1 May 2016
PHARMA NEWS
ฉบับประจำวันที่ 1 พฤษภาคม 2559
ข่าวจากกลุ่มงานเภสัชกรรม
รายการยาใหม่ในโรงพยาบาล
1. Fluticasone Evohaler 125 mcg/dose
กลุ่มงานเภสัชกรรมได้จัดซื้อยา Fluticasone Evohaler ชื่อการค้า Flixotide Evohaler ®
ชื่อสามัญทางยา : Fiuticasone propionate
ความแรง : ในการพ่น 1 ครั้ง จะได้ตัวยา fluticasone propionate 125 ไมโครกรัม
ลักษณะยา : เป็นขวดยา ใส่ในกระบอกสำหรับสูดพ่นยาทางปาก โดย 1 ขวดสามารถพ่นยาได้ 120 ครั้ง
ข้อบ่งใช้ : มีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่เกิดขึ้นที่ปอด ช่วยบรรเทาอาการและอาการกำเริบของโรคหอบหืด
ขนาดยา : อยู่ในดุลพินิจของแพทย์
อาการไม่พึงประสงค์ : ที่พบบ่อยได้แก่ การติดเชื้อรา candida ในช่องปากและคอ
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แจ้งว่า คณะอนุกรรมการศึกษาและเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ยา ได้มีคำแนะนำให้กำหนดรายการยาที่ต้องแจ้งข้อความคำเตือนเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงผื่นแพ้ยารุนแรงชนิด Stevens-Johnson syndrome (SJS) และ Toxic Epidermal Necrolysis (TEN) ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาในฉลากและที่เอกสารกำกับยา
สืบเนื่องจากฐานข้อมูลศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานอาหารและยา (Thai Vigibase) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 - 2554 -พบรายงานการเกิด SJS/TEN จำนวน 10,492 ราย ซึ่งมียาบางรายการมีหลักฐานชัดเจนว่าการเกิด SJS/TEN สัมพันธ์กับยา และคณะทำงานการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยา ของยุโรป ( CHMP Pharmacovigilance Working Party) ได้แนะนำให้แสดงคำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงการเกิด SJS/TEN ซึ่งแม้จะพบน้อยแต่เป็นอันตรายร้ายแรงของยา allopurinol, carbamazepine, phenobarbital, phenytoin, lamotrigine, meloxicam, piroxicam, tenoxicam, nevirapine, sulfadiazine, sulfadoxine, sulfafurazole, sulfamethoxazol และ sulfasalazine ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลใน Thai Vigibase ที่ยาดังกล่าวมีรายงานการเกิด SJS/TEN
คณะอนุกรรมการ จึงมีคำแนะนำให้ยาที่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิด SJS/TEN ควรมีข้อความคำเตือนเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงผื่นแพ้ยารุนแรงชนิด SJS/TEN ซึ่งจะนำเสนอคณะกรรมการยาพิจารณาให้ความเห็นชอบเพิ่มข้อความคำเตือนในประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาในฉลากและที่เอกสารกำกับของยา 8 กลุ่ม 19 รายการ ดังต่อไปนี้
1. ยารักษาโรคเก๊า ได้แก่ allopurinol
2. ยากันชัก ได้แก่ carbamazepine, phenobarbital, phenytoin และ lamotrigine
3. ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ได้แก่ ibuprofen, meloxicam และ tenoxicam
4. ยาต้านไวรัส HIV กลุ่ม non - nucleotide reverse transcriptase inhibitor ได้แก่ nevirapine containing product
5. ยากลุ่มซัลโฟนาไมด์ ได้แก่ co - trimoxazole, sulfadiazine, sulfafurazole, sulfamethoxazol และ sulfasalazine
6, ยากลุ่ม เพนนิซิลลิน ได้แก่ amoxycillin
7. ยารักษาวัณโรค ได้แก่ rifampicin
8. Dapsone
โดยยาทั้ง 19 รายการ มีข้อความคำเตือนเกี่ยวกับผื่นแพ้ยารุนแรงชนิด SJS/TEN ตามประกาศ ดังนี้
