Pharma New:ฉบับประจำวันที่ 1 มิถุนายน 2555

Pharma New
ฉบับประจำวันที่ 1 มิถุนายน 2555

ข่าวจากฝ่ายเภสัชกรรม
แจ้งเปลี่ยนแปลงรายการยา 2 รายการ คือ
1. Digoxin tablet ขนาด 0.25 mg
เปลี่ยนแปลงบริษัทที่จัดซื้อยา จากเดิม เป็นของบริษัท TO chemical ชื่อทางการค้า TOLOXIN มาเป็น บริษัท Glaxo Smith Kline ชื่อทางการค้า  Lanoxin

            
                 ยาเดิม                                             ยาใหม่                                                                        
2. Metimazole ขนาด 5 mg
เปลี่ยนจากบริษัท  Olic (Thailand ) limited   ชื่อทางการค้า TAPAZOLE   มาเป็น บริษัท เภสัชกรรมศรีประสิทธิ์ จำกัด ชื่อทางการค้า TIMAZOL

          

                                                    ยาเดิม             

                                         



                 ยาใหม่

ความรู้คู่ยา

US FDA แจ้งเตือน อาการไม่พึงของยา Azithromycin
      คณะกรรมการอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการแจ้งเตือนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ให้เฝ้าระวังผลข้างเคียงในการใช้ยา Azithromycin ในเรื่องของ การเกิดอัตราการตายที่เพิ่มขึ้น จากโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งได้มีการตีพิมพ์ผลการศึกษานี้ในวารสาร  New England Journal of Medicine ฉบับวันที่ 17 พฤษภาคม 2012 โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับยา Azithromycin 5 วัน เปรียบเทียบกับ ผู้ป่วยที่ได้รับยา Amoxycillin, Ciprofloxacin และ ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยา  พบว่าผู้ที่ได้รับยา Azithromycin จะทำให้เกิด QT interval prolongation
       Azithromycin เป็นยาต้านจุลชีพในกลุ่ม Macrolide มีผลต่อหัวใจโดยทำให้เกิด QT interval prolongation ซึ่งในปี 2011  US FDA ได้ทบทวนเอกสารกำกับยา และให้เพิ่ม ข้อมูลผลข้างเคียงนี้ลงในเอกสารกำกับยาด้วย นอกจากนั้น ยังได้ให้เพิ่มข้อมูล ในเรื่อง การเกิด QT interval  prolongatin ในเอกสารกำกับยาในหัวข้อ Warning ในยา Clarithromycin และ Erythromycin ด้วย แม้ว่าอัตราการเกิดจะน้อยก็ตาม
        อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่ได้รับยานี้ไม่ควรหยุดยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์จะต้องเฝ้าระวังผลของยาต่อการเกิด QT interval Prolongation และ Heart Arrthymia เมื่อผู้ป่วยได้รับยากลุ่ม Macrolide และเมื่อเกิดอาการไม่พึงประสงค์นี้ขึ้นให้รายงานไปที่ศูนย์เฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากยา
  ตัวอย่างยากลุ่ม Macrolide  ที่มีในโรงพยาบาล
  
                          
 Azithromycin

   Clarithromycin

ข้อร้องเรียนนำไปสู่การทบทวนเชิงระบบ

     วันที่ 16 พฤษภาคม 2555 ผู้ป่วยร้องเรียน เรื่องการบันทึกประวัติการแพ้ยา  ได้มีการสอบถามข้อมูลกับผู้ป่วยพบว่า วันที่ 9 พฤษภาคม 2555 ผู้ป่วยมารับบริการที่โรงพยาบาล และได้มีการทำ skin test ยา ERIG ที่ห้องฉุกเฉิน ผลการทำ skintest เกิด ตุ่มนูนบริเวณที่ทดสอบ แพทย์แจ้งว่าผู้ป่วยแพ้ ERIG
    วันที่ 16 พฤษภาคม 2555 (วันที่ผู้ป่วยร้องเรียน) ผู้ป่วยมารับบริการที่โรงพยาบาล เพื่อ ฉีด PCEC เข็มที่ 3 ห้องตรวจซักประวัติแพ้ยา ผู้ป่วยแจ้งชื่อยาที่แพ้คือ ERIG ผู้ป่วยสงสัยว่าทำไมถึงไม่มีข้อมูลการแพ้ยาใน OPD card และในวันนั้นผู้ป่วยก็ไม่ได้รับบัตรแพ้ยา
สิ่งที่แก้ไขและทบทวน
 -  เภสัชกรอธิบายผู้ป่วยเรื่องผลการทำ skin test และขั้นตอนในเรื่องการเฝ้าระวังการแพ้ยาซ้ำ ทำประวัติแพ้ยา และออกบัตรระวังการใช้ยา ERIG (Skin test positive)
 -  ประสานงานไปยังห้องฉุกเฉินทบทวนแนวทางการปฏิบัติเรื่อง ERIG skin test และเรื่องการส่งต่อข้อมูลเมื่อผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ให้เป็นปัจจุบัน

ร่วมสนุกชิงรางวัล
        จากการที่กลุ่มงานเภสัชกรรม ได้จัดทำวารสาร Pharma News ต่อเนื่องมาจนถึงฉบับปัจจุบัน จึงอยากจะให้ผู้อ่านทุกท่าน เสนอแนะ ติชม โดยเขียนข้อเสนอแนะได้ทาง facebook หรือ ส่งข้อเสนอแนะมาที่ห้องจ่ายยาทุกห้อง พร้อมทั้งแจ้งชื่อและหน่วยงานของท่าน เพื่อที่เราจะได้ส่งของรางวัลให้กับผู้ร่วมสนุกทุกท่าน ข้อเสนอแนะที่ได้รับ จะนำไปปรับปรุงการจัดทำวารสารฉบับต่อไปให้ดียิ่งขึ้นค่ะ
    ของรางวัลมีมากมายดังรูปรอท่านอยู่ค่ะ

                     


------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560