มีนาคม 2560

PHARMA NEWS


ฉบับประจำวันที่ 1  มีนาคม   2560


ข้อมูลยาสมุนไพร ในโรงพยาบาลพุทธโสธร


1. ยาเขียวหอม

ส่วนประกอบ :  ใบพิมเสน ใบผักกระโฉม ใบหมากผู้ ใบหมากเมีย ใบสันพร้าหอม รากแฝกหอม เปราะหอม จันทน์เทศ จันทน์แดง ว่านกลีบแรด ว่านร่อนทอง ดอกพิกุล เนระพูสี พิษนาศน์ มหาสดำ เกสรบุนนาค เกสรสารภี เกสรบัวหลวง 
ขนาดบรรจุ :  25 กรัม
สรรพคุณ :  แก้ตัวร้อน ร้อนใน กระหายน้ำ  ละลายน้ำสุก หรือน้ำดอกมะลิ แก้พิษหัด พิษสุกใส ละลายน้ำรากผักชีต้ม ทั้งรับประทานและชโลม
ขนาดยา :  ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1 ช้อนชา (4 กรัม) รับประทานวันละ 4-5 ครั้ง เด็ก ครั้งละ 1/2 ช้อนชา (2 กรัม)
บริษัทผู้ผลิตยา : บริษัท ธงทองโอสถ จำกัด







2. ครีมไพล 

ส่วนประกอบ :  สารสกัดไพลจากการเคี่ยว 10 % น้ำมันไพลที่ได้จากการกลั่น 1 % และตัวยาอื่นๆ
ขนาดบรรจุ :  25 กรัม
สรรพคุณ :  บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เคล็ดขัดยอก
ขนาดยา :  ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1 ช้อนชา (4 กรัม) รับประทานวันละ 4-5 ครั้ง เด็ก ครั้งละ 1/2 ช้อนชา (2 กรัม)
บริษัทผู้ผลิตยา : บริษัท ธงทองโอสถ จำกัด






3. เจลพริก

ส่วนประกอบ :  ใน 100 กรัม ประกอบด้วย สารสกัดจากพริก ซึ่งมี capsaicin 25.0 มิลลิกรัม 
ขนาดบรรจุ :  35 กรัม
สรรพคุณ :  บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย 
ขนาดยา :  ทาบางๆบริเวณที่ปวด วันละ 3-4 ครั้ง
บริษัทผู้ผลิตยา : บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด






4. ครีมพญายอ

ส่วนประกอบ :  ในครีม 100 กรัม ประกอบด้วยสารสกัดพญายอ 4.343 กรัม
ขนาดบรรจุ :  5 กรัม
สรรพคุณ :  รักษาโรคเริมและงูสวัด
ขนาดยา :  ทาบริเวณที่มีการอักเสบ ปวดแสบปวดร้อน วันละ 4 ครั้ง ถ้ายังไม่หาย ให้ทาต่อไปอีก 5 วัน 

บริษัทผู้ผลิตยา : บริษัท ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย  จำกัด




ข่าวจากกลุ่มงานเภสัชกรรม 


          กลุ่มงานเภสัชกรรม ได้จัดกิจกรรม สัปดาห์เภสัชกรรม ทำดีเพื่อพ่อ " ประชาชนไทย ใช้ยาอย่างเหมาะสม "  วันที่ 20 -24 กุมภาพันธ์ 2560 ณ ห้าง โรบินสัน จังหวัดฉะเชิงเทรา ภายในงานมีการจัดนิทรรศการ สมุนไพร, การใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างเหมาะสม, กิจกรรมนวดแผนไทย, เวที เสวนา เรื่องการใช้ยา ให้กับประชาชน  ซึ่งได้รับความสนใจและมีประชาชนเข้าร่วมชมนิทรรศการมากมาย














ข่าวความปลอดภัย


อย.เตือน อย่าหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อวดอ้างเพิ่มน้ำนม


