน
2. วิธีการรับประทาน เหมือนกัน คือ รับประทานก่อนนอน ซึ่ง Tranxene เป็นยาคลายกังวลแพทย์มักจะสั่งให้รับประทานก่อนนอน
3. การเขียนคำสั่งใช้ยา ไม่ชัดเจน อ่านลายมือไม่ชัด

การแก้ไขปัญหา

           ทบทวนอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น แจ้งให้บุคคลากรทุกคนระวัง เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ 


          

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560