คำเตือนในฉลากยา
(1) หากใช้ยาแล้วมีอาการผื่นแดง และ/หรือ มีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
(2) ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
(3) เมื่อใช้ยานี้ หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนัง และบริเวณเยื่อบุต่างๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบ ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเป็น Stevens- Johnson syndrome
ขนาดยา : อยู่ในดุลพินิจของแพทย์
อาการไม่พึงประสงค์ : ที่พบบ่อยได้แก่ การติดเชื้อรา candida ในช่องปากและคอ
ความรู้คู่ยา
ยาที่ต้องมีคำเตือนผื่นแพ้ยารุนแรงชนิด Stevens-Johnson syndrome
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แจ้งว่า คณะอนุกรรมการศึกษาและเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ยา ได้มีคำแนะนำให้กำหนดรายการยาที่ต้องแจ้งข้อความคำเตือนเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงผื่นแพ้ยารุนแรงชนิด Stevens-Johnson syndrome (SJS) และ Toxic Epidermal Necrolysis (TEN) ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาในฉลากและที่เอกสารกำกับยา
สืบเนื่องจากฐานข้อมูลศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานอาหารและยา (Thai Vigibase) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 - 2554 -พบรายงานการเกิด SJS/TEN จำนวน 10,492 ราย ซึ่งมียาบางรายการมีหลักฐานชัดเจนว่าการเกิด SJS/TEN สัมพันธ์กับยา และคณะทำงานการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยา ของยุโรป ( CHMP Pharmacovigilance Working Party) ได้แนะนำให้แสดงคำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงการเกิด SJS/TEN ซึ่งแม้จะพบน้อยแต่เป็นอันตรายร้ายแรงของยา allopurinol, carbamazepine, phenobarbital, phenytoin, lamotrigine, meloxicam, piroxicam, tenoxicam, nevirapine, sulfadiazine, sulfadoxine, sulfafurazole, sulfamethoxazol และ sulfasalazine ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลใน Thai Vigibase ที่ยาดังกล่าวมีรายงานการเกิด SJS/TEN
คณะอนุกรรมการ จึงมีคำแนะนำให้ยาที่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิด SJS/TEN ควรมีข้อความคำเตือนเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงผื่นแพ้ยารุนแรงชนิด SJS/TEN ซึ่งจะนำเสนอคณะกรรมการยาพิจารณาให้ความเห็นชอบเพิ่มข้อความคำเตือนในประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาในฉลากและที่เอกสารกำกับของยา 8 กลุ่ม 19 รายการ ดังต่อไปนี้
1. ยารักษาโรคเก๊า ได้แก่ allopurinol
2. ยากันชัก ได้แก่ carbamazepine, phenobarbital, phenytoin และ lamotrigine
3. ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ได้แก่ ibuprofen, meloxicam และ tenoxicam
4. ยาต้านไวรัส HIV กลุ่ม non - nucleotide reverse transcriptase inhibitor ได้แก่ nevirapine containing product
5. ยากลุ่มซัลโฟนาไมด์ ได้แก่ co - trimoxazole, sulfadiazine, sulfafurazole, sulfamethoxazol และ sulfasalazine
6, ยากลุ่ม เพนนิซิลลิน ได้แก่ amoxycillin
7. ยารักษาวัณโรค ได้แก่ rifampicin
8. Dapsone
โดยยาทั้ง 19 รายการ มีข้อความคำเตือนเกี่ยวกับผื่นแพ้ยารุนแรงชนิด SJS/TEN ตามประกาศ ดังนี้
คำเตือนในฉลากยา
