เมษายน 2559

PHARMA NEWS


ฉบับประจำวันที่ 1  เมษายน  2559



ข่าวจากกลุ่มงานเภสัชกรรม


เปลี่ยนแปลงรายการยาในโรงพยาบาล


1. FERROUS FUMARATE SUSPENSION 

           ด้วยบริษัทยาเดิมที่ผลิตและจำหน่ายยา  Ferrous sulfate syrup (KIDIRON ® ) แจ้งยาขาดชั่วคราว กลุ่มงานเภสัชกรรม จึงได้ซื้อยาจากองค์การเภสัช ซึ่งเป็น Ferrous fumarate suspension ชื่อการค้า  FERROKID  ®  ยามีความแตกต่างกัน ดังนี้ 







กิจกรรมประชุมวิชาการ

     กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร ขอเชิญบุคลากรทางการแพทย์ เข้าร่วมประชุมวิชาการ ดังนี้  

1. โครงการอบรมเครือข่ายสาขากุมารเวชกรรม  โรงพยาบาลพุทธโสธร

วันที่ 12 พฤษภาคม 2559
ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารอำนวยการ โรงพยาบาลพุทธโสธร

เวลา 8.30 - 9.00 น. พิธีเปิดโครงการอบรม 
โดย นพ.สมบัติ  ชุติมานุกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธโสธร

เวลา 9.00 - 12.00 น. บรรยายเรื่อง โรคอ้วนในวัยเด็กและแนวทางแก้ไข
โดย ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงชุติมา  ศิริกุลชยานนท์
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เวลา 12.00 - 13.00 น.  รับประทานอาหารกลางวัน


เวลา 13.00 - 14.30 น. บรรยายเรื่อง ยาที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลพุทธโสธร
โดย  ภญ.มาศสุภา   บำรุงจิตต์
เภสัชกรปฏิบัติการ โรงพยาบาลพุทธโสธร

เวลา 14.30 น. - 16.30 น. บรรยายเรื่อง ยาเตรียมสำหรับผู้ป่วยเด็กเฉพาะราย
โดย ภก. เรวัติ   จันทร์เจริญผล
เภสัชกรชำนาญการ  โรงพยาบาลพุทธโสธร

2.  โครงการอบรมเครือข่ายสาขาทารกแรกเกิด โรงพยาบาลพุทธโสธร

วันที่ 13 พฤษภาคม 2559
ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารอำนวยการ โรงพยาบาลพุทธโสธร

เวลา 8.30 - 9.00 น. พิธีเปิดโครงการอบรม 
โดย นพ.สมบัติ  ชุติมานุกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธโสธร

 9.00 - 10.30 น. บรรยายเรื่อง ระบบการดูแลและส่งต่อทารกแรกเกิด
โดย พญ.รุจิรัตน์   ปุณยลิขิต  นายแพทย์เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลพุทธโสธร

เวลา 10.30 - 12.00 น. บรรยายเรื่อง โรคและอาการเจ็บป่วยที่พบบ่อยในทารกแรกเกิดหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
โดย นางสาวอุษา   จำปา  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพุทธโสธร

เวลา 12.00 - 13.00 น.  รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 - 14.00 น. บรรยายเรื่อง วัคซีนที่ใช้ในทารกแรกเกิด
โดย ภก. เจนณรงค์   ฝีปากเพราะ   เภสัชกรปฏิบัติการ โรงพยาบาลพุทธโสธร

เวลา 14.30 - 16.30 น. บรรยายเรื่องการดูแลด้านโภชนาการในทารกเกิดก่อนกำหนดหลังออกจากโรงพยาบาล
โดย ภญ. สุชาดา   จาปะเกษตร์  เภสัชกรชำนาญการพิเศษ  โรงพยาบาลพุทธโสธร


