สิงหาคม 2560

PHARMA NEWS


ฉบับประจำวันที่ 1  สิงหาคม   2560


ข้อมูลยาสมุนไพร ในโรงพยาบาลพุทธโสธร


1. ยาแคปซูลประสะไพร  

ส่วนประกอบ : ในยา 1 แคปซูล (500 มก.) ประกอบด้วย ผิวมะกรูด ว่านน้ำ กระเทียม หัวหอม พริกไทย ดีปลี ขิง ขมิ้นอ่อน เทียนดำ เกลือสินเธาว์ ไพล
สรรพคุณ :  แก้ประจำเดือนมาไม่ปรกติ, ขับน้ำคาวปลา
ขนาดยา : 
แก้ประจำเดือนมาไม่ปรกติ : รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารเป็นเวลา 3-5 วัน เมื่อระดูมาให้หยุดรับประทานยา 
ขับน้ำคาวปลา : รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง หรือให้รับประทานจนกว่าน้ำคาวปลาจะหมด แต่ไม่เกิน 15 วัน 
บริษัทผู้ผลิตยา : บริษัทธงทองโอสถ 








2. ยาแคปซูลเพชรสังฆาต

ส่วนประกอบ : ในยาทั้งหมด 400 มิลลิกรัม ประกอกด้วย ผงเพชรสังฆาต 280 มิลลิกรัม และตัวยาอื่นๆ 120 มิลลิกรัม
สรรพคุณ :  บรรเทาอาการริดสีดวงทวาร
ขนาดรับประทาน  :  รับประทานครั้งละ 3 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร 
บริษัทผู้ผลิตยา : มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี






4. ยาแคปซูลยาหอมนวโกฏ

ส่วนประกอบ :  ประกอบด้วย โกฐทั้ง 9 เทียนทั้ง 9 เกสรดอกไม้ และสมุนไพรอื่นๆ รวมทั้งสิ้น 56 ชนิด บดผสมรวมกัน
สรรพคุณ :  แก้ลม วิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน ลมจุกแน่นในหน้าอก 
ขนาดรับประทาน  :  นำยา 5 เม็ด ละลายน้ำดอกไม้ หรือน้ำสุก รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง
บริษัทผู้ผลิตยา : บริษัทธงทองโอสถ จำกัด 




ข่าวจากฝ่ายเภสัชกรรม

โครงการอบรมพัฒนาระบบยาของโรงพยาบาลเพื่อคุณภาพสำหรับพยาบาล 



          กลุ่มงานเภสัชกรรม ได้จัดโครงการ อบรมพัฒนาระบบยาของโรงพยาบาล เพื่อคุณภาพ สำหรับพยาบาล  ในวันที่ 12 - 13 กรกฎาคม 2560 โดยได้มีการทบทวนระบบการให้บริการยา ลดความเสี่ยงทางยา โดยมีการอภิปรายและทบทวนประเด็นสำคัญในระบบยา อภิปรายและนำเสนอผลการพัฒนาดีเด่นจากหน่วยงานพยาบาล 








