Pharma NEWs

 ฉบับประจำวันที่ 16 มิถุนายน 2555 

 

ข่าวจากฝ่ายเภสัช 

 

           แจ้งการยกเลิกจำหน่ายยา Actal 

 

           บริษัท อินวิดา (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายยา Actal (Alexitol sodium) tablet ขนาด 50x10's ได้ยกเลิกการจำหน่ายยา เนื่องจากโรงงานประสบปัญหาจากภาวะน้ำท่วม บริษัทอินวิดาจึงยุติการผลิตและจำหน่ายยาตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2555 

          ขณะนี้โรงพยาบาลพุทธโสธรยังมียา Actal คงเหลืออยู่ในคลังยาอยู่ หากยาเม็ดที่มีหมด จะทำการจัดซื้อยาในรูปแบบยาน้ำมาทดแทน เมื่อมีการจัดซื้อยาในรูปแบบยาน้ำเข้ามาใช้ในโรงพยาบาล จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

 

           งานสัปดาห์ความปลอดภัยในระบบยา

 

          กลุ่มงานเภสัชกรรม ได้จัดกิจกรรมรณรงค์สัปดาห์ความปลอดภัยในระบบยา  ระหว่างวันที่ 21-24 สิงหาคม 2555  ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารอุบัติเหตุ เพื่อฟื้นฟูองค์ความรู้ในการสั่งใช้และบริหารยาอย่างถูกต้อง และเพื่อสร้างบรรยากาศแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงคุณภาพทางระบบยา  โดยมีกำหนดการดังนี้


วันที่ 21 สิงหาคม 2555

8.30-9.00 น.          พิธีเปิดการประชุม โดยผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธโสธร

9.00-10.30 น.        บรรยายวิชาการ Non-skin Adverse drug reaction 

                                โดย ภญ. จันจิรา   ชอบประดิถ โรงพยาบาลสมุทสาคร

10.30-12.00 น.      บรรยายวิชาการ เรียนรู้จากกรณีแพ้ยาซ้ำ

                                โดย ภญ. จันจิรา   ชอบประดิถ โรงพยาบาลสมุทสาคร

13.00-16.00 น.      บรรยายวิชาการ การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล 

                                โดย นพ. พิสนธิ์    จงตระกูล คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ 

 

วันที่ 22 สิงหาคม 2555

9.00-10.30 น.       บรรยายวิชาการ การบริหารจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูง(HAD)

                               โดย ภก.ปรมินทร์     วีระอนันตวัฒน์ 

                               สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน)

10.30-12.00 น.    เวทีอภิปราย เรื่องเล่าจาก High Alert Drug

                              โดย ภก.ปรมินทร์     วีระอนันตวัฒน์ 

                              สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน)

                             - ตัวแทนพยาบาลหอผู้ป่วยและเภสัชกรงานผู้ป่วยใน

13.00-14.30 น.    บรรยายวิชาการ Medication Reconcilation 

                             โดย ภก.ปรมินทร์     วีระอนันตวัฒน์ 

                              สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน)

14.30- 16.00 น.   เวทีอภิปราย เรื่องเล่าจาก Medication Reconcilation

                              โดย - ภก.ปรมินทร์     วีระอนันตวัฒน์

                                    - ตัวแทนพยาบาลหอผู้ป่วยและเภสัชกรงานผู้ป่วยใน

 

วันที่ 23-24 สิงหาคม 2555 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบยาจากหน้างานจริง

 

วันที่ 23 สิงหาคม 2555     9.00-12.00       ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรม

                                           13.00-16.00    ณ หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม

                                                                    ณ ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

 

วันที่ 24 สิงหาคม 2555    9.00-12.00        ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรม

                                          13.00-16.00     ณ หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม

                                                                    ณ หน่วยตรวจตาและอายุรกรรม

 

                  ทบทวนความเสี่ยง นำไปสู่การแก้ไขเชิงระบบ

           ในเดือน พฤษภาคม 2555 กลุ่มงานเภสัชกรรม ได้รับข้อร้องเรียน จากผู้ป่วย เรื่อง ระบบการประเมินและออกบัตรแพ้ยา ERIG ได้มีการทบทวนระบบและประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เี่กี่ยวข้องไปแล้ว กลุ่มงานเภสัชกรรม จึงได้มีการทบทวนและเผยแพร่แนวทางในการประเมินทำ skin test  ERIG รายละเอียด ดังนี้

