เมษายน 2560

PHARMA NEWS


ฉบับประจำวันที่ 1  เมษายน    2560


ข้อมูลยาสมุนไพร ในโรงพยาบาลพุทธโสธร


1. ยาแคปซูลเถาวัลย์เปรียง


ส่วนประกอบ : ในยาทั้งหมด 400 มก. ประกอบด้วยผงเถาวัลย์เปรียง 280 มก. และตัวยาอื่นๆ 120 มก.
สรรพคุณ : แก้กษัย ขับปัสสาวะ 
ขนาดยา : รับประทานครั้งละ  1-2 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร 
บริษัทผู้ผลิตยา : โรงพยาบาลอภัยภูเบศร์ 









2. จันทน์ลีลา  


ส่วนประกอบ : ใน 1 แคปซูล ( 500 มก.) ประกอบด้วย โกฐสอ โกฐเขมา โกฐจุฬาลัมพา จันทน์ขาว จันทน์แดง ลูกกระดอม บอระเพ็ด รากปลาไหลเผือก พิมเสน 
สรรพคุณ : แก้ไข้ ตัวร้อน 
ขนาดยา : รับประทานครั้งละ 2-4 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร 
บริษัทผู้ผลิตยา : บริษัท ธงทองโอสถ จำกัด








3. ยาแคปซูลขิง 


ส่วนประกอบ : ใน 1 แคปซูล ประกอบด้วย ขิง 450 มิลลิกรัม
สรรพคุณ :  แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง ขับลม
ขนาดรับประทาน  :  รับประทานครั้งละ 3 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง หลังอาหาร
บริษัทผู้ผลิตยา : บริษัท ธงทองโอสถ จำกัด







4. ยาขมิ้นชัน


ส่วนประกอบ :  ใน 1 แคปซูล ( 500 มิลลิกรัม ) ประกอบด้วย ขมิ้นชัน 500  มิลลิกรัม
สรรพคุณ :  แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด ขับลม
ขนาดรับประทาน  :  รับประทานครั้งละ 2-4 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง หลังอาหาร และก่อนนอน
บริษัทผู้ผลิตยา :บริษัท ธงทองโอสถ จำกัด










ความเสี่ยงของยากลุ่ม Cephalosporin

           นับตั้งแต่ปี 2536 จนถึงปี 2558 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้รับข้อมูลอาการไม่พึง ประสงค์ของยากลุ่ม cephalosporin ที่ได้รับรายงานจากเครือข่ายสถานพยาบาลทั่วประเทศทั้งจากภาครัฐและเอกชน พบความสัมพันธ์กับการเกิดผื่นผิวหนังรุนแรงชนิด Stevens-Johnson syndrome (SJS) และภาวะ Toxic epidermal necrolysis (TEN) จำนวน 492 ฉบับ พบรายงานอาการไม่พึงประสงค์ภาวะ SJS ที่มีความสัมพันธ์กับ ยา cephalosporin ในรุ่นที่ 3 คือยา ceftriaxone มากที่สุด จำนวน 238 รายงาน รองลงมาคือยา cephalexin จำนวน 54 รายงาน ในจำนวนนี้พบรายงานร้ายแรงนำไปสู่การเสียชีวิตและทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล แม้ภาวะผื่นผิวหนังรุนแรงดังกล่าวเป็นอาการไม่พึงประสงค์ของยากลุ่ม cephalosporin ที่ทราบกันอยู่แล้ว (known adverse reactions) แต่การระบุข้อความคำเตือนที่ฉลากและที่เอกสารกำกับยาของยากลุ่ม cephalosporin ไม่ครอบคลุมความเสี่ยงของการเกิดผื่นผิวหนังรุนแรงชนิด SJS/TEN สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ขอแจ้งข้อมูลสัญญานความเสี่ยงการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ ของยากลุ่ม cephalosporin ที่เกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้น เพื่อเป็นข้อมูลแก่บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ใช้ยาและผู้สั่งใช้ ยา เนื่องจากยาในกลุ่ม cephalosporin มีแนวโน้มของการใช้เพิ่มขึ้น เพราะใช้รักษาภาวะติดเชื้อได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทั้งนี้ อยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อความคำเตือนของยาในกลุ่ม cephalosporin ในประเด็นการเกิด อาการไม่พึงประสงค์ทางผิวหนังที่ร้ายแรง และทบทวนประเด็นความเสี่ยงอื่นที่สำคัญ