ข่าวสารด้านยา



การเกิด Ergotism ที่เกิดจากปฏิกริยาระหว่างยา

ที่มีส่วนประกอบของ Ergotamine  กับยาอื่น


          สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ขอแจ้งให้ทราบถึงรายงานการเกิด  Ergotism ที่เกิดจากปฏิกริยา ระหว่างยา ( drug interaction) ของยาที่มีส่วนประกอบของ ergotamine กับยาอื่นๆ จากฐานข้อมูลศูนย์เฝ้าระวัง ความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Thai Vigibase)
          จากรายงาน พบว่า มีการรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากเครือข่ายทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 684 ฉบับ (ข้อมูล ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559) โดยพบรายงานการเกิด ergotism จำนวน 30 ฉบับ ในจำนวนนี้เป็นรายงานที่เกิดจากปฏิกริยาระหว่างยาที่มีส่วนประกอบของ ergotamine และยาอื่นๆ ทั้งสิ้น 22 ฉบับ เป็นชนิดร้ายแรง 20 ฉบับ โดยทำให้เกิดความพิการและอันตรายถึงชีวิต อย่างละ 1 ฉบับ รายงาน  22 ฉบับ มีระดับความสัมพันธ์ใช่แน่นอน (certain) 4 ฉบับ อาจจะใช่ (probable) 11 ฉบับ น่าจะใช่ (possible) 7 ฉบับ เมื่อพิจารณารายการยาที่ได้รับร่วมกัน พบว่าเป็นรายงานที่เกิดจากปฏิกริยาระหว่างยาที่มีส่วนประกอบของ ergotamine และยากลุ่ม protease inhibitor จำนวน 17 ฉบับ ( 77.3%) ยากลุ่ม macrolide antibiotic จำนวน 3 ฉบับ (13.6 %) และยากลุ่ม antifungal drugs จำนวน 2 ฉบับ (9.1 %) 
          Ergotism เป็นภาวะที่มีการหดตัวของหลอดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนปลายไม่เพียงพอ อาการแสดงของภาวะดังกล่าว เช่น แขนขามีอาการเย็น ชา เจ็บแปลบตามปลายมือปลายเท้า หรืออาจมีแผลเนื้อเน่าจากการตายของเนื้อเยื่อ (gangrene) เป็นต้น ซึ่งภาวะดังกล่าวเกิดจากพิษของ ergotamine ซึ่งอาจเกิดจากการได้รับยาอื่นๆ ที่มี drug interaction ร่วมด้วย เช่นยากลุ่ม proteas inhibitor, macrolide antibiotic, antifubgal drug เป็นต้น 
          โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้มีการป้องกัน การเกิด Ergotism ที่เกิดจากปฏิกริยา ระหว่างยา ที่มีส่วนประกอบของยา ergotamine กับยาอื่น โดย กำหนดให้ เป็นคู่ยา Fatal Drug Interaction (Contraindication) คือห้ามมีการใช้ยาร่วมกันของยา  กลุ่ม Ergotamine กับยา เชื้อรา Itraconazole, ยาต้านไวรัส Efavirenc, ยาต้านไวรัสกลุ่ม Protase Inhibitor โดยมีการแจ้งเตือนในระบบคอมพิวเตอร์  ซึ่งยังไม่พบว่ามีการสั่งใช้ยาร่วมกัน 


ยาที่มีส่วนประกอบของ ergotamine ที่มีในโรงพยาบาล


เข้าถึงได้จาก : ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ.2560.รายงานการเกิด Ergotism ที่เกิดจากปฏิกริยาระหว่างยาของยาที่มีส่วนประกอบของ Ergotamine และยาอื่นๆ   .(ออนไลน์).แหล่งที่มา :http://thaihpvc.fda.moph.go.th/thaihvc/Public/News/uploads/hpvc_2_5_0_100566.pdf


ทบทวนความเสี่ยง


          จากข้อมูลความเสี่ยงด้านยา โรงพยาบาลพุทธโสธร พบว่า เกิดความคลาดเคลื่อน ก่อนการจ่ายยาหลายครั้ง ซึ่งมักจะพบในยาที่มีแผงยา เม็ดยา ชื่อยาที่คล้ายคลึงกัน ที่เรียกกันว่า Look Alike Sound Alike (LASA) จึงได้มีการจัดทำเป็นบัญชียา LASA เพื่อใช้ในการเฝ้าระวังความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ 


         คู่ยาที่มีลักษณะ เม็ด หรือแผงยา ที่คล้ายกัน ( Look Alike Drugs)

1.AUGMENTIN 1 G.  -  AUGMENTIN 625 MG.

2.VITAMIN  B COMPLEX  -  AMITRYPTYLINE 25 MG.

3.ATIVAN 0.5 MG.  -  ATIVAN 1 MG.

4.DICLOXACILLIN 250 MG.  -  DICLOXACILINE 500 MG.

5.ENALAPRIL 5 MG.  -  ENALAPRIL 20 MG.

6.RIFAMPICIN 300 MG.  -  RIFAMPICIN 450 MG.

7.DEX OPH  -  CHLORAM ED

8.CHLORAMBUCIL 2 MG.  -  MELPLALAN 2 MG.

9.SODAMINT  -  CHLORPROMAZINE

10.RISPERIDONE 1 MG.  -  RISPERIDONE 2 MG.

11.UTMOS 30 MG.  -  BACLOFEN 10 MG.

12.CYPROHEPTADINE 4 MG.  -  LASIX 40 MG.

13.ARTANE 2 MG.  -  DIAZEPAM 2 MG.

14.DICLOFENAC INJ.  -  TRAMADOL INJ.

15.VITAMIN K INJ.  -  VITAMIN B COMPLEX INJ.

16.KANAMYCIN INJ.  -  STREPTOMYCIN INJ.

17.RANITIDINE INJ.  -  GENTAMYCIN 20 MG INJ.

18.FUROSEMIDE INJ.  -  VALIUM INJ.

19.PENICILIN G INJ.  -  FOSFOMYCIN INJ.

20.CONCERTA 18 MG. – CONCERTA 36 MG.









    

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560