การทำ skin test ของ ERIG

แนะนำให้เจือจางในสัดส่วน 1:100 ด้วย 0.9% NaCl และฉีด 0.02 ml

อุปกรณ์และสารละลายที่ใช้เจือจาง

1.syringe (1 ml) (tuberculin syringe , insulin syringe)

2.0.9% NaCl 100 ml

ขั้นตอนเตรียมสารละลายที่ใช้ทดสอบ

1. ดูดยา ERIG 1 ml ด้วย syringe 1 ml

2. ฉีดยาลงใน 0.9% NaCl 100 ml (1:100) ผสมให้เข้ากัน

3. ใช้ syringe ดูดสารทดสอบ (1:100) มา 0.02 ml

ความคงตัวหลังเจือจาง

      ควรใช้ภายใน 8 ชั่วโมงหลังเจือจางแล้ว ที่อุณหภูมิ 2- 8 °C

ขั้นตอนการทดสอบ

1.ฉีดสารละลายทดสอบ 0.02 ml เข้าในผิวหนังบริเวณท้องแขนด้วย tuberculin syringe จนเกิดรอยนูนเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มม.

2.ฉีดน้ำเกลือ 0.02 ml เข้าในผิวหนังบริเวณท้องแขนอีกข้างหนึ่งเพื่อเปรียบเทียบ

3.รอผล 15-20 นาที จึงอ่านผล

การแปรผลบวก  

- ถ้าจุดที่ฉีด ERIG มีรอยนูน บวมแดง (wheal) เส้นผ่านศูนย์กลางเกิน 10 มม. และมีรอยแดง (flare) ล้อมรอบ แต่จุดที่ฉีดน้ำเกลือเปรียบเทียบไม่มีปฏิกิริยานี้

- ถ้าจุดที่ฉีดน้ำเกลือมีรอยนูนแดง ในขณะที่จุดที่ฉีด ERIG มีรอยนูนแดง 10 มม.ขึ้นไป แต่ใหญ่กว่าจุดที่ฉีดน้ำเกลือ

การปฏิบัติ           

         - กรณีผลบวกต้องเปลี่ยนไปใช้ HRIG

- ถ้าไม่มี HRIG ควรให้ ERIG ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษภายใต้การดูแลของแพทย์ โดยเตรียม adrenaline, antihistamine และเครื่องช่วยหายใจไว้ให้พร้อม 

-  กรณีผลลบก็ต้องเตรียมพร้อมรักษาอาการแพ้แบบ anaphylaxis เช่นกัน โดยเตรียม adrenalinde 0.1% (1:1000 หรือ 1 mg/ml) ขนาดของ adrenaline ที่ใช้ในผู้ใหญ่ 0.5 ml ส่วนในเด็กให้ขนาด 0.01 ml/kg  SC, IM

- หลังฉีด ERIG ต้องให้ผู้ป่วยรอ เพื่อเฝ้าระวังอาการแพ้อย่างน้อย 1 ชม.

- อาการแพ้ ERIG ที่พบมักเป็นเพียงรอยแดง คัน ลมพิษ หรือปวดข้อเท่านั้น

*** ERIG 40 Unit/kg ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ (ไม่มี Max dose)  : ฉีดในผิวหนัง รอบแผลแล้วก็ฉีดที่เหลือ IM ในตำแหน่งที่ไกลจากจุดที่ฉีดวัคซีน

*** กรณีที่บาดแผลกว้าง หรือหลายแผล แต่ปริมาณ RIG ที่คำนวณไม่เพียงพอ แนะนำให้เพิ่มปริมาณด้วยการผสมกับ 0.9% Nacl ประมาณ 2-3 เท่า จนได้ปริมาณที่ต้องการ เพื่อฉีดให้ได้ครบทุกบาดแผล


References :        

1. package insert. TRCS ERIG (TRCS Antirabies Serum). สถานเสาวภา สภากาชาดไทย.

2. สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฎิบัติ โรคพิษสุนัขบ้า ฉบับปรับปรุง ปี 2555. กรุงเทพ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2555.

 

 ร่วมสนุกประจำสัปดาห์

       กลุ่มงานเภสัชกรรมขอเชิญชวนท่านผู้อ่านทุกท่าน ร่วมกันเสนอความคิดเห็น เพื่อการปรับปรุงวารสาร PHARMA NEWS ให้ดียิ่งขึ้น โดยท่านสามารถส่งข้อคิดเห็นมาที่กลุ่มงานเภสัชกรรม, Facebook เพื่อรับของสมนาคุณต่างๆ มากมายค่ะ

 

 

 

 

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560