(1) หากใช้ยาแล้วมีอาการผื่นแดง และ/หรือ มีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
(2) ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
(3) เมื่อใช้ยานี้ หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนัง และบริเวณเยื่อบุต่างๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบ ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเป็น Stevens- Johnson syndrome
ผลการดำเนินงาน กิจกรรมถุงผ้า ผู้ป่วยนอก
กลุ่มงานเภสัชกรรม ได้ทำกิจกรรมถุงผ้า ซึ่งเป็นกิจกรรมทบทวนการใช้ยาผู้ป่วยนอก ( Drug Recocile) เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ตามนัด เภสัชกรจะไปทบทวนรายการยาที่ผู้ป่วยนำมาด้วย โดยได้มีการประชาสัมพันธ์มาอย่างต่อเนื่อง ให้ผู้ป่วยนำยาเดิมมาที่โรงพยาบาลทุกครั้งเมื่อมาพบแพทย์ ถ้าเป็นผู้ป่วยที่ยังไม่เคยได้รับถุงผ้า ก็จะมอบถุงผ้าให้ผู้ป่วยใส่ยากลับบ้าน และให้นำยาเดิมกลับมาด้วยในนัดครั้งต่อไป เภสัชกรจะทำการตรวจสอบคุณภาพยา หากยามีคุณภาพดีก็จะนำกลับมาใช้กับผู้ป่วยคนเดิม สามารถลดปัญหายาหมดอายุ ป้องกันการรับประทานยาซ้ำซ้อน และ โรงพยาบาลก็ประหยัดค่ายาได้อีกด้วย
ผลการดำเนินการตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2558 ถึง เดือน กุมภาพันธ์ 2559 มีผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการ ทั้งหมด 2,140 คน โรงพยาบาลประหยัดค่ายา ได้เป็นเงิน 725,774.13 บาท รายละเอียดดังกราฟ
พบความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา เนื่องจากตรวจสอบยาคืนจากหอผู้ป่วย หน้าซองชื่อยาเป็น Dimenhydrinate injection ยาในซองยา มี Dimenhydrinate inj. 1 ampule และ มี Magnesium sulphate injection 1 ampule. ปนอยู่ในซองด้วย ดังภาพ
ได้มีการติดตามทบทวน เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ พบว่า เป็นความคลาดเคลื่อนระดับ B คือ เกิดความคลาดเคลื่อนขึ้น แต่ยังไม่ถึงตัวผู้ป่วย สาเหตุเกิดจากลักษณะ ampule ของยาทั้งสองชนิด มีขนาดและสีที่คล้ายคลึงกัน จึงได้มีการเปลี่ยนแปลง บริษัทที่สั่งยาซื้อยา Dimenhydrinate injection เป็นบริษัทใหม่ เพื่อให้ลักษณะ ยาต่างจาก Magnesium sulphate injection
ผลการดำเนินการตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2558 ถึง เดือน กุมภาพันธ์ 2559 มีผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการ ทั้งหมด 2,140 คน โรงพยาบาลประหยัดค่ายา ได้เป็นเงิน 725,774.13 บาท รายละเอียดดังกราฟ
กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยที่เข้าร่วมกิจกรรมถุงผ้า
กราฟแสดงมูลค่ายาที่นำกลับมาใช้ใหม่
ทบทวนความเสี่ยง
พบความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา เนื่องจากตรวจสอบยาคืนจากหอผู้ป่วย หน้าซองชื่อยาเป็น Dimenhydrinate injection ยาในซองยา มี Dimenhydrinate inj. 1 ampule และ มี Magnesium sulphate injection 1 ampule. ปนอยู่ในซองด้วย ดังภาพ
ได้มีการติดตามทบทวน เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ พบว่า เป็นความคลาดเคลื่อนระดับ B คือ เกิดความคลาดเคลื่อนขึ้น แต่ยังไม่ถึงตัวผู้ป่วย สาเหตุเกิดจากลักษณะ ampule ของยาทั้งสองชนิด มีขนาดและสีที่คล้ายคลึงกัน จึงได้มีการเปลี่ยนแปลง บริษัทที่สั่งยาซื้อยา Dimenhydrinate injection เป็นบริษัทใหม่ เพื่อให้ลักษณะ ยาต่างจาก Magnesium sulphate injection
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น