ความรู้คู่ยา


ข้อควรระวังในการใช้ยารักษาโรคไมเกรน 


          ยาเออร์โกตามีน (Ergotamine ) ใช้ในการรักษาโรคไมเกรน  รู้จักกันดีในชื่อการค้า carfergot   โดยออกฤทธิ์ทำให้หลอดเลือด เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเกิดการหดตัว  นอกจากนี้ ergotamine ยังแข่งขันกับสารสื่อประสาทในสมอง ชื่อ serotonin จึงเป็นเหตุสนับสนุนการหดตัวของหลอดเลือดบริเวณสมองอีกทางหนึ่ง ซึ่งจากการหดตัวของหลอดเลือดสมองที่พอดีและเหมาะสม จะส่งผลให้อาการปวดศรีษะจากไมเกรนทุเลาลง หากร่างกายได้รับยานี้ในขนาดสูงมากๆ อาจได้รับอันตรายจากภาวะหลอดเลือดอุดตัน หรือภาวะเนื้อตาย ด้วยขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะนั้นๆ
          จากข้อมูลศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Thai vigibase) พบรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา Ergotamine จำนวนทั้งสิ้น 684 ฉบับ (ข้อมูล ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559) โดยพบรายงานการเกิด Ergotism จำนวน 30 ฉบับ ในจำนวนนี้เป็นรายงานที่เกิดปฏิกริยาระหว่างยาที่มีส่วนประกอบของ ergotamine และยาอื่นๆทั้งสิ้น 22 ฉบับ เป็นชนิดร้ายแรง 20 ฉบับ โดยทำให้เกิดความพิการและอันตรายถึงชีวิตอย่างละ 1 ฉบับ รายงาน 22 ฉบับ มีระดับความสัมพันธ์ใช่แน่นอน (certain) 4 ฉบับ  อาจจะใช่ (probable) 11 ฉบับ น่าจะใช่ (possible) 7 ฉบับ เมื่อพิจารณารายการยาที่ได้รับร่วมกัน พบว่าเป็นรายงานที่เกิดจากปฏิกริยาระหว่างยาที่มีส่วนประกอบของ ergotamine และยากลุ่ม protease inhibitor จำนวน 17 ฉบับ (77.3%) ยากลุ่ม macrolide จำนวน 3 ฉบับ  (13.6%) และยากลุ่ม antifungal drug จำนวน 2 ฉบับ 
          Ergotism เป็นภาวะที่มีการหดตัวของหลอดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนปลายไม่เพียงพอ อาการแสดงภาวะดังกล่าวเช่น แขน ขา มีอาการเย็น ชา เจ็บแปลบตามปลายมือ ปลายเท้า หรืออาจมีแผลเนื้อเน่าจากการตายของเนื้อเยื่อ (gangrene) เป็นต้น ซึ่งภาวะดังกล่าวเกิดจากพิษของ ergotamine ซึ่งอาจเกิดจากการได้รับยาอื่นที่มี ปฏิกริยากับยา ergotamine 
          ปฏิกริยาระหว่างยา ergotamine กับยาอื่นๆ
- ยา ergotamine กับยาปฏิชีวนะกลุ่ม macrolide  การใช้ยาร่วมกันส่งผลให้ระดับของยา ergotamine เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีอาการของ ergotism ยาปฏิชีวนะกลุ่ม macrolide ได้แก่ clarithromycin, erythromycin, roxithromycin, azithromycin
- ยา ergotamine ร่วมกับกลุ่มยารักษาโรคติดเชื้อ HIV กลุ่ม protease inhibitor การใช้ยาร่วมกัน จะทำให้ระดับยา ergotamine ในเลือดสูงขึ้น มีผลให้หลอดเลือดดำตีบหรือแคบลง เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ ergotism ยากลุ่ม protease inhibitor เช่น  Indinavir, rithronavir, lopinavir, saquinavir, nelfinavir, tipranavir, samprenavir  เป็นต้น 

