กุมภาพันธ์ 2559


PHARMA NEWS


ฉบับประจำวันที่ 1  กุมภาพันธ์  2559



ข่าวจากกลุ่มงานเภสัชกรรม


เปลี่ยนแปลงรายการยาในโรงพยาบาล


1. Imipenem anhydrous 500 mg./Cilastatin 500 mg. Injection

           กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้รับการสนับสนุนยา Imipenem 500 mg./Cilastatin 500 mg. ชื่อการค้า  Sianem   ®  โดยบริษัท Siam Pharmaceutical Co.,Ltd. ซึ่งบริษัท ทำการสนับสนุนยาถึงวันที่ 30 เมษายน 2559 


 

2. Gentamycin 80 mg. Injection 

           มีการเปลี่ยนแปลง การจัดซื้อยา มาเป็น ชื่อการค้า Gental ® ผลิตโดยบริษัท General Drugs House Co.,Ltd 





กิจกรรมประชุมวิชาการ

     กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร ขอเชิญบุคลากรทางการแพทย์ เข้าร่วมประชุมวิชาการ ดังนี้  

1. โครงการอบรมเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยในภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด  วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559


เวลา 8.30 - 9.00 น. พิธีเปิดโครงการอบรม 
โดย นพ.สมบัติ  ชุติมานุกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธโสธร

เวลา 9.00 - 10.00 น. บรรยายเรื่อง ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแนวทางการดูแลรักษาประเมินและคัดกรองผู้ป่วย
โดย นางสาวชัชนันท์     ดียิ่ง  พยาบาลชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลพุทธโสธร

เวลา 10.00 - 10.45 น. บรรยายเรื่อง รายการยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลพุทธโสธร โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
โดย ภญ.จิราภรณ์  สุรัสโม     เภสัชกรปฏิบัติการ โรงพยาบาลพุทธโสธร

เวลา 11.00 - 12.00 น. บรรยายเรื่อง หลักการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพ ในภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด 
โดย นพ.พิทักษ์     ไชยกูล นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ  โรงพยาบาลพุทธโสธร

เวลา 13.00 น. - 16.00 น. บรรยายเรื่อง รายการยาและหลักการประเมินยาต้านจุลชีพในภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ในโรงพยาบาลพุทธโสธร โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
โดย ภก.มานัส     สิทธิโชค  เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลสมุทรสาคร 

2.  โครงการอบรมเครือข่ายเภสัชกรเรื่องโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559


เวลา 9.00 - 11.00 น. บรรยายเรื่อง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การวินิจฉัยและการคัดกรอง 
โดย นพ.พิทักษ์     ไชยกูล นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ  โรงพยาบาลพุทธโสธร

เวลา 11.00 - 12.00 น. บรรยายเรื่อง การดูแลติดตามผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง ที่ รพสต.
โดย คุณละเอียด     จารุสมบัติ  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพุทธโสธร

เวลา 13.00 - 14.00 น. บรรยายเรื่อง การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
โดย คุณศศิธร     เลิศวกุล  นักกายภาพบำบัดปฏิบัติการ โรงพยาบาลพุทธโสธร

เวลา 14.00 - 16.00 น. บรรยายเรื่องยาและอาการไม่พึงประสงค์จากยาในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
โดย ภญ. ธนพร  พวงมณี  เภสัชกรปฏิบัติการ โรงพยาบาลพุทธโสธร

     สถานที่จัดการประชุม : ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลพุทธโสธร

ความรู้คู่ยา


โรคไข้ซิกา (Zika virus disease)

     โรคนี้พบครั้งแรกที่ประเทศ อูกานด้า เมื่อปี พ.ศ. 2490 ในลิง พบมีการติดต่อในคนตั้งแต่ พ.ศ. 2495 ในประเทศอูกานด้า มีรายงานการระบาดในพื้นที่ของทวีปแอฟริกา เอเซีย หมู่เกาะแปซิฟิกและอเมริกา ทั่วโลกมีแนวโน้มการระบาดของโรคแพร่กระจายไปยังประเทศใหม่ๆ เนื่องจากการเดินทางที่สะดวกและรวดเร็ว
ประเภทของเชื้อ : Flavivirus
พาหะนำโรค : ยุงลาย
อาการของโรค : ไข้ซิกา มีระยะฟักตัวประมาณ 3- 12 วัน อาการจะมีไข้ ผื่นแดง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ อาการเหล่านี้ปกติจะเป็นเพียงเล็กน้อย และอาการจะเป็นอยู่ประมาณ 2-7 วัน
     ในช่วงที่มีการระบาดเป็นวงกว้าง ในปี พ.ศ. 2556 และ 2558 เจ้าหน้าที่ได้รายงานภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบประสาทในระบบภูมิคุ้มกัน ในช่วงที่มีการติดเชื้อโรคไข้ซิกาเพิ่มขึ้นในประชาชนทั่วไป  พบว่า มีการเพิ่มขึ้นของภาวะศรีษะเล็กแต่กำเนิด (microcephaly)ในเด็กแรกเกิด อย่างไรก็ตามต้องหาสาเหตุอื่นๆที่อาจมีผลให้เกิดภาวะดังกล่าวร่วมด้วย
การรักษา : ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง ยกเว้นหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งอาจทำให้ทารกที่คลอดมีสมองเล็ก หรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ สามารถรักษาได้ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ รักษาตามอาการ เช่น ใช้ยาลดไข้ แนะนำให้รับประทานยาพาราเซตามอล ห้ามรับประทานยาแอสไพริน หรือ ยากลุ่มลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(NSAID) หากอาการไม่ดีขึ้นควรมาพบแพทย์




reference : กรมควบคุมโรค. (2559). องค์ความรู้เรื่องโรคไข้ซิกา ( Zika virus disease). เข้าถึงได้จาก http://beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/sites/default/files/factsheet_zika020259.pdf.(วันที่ค้นข้อมูล : 30 มกราคม 2559)


ผลการดำเนินงาน Drug Reconcile ผู้ป่วยใน


         กลุ่มงานเภสัชกรรม ได้ทำกิจกรรม ทบทวนการใช้ยา ผู้ป่วยใน  ( Drug Recocile) เมื่อผู้ป่วยมารักษาที่โรงพยาบาล เภสัชกรจะไปทบทวนรายการยาที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่ที่บ้าน ร่วมกับยาที่แพทย์สั่ง ขณะนอนรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อลดความซ้ำซ้อนของยา 
          เดือน ตุลาคม 2558 - ธันวาคม 2558 มีผู้ป่วยที่ต้องทำการทบทวนการใช้ยาทั้งหมด 70 ราย สามารถทบทวนการใช้ยาได้ทั้งหมด  64  ราย คิดเป็น ร้อยละ 84.21  ผู้ป่วยที่ไม่ได้ทบทวนการใช้ยาเป็นผู้ป่วยหอผู้ป่วยตา   และผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาลในเวลาไม่นานแพทย์ก็ให้กลับบ้าน จำนวนผู้ป่วยที่เภสัชกรต้องทำกิจกรรมทบทวนการใช้ยาในแต่ละหอผู้ป่วย แสดงดังกราฟ









         

           ข้อมูลการทบทวนการใช้ยา อาจจะมีผู้ป่วยบางส่วนที่บริหารยาที่หอผู้ป่วยโดยไม่ผ่านห้องยา หรือ Home Medication ระบุว่าเป็นยาเดิม โดยไม่ได้บันทึกลงในฐานข้อมูล ทำให้ไม่สามารถรู้ได้ว่ามีการทบทวนการใช้ยาหรือไม่


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560