เข้าถึงได้จาก : จดหมายข่าว HPVC Safety News. 2560. ความเสี่ยงของยาในกลุ่ม Cephalosporin .(ออนไลน์).แหล่งที่มา : http://thaihpvc.fda.moph.go.th/thaihvc/Public/News/uploads/ hpvc_2_5_0_100628.pdf


ระวังท้องเสีย ในฤดูร้อน


          เมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน จะพบผู้ป่วยที่เป็นอุจจาระร่วงได้มากขึ้น เนื่องจากอากาศที่ร้อน และอุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่งผลให้อาหารมีโอกาสบูดและเสียง่าย และเป็นสาเหตุทำให้อุจจาระร่วง 
 โรคอุจจาระร่วง (Diarrhea) เป็นภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้ง/วัน หรือมากกว่า หรือถ่ายมีมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง อาเจียนบ่อย กินอาหารไม่ได้กระหายน้ำกว่าปกติมีไข้สูง ติดต่อโดยการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อปนเปื้อนมาจากอุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้ที่เป็นพาหะ รวมถึงน้ำหรือน้ำแข็งที่ไม่สะอาด ส่งผลให้เกิดอาการอุจจาระร่วงได้
อันตรายที่สำคัญของโรคนี้ คือ การเกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ ที่อาจทำให้ช็อก หมดสติ และภาวะขาดสารอาหารในช่วงหลังซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยโดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุเกิดโรคแทรกซ้อนเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ซึ่งภาวะอุจจาระร่วงส่วนใหญ่จะหายได้เองโดยการรักษาอาการขาดน้ำและเกลือแร่ ด้วยการดื่มสารละลายเกลือแร่ โอ อาร์ เอส รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย เช่นข้าวต้ม โจ๊ก แกงจืด รับประทานอาหารตามปกติ ไม่ควรงดอาหาร เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร และไม่ควรรับประทานยาหยุดถ่าย หรือยาแก้ท้องเสีย เพราะจะทำให้ลำไส้กักเก็บเชื้อโรคไว้นานขึ้น นอกจากนี้การรับประทานยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อโดยไม่จำเป็นอาจกระตุ้นให้เกิดการแพ้ยาหรือดื้อยาได้
ยาปฏิชีวนะจะใช้ได้ผลกับอาการท้องเสีย ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ท้องเสียจากสาเหตุอื่น เช่นติดเชื้อไวรัส หรืออาหารเป็นพิษ ยาปฏิชีวนะใช้ไม่ได้ผล อาการท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียพบน้อยมาก 
ทั้งนี้ วิธีป้องกันโรคอุจจาระร่วงด้วยตนเองสามารถทำได้ง่ายโดย ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ทุกครั้งก่อนปรุงหรือรับประทานอาหารและภายหลังขับถ่ายอุจจาระ ที่สำคัญคือ ควรเลือกรับประทานอาหารที่สะอาด สุกใหม่ ๆ ดื่มน้ำสะอาด เลือกซื้อน้ำแข็งที่ถูกสุขอนามัย มีภาชนะรองรับ ไม่วางกับพื้นโดยตรง หากเป็นน้ำแข็งหลอดที่บรรจุถุงควรสังเกตรายละเอียด บนฉลากให้ครบถ้วน เช่น ผู้ผลิต และชื่อที่ตั้งสถานที่ผลิต เครื่องหมาย อย. ไม่ควรรับประทานอาหารที่สุกๆดิบๆ และหากจำเป็นต้องรับประทานอาหารค้างมื้อควรอุ่นให้ร้อนทุกครั้งก่อนรับประทาน ภาชนะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร
ควรล้างทำความสะอาด เก็บให้พ้นจากสัตว์นำโรค เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน รวมถึงการขับถ่ายอุจจาระลงส้วมที่ถูกสุขลักษณะและระวังเป็นพิเศษในการใช้น้ำเพื่อเตรียมอาหารเด็กทารก หากอาการอุจจาระร่วงไม่ดีขึ้น คือมีอาการถ่ายเป็นน้ำมากขึ้นอาเจียนบ่อย รับประทานอาหารไม่ได้ กระหายน้ำมากกว่าปกติ มีไข้สูง ถ่ายอุจจาระเป็นมูกหรือปนเลือด ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษา สำหรับการป้องกันดูแลรักษาสุขภาพที่ดี ประชาชนควรปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะด้วยการ “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” รับประทานอาหารสุก ร้อน สะอาด เพื่อสุขภาพที่ดี ปลอดจากโรคอุจจาระร่วงได้