ทบทวนความเสี่ยง


ผลการทบทวนการเกิดแพ้ยาซ้ำ ปีงบประมาณ 2558 


          พบรายงานอุบัติการณ์การเกิดแพ้ยาซ้ำ 5 ครั้ง เป็นผู้ป่วยใน 3 ราย ผู้ป่วยนอก 2 ราย มีการวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา ดังนี้


หน่วยงาน
รายการยา
level
สาเหตุ
แก้ไข/จัดการระบบ
ผู้ป่วยใน
Cephalexin
(แพ้ยาระหว่างกลุ่ม)
E
ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ Penicillin ซึ่งทำไว้ตั้งแต่ปี 2550 ไม่ได้ทำการ update รหัสแพ้ยาตามข้อตกลงใหม่ ระบบ pop up จึงไม่ขึ้น ห้องยาจ่ายยาออกไป
ทบทวนห้องยา และระบบ
การตรวจสอบข้อมูลในคอมพิวเตอร์ update รหัสแพ้ยาในฐานข้อมูลตามข้อตกลงใหม่
ผู้ป่วยใน
Ceftriaxone
E
- ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ Ceftriaxone
มีประวัติแจ้งรพ.แล้ว   มีบัตรแพ้
ยา   สติ๊กเกอร์ครบแต่มีคำสั่งใช้
ยา   ห้องยาจ่ายยา และพยาบาล
บริหารยา

- แจ้งทบทวนในหอผู้ป่วย นำข้อมูลแจ้งในระบบ PCT และแจ้งทุกหน่วยทบทวนระบบการป้องกันแพ้ซ้ำ
- ประสานงาน IT  เรื่องการ
ขอ Blockไม่ให้คีย์ยาได้กรณีพบสั่งยาที่แพ้
ER
Aspirin
F
-ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ Aspirin  มี
ประวัติแจ้งรพ.แล้วมีบัตรแพ้
ยา   สติ๊กเกอร์ครบแต่มีคำสั่งใช้
ยาที่มีประวัติแพ้และให้ยา
Stock  Emergency   แก่ผู้ป่วย
โดยไม่ผ่านระบบห้องยา
-แจ้งแพทย์และหน่วยงานโดยตรง  เน้นย้ำการคัดกรองประวัติแพ้ยา
-ประสานงาน IT เรื่องการขอ Blockไม่ให้คีย์ยาได้กรณีพบสั่งยาที่แพ้
-จัดการประชุมวิชาการ  KM ADR ของระบบบยาเรื่องแพ้ยาซ้ำ  25 มิถุนายน  2558
สูติ-นรีเวช
Naproxen
(แพ้ยาระหว่างกลุ่ม)
E
-มีประวัติแพ้ยา Ibruprofen
แพทย์ สั่งยา Naproxen ที่มีโครง
สร้างเหมือนกัน เภสัชConfirm
การใช้แพทย์ off ยา ห้องยาไม่ได้
จ่ายยาไป   พยาบาลเวรดึกไม่
ทราบorder  off  เอายาเตียงข้างๆ
มาบริหารให้ผู้ป่วย

-แจ้งหน่วยงานโดยตรง  เน้นย้ำการคัดกรองประวัติแพ้ยา
-เตรียมนำความเสี่ยงเข้า PCT สูติ-นรีเวช เพื่อทบทวนระบบ


เภสัช
Sulfa
F
ผู้ป่วยมีบัตรแพ้ยาจากรพ.บางปะกง ระบุ Cotrimoxazole พยาบาล
เขียนตรงซักประวัติแล้วว่าแพ้
SULFA แพทย์สั่ง Diamox
เภสัชกรจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วย
ในใบสั่งยาเขียนว่า ให้ประวัติ
Cotrimox แน่นหน้าอกหายใจไม่ออก ยังไม่ได้บันทึก HIS / ไม่มี ติดSticker แพ้ยาที่ OPD card

ทบทวนระบบการซัก
ประวัติแพ้ยาก่อนจ่ายยาห้องOPD
-ทบทวนความรู้แก่เภสัชเรื่องการแพ้ยาข้ามกลุ่ม















ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560