          อญ. เตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อโฆษณาเกินจริง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ฟินูแคป (Fenucaps) อวดอ้างช่วยเพิ่มน้ำนม ย้ำ อย. ไม่เคยอนุญาตให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโฆษณาในลักษณะนี้ แนะผู้บริโภคพิจารณาถึงความจำเป็นก่อนใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ หญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็ก ควรพิจารณาให้รอบคอบ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการได้รับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายโดยคาดไม่ถึง
           จากกรณีมีรายงานเด็กทารกเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล โดยมารดามีประวัติรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อช่วยเพิ่มน้ำนมนั้น สำนักคณะกรรมการอาหารและยา ได้ตรวจสอบพบว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าวชื่อ " ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ฟีนูแคป " พบการอ้างสรรพคุณ ในทำนองว่า ช่วยขับน้ำนม บำรุงน้ำนม  ลดน้ำตาลในเลือด ลดคลอเรสเตอรอล ขับลมในลำใส้ กระชับมดลูก ชะลอความแก่ ซึ่ง อย. จะดำเนินการระงับโฆษณา และเรียกผู้เกี่ยวข้องมาดำเนินการตามกฎหมาย
          ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ กำหนดให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทุกชนิด ต้องแสดงข้อความบนฉลากว่า " เด็กและสตรีมีครรภ์ ไม่ควรรับประทาน " อย่างไรก็ตาม หญิงเพิ่งคลอดและให้นมบุตร ก็เป็นกลุ่มที่ควรระมัดระวัง ในการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารด้วยเช่นกัน โดยควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และขอย้ำว่า อย. ไม่เคยอนุญาตการกล่าวอ้างสรรพคุณของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารว่าสามารถเพิ่มน้ำนมได้

reference : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2560. อย.เตือน อย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอวดอ้างเพิ่มน้ำนม.(ออนไลน์).แหล่งที่มา : http://www.fda.moph.go.th/SitePages/News.aspx?IDitem=375

 ความรู้คู่ยา


ยาแก้แพ้ ชนิดง่วงน้อย ไม่มีประโยชน์ในโรคหวัด





          ยาแก้แพ้ มี (ยาต้านฮีสตามีน) มี 2 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มดั้งเดิม เช่น คลอเฟนนิรามีน ซึ่งกินแล้วมักง่วง และทำให้คอแห้ง ปากแห้ง จึงอาจทำให้จมูกแห้งได้ในคนบางคน ขณะเป็นหวัด  แต่อาจง่วง และได้รับผลข้างเคียงอื่น เช่น ตาพร่า ปัสสาวะไม่ออก โดยเฉพาะ เมื่อใช้กับผู้สูงอายุ และอาจเกิดอันตรายได้ในเด็กเล็ก ถ้าใช้ในโรคหวัด อาจเลือกใช้กับคนบางคน ในบางโอกาส ที่ประโยชน์มีมากกว่าอันตรายที่อาจจะได้รับ ยากลุ่มนี้จะออกฤทธฺ์สั้น ต้องรับประทานวันละหลายๆครั้ง

2. กลุ่มที่ปรับปรุงคุณสมบัติ เช่น ลอราทาดีน ( เช่น ชื่อการค้า Clarityn ® ) , เซททริริซีน ( เช่น ชื่อการค้า Zyrtec ® ) , เฟกโซเฟนนาดีน ( เช่น ชื่อการค้า Telfast ® ) ซึ่งกินแล้วมักไม่ง่วง ไม่ทำให้คอแห้ง ปากแห้ง ซึ่งไม่มีผลให้น้ำมูกลดลงในโรคหวัด ลดน้ำมูกได้ในโรคภูมิแพ้เท่านั้น ไม่ช่วยบรรเทาอาการใดๆในโรคหวัด ใช้สำหรับบรรเทาอาการที่เนื่องมาจากการแพ้อากาศ เช่น อาการจาม น้ำมูกไหล คันในจมูก เพดานปาก และคอ คันในตา น้ำตาไหลและตาแดง ในผู้ใหญ่และเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป









reference : Rational Drug Use. 2560. ยาแก้แพ้ชนิดง่วงไม่มีประโยชน์ในโรคหวัด.(ออนไลน์).แหล่งที่มา https://www.facebook.com/896404783733131/photos/a.1166975853342688.1073741944.896404783733131/1166975930009347/?type=3&theater


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560