เข้าถึงได้จาก : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.2560. ท้องร่วง โรคควรระวังช่วงฤดูร้อน  .(ออนไลน์).แหล่งที่มา :http://www.thaihealth.or.th/Content/30522-%E2%80%9C%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E2%80%9D%20%20%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A4%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99.html


ทบทวนความเสี่ยง ความคลาดเคลื่อนทางยา



     ผู้ป่วยหญิงไทย มาพบแพทย์ เดือนกุมภาพันธ์ 2560  แพทย์ได้สั่งยา โดย ได้สั่งยา Kalimate 30 g. ผสมน้ำ 50 ซีซี โดยแพทย์ได้เขียนปีกกา 1 เดือน ห้องยา จ่ายยาไปให้ผู้ป่วย กินทุกวัน ครั้งละ 6 ซอง ( 1ซอง มียา 5 g.) จำนวน 180 ซอง ผู้ป่วยกลับมาพบแพทย์ตามนัด ในเดือน มีนาคม 2560 แพทย์แจ้งว่า สั่งยาให้ผู้ป่วยกินแค่ 1 ครั้ง




     ได้ทำการสอบถามการกินยาของผู้ป่วย ผู้ป่วยแจ้งว่า ผู้ป่วยไม่ได้กินยาทุกวัน เนื่องจากกินยา 5 วัน แล้วหยุด เนื่องจาก ท้องผูก และกิน 3 วันก่อนมาพบแพทย์  ตรวจเลือดติดตามระดับโปแตสเซียมในเลือด พบว่าปรกติ

การแก้ไขปัญหา
1. ประสานแพทย์ในเรื่องของการเขียนคำสั่งยาให้ชัดเจน
2. เภสัชกร ที่คัดกรองใบสั่งยา /จ่ายยา หากพบคำสั่งเช่นนี้ ต้องทำการยืนยันคำสั่งกับแพทย์  เนื่องจากไม่ใช่การสั่งยาในขนาดปรกติ


ความคิดเห็น

  1. บริษัท ซีพีทีที แชมป์ พลาสติก(ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัท ที่รับผลิตและจำหน่ายพลาสติก PVC FOOD GRADE เกรด A และ พลาสติก PET เป็นแบบม้วน หรือตัดเป็นแผ่น ตามขนาดที่ต้องการ ที่นำไปใช้เกี่ยวกับอาหารและยา แพ็คเกจจิ้งใส่สินค้า โชว์สินค้า โดยทีม SALE CP ที่ออกมาขาย กันเอง รับประกันคุณภาพ พร้อมใบCER (ส่งสินค้า ทุก lot)
    และยังรับจ้างขึ้นรูป ทำเป็นชิ้นงานให้กับลูกค้าอีกด้วย พร้อมรับประกันคุณภาพ จาก ซีพี เช่น แผงใส่เม็ดยา และแคปซูล กล่อง ใส่ไข่ เบเบเกอรี่ ขนม ทุกชนิด ถาด ใส่อาหาร ตามแบบลูกค้าต้องการ
    ดิฉัน พิสมัย ค่ะ ยินดีให้บริการครับ โทร 0816330821 หวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากท่าน จึงเรียนมาเพื่อทราบ
    ขอบพระคุณค่ะ
    EMAIL : samasak99@hotmail.com

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560