Pharma News

ฉบับประจำวันที่ 1 กันยายน  2555

 

ข่าวจากฝ่ายเภสัช

     เอกสารประกอบการนำเสนอในกิจกรรมสัปดาห์ความปลอดภัยในระบบยา     ระหว่างวันที่ 21-24 สิงหาคม 2555   สามารถ download เอกสาร ได้ที่ facebook ของกลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร ตาม link

http://dispharm.blogspot.com/2012/08/21-24-2555-2-21-2555-1.html?spref=fb

 เปลี่ยนแปลงรายการยา

เปลี่ยนแปลงบริษัทในการซื้อยา phenobarbital sodium injection เป็นของบริษัท MARTINDALE Pharmaceutical นำเข้าโดย องค์การเภสัชกรรม  

ขนาดยา : phenobarbital inj 200 mg/ml

 


     ความรู้คู่ยา

ยาที่ต้องมีคำเตือนผื่นแพ้ยารุนแรงชนิด  Steven- johnson syndrome/TEN 

     สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ขอแจ้งว่าคณะอนุกรรมการศึกษาและเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ยาได้มีคำแนะนำให้กำหนดรายการยาที่ต้องแจ้งข้อความคำเตือนเพิ่มเติม เกี่ยวกับผื่นแพ้ยารุนแรง ชนิด Steven-Johnson syndrome(SJS) และ Toxic Epidermal Necrolysis (TEN) ในประกาสกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง บาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาในฉลากและที่เอกสารกำกับยา

      สืบเนื่องจากฐานข้อมูลศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Thai Vigibase) ตั้งแต่ปี 2527-2554 พบรายงานการเกิด SJS/TEN จำนวน 10,492 ราย  ซึ่งมียาบางรายการมีหลักฐานชัดเจนว่าการเกิด SJS/TEN สัมพันธ์กับยา และคณะทำงานการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาของสหภาพยุโรป (CHMP Pharmacovigilance Working Party) ได้แนะนำให้แสดงคำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงการเกิด SJS/TEN ซึ่งแม้จะพบน้อย แต่เป็นอันตรายร้ายแรงของยา allopurinol, carbamazepine, phenobarbital, phenytoin, lamotrigine, meloxicam, piroxicam, tenoxicam, nevirapine, sulfadiazine, sulfadoxine, sulfafurazole, sulfamethoxazol และ sulfasalazine ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลใน Thai vigibase ที่ยาดังกล่าวมีรายงานการเกิด SJS/TEN

     คณะอนุกรรมการ จึงมีคำแนะนำให้ยาที่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิด SJS/TEN ควรมีข้อความคำเตือนเพิ่มเติม เกี่ยวกับความเสี่ยงผื่นแพ้ยารุนแรงชนิด SJS/TEN ซึ่งจะนำเสนอคระกรรมการยาพิจารณาให้ความเห็นชอบเพิ่มข้อความคำเตือนในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาในฉลากและที่ เอกสารกำกับยาของยา 8 กลุ่ม 19 รายการ ดังต่อไปนี้

1. ยารักษาโรคเก๊าท์ ได้แก่ allopurinol

2. ยากันชัก ได้แก่ carbamazepine, phenibarbital, phenytoin และ lamotrigine

3. ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDS ได้แก่ ibuprofen, meloxicam, piroxicam และ tenoxicam

4. ยาต้านไวรัส HIV กลุ่ม non-nucleoside reverse transcriptase inhibitor ได้แก่ nevirapine containing product

5. ยากลุ่มซัลโฟนาไมด์ ได้แก่ co-trimoxazole, sulfadiazine, sukfadoxine, sulfafurazole, sulfamethoxazol และ sulfasalazine

6. ยากลุ่ม เพนนิซิลลิน ได้แก่ amoxycillin

7. ยารักษาวัณโรค ได้แก่ rifampicin

8. dapsone

     โดยยาทั้ง 19 รายการมีข้อความคำเตือนเกี่ยวกับผื่นแพ้ยารุนแรงชนิด SJS/TEN ตามประกาศ ดังนี้

      คำเตือนในฉลาก

(1) หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง และ/หรือ มีอาการเป็นหวัดให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที

(2) ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้

(3) เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนัง และ บริเวรเยื่อบุต่างๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ จมูก อวัยวะสืบพันธ์ และเยื่อบุตาอักเสบ ให้หยุดยา และปรึกาาแพทย์เพราะอาจเป็น Steven-johnson Syndrome

ที่มา :  http://thaihp.org/adr/index.php?option=news_detail&lang=th&id=196&sub=21

ทบทวนความเสี่ยงเพื่อการป้องกันเชิงระบบ

    เกิดอุบัติการณผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำ 1 ราย ในเดือน สิงหาคม 2555

เป็นผู้ป่วยหญิงไทย มาพบแพทย์ด้วยอาการ โดนแมวกัด ที่ใบสั่งยา มีประวัติแพ้ยา metronidazole (MP rash) แพทย์สั่งยากลับบ้านเป็น Augmantin 1x3 pc 15 เม็ด และ paracetamol 2 tab prn 20 เม็ด ดังภาพ


      อีกหนึ่งสัปดาห์ ต่อมา ผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการ ผื่นแดงคันตามร่างกาย  แพทย์สงสัยแพ้ยา จึงทำการซักประวัติ และเมื่อตรวจสอบ OPD card ย้อนหลัง พบว่า ผู้ป่วยเคยมีการทำประวัติแพ้ยา ในวันที่ 13 เมษายน 2552 ซึ่งในวันนั้นผู้ป่วยได้รับประทานยา 2 ชนิดร่วมกัน คือ amoxycillin และ metronidazole โดยเภสัชกรได้ออกบัตรแพ้ยา 2 รายการดังกล่าว ให้กับผู้ป่วย และได้มีการติดสติ๊กเกอร์แพ้ยาที่ OPD card  ดังภาพ





ประวัติแพ้ยาวันที่ 13 เม.ย. 52

     จากเหตุการณดังกล่าว พบปัญหาดังนี้

-  ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยา 2 ชนิด แต่มีการบันทึกรายการยาที่แพ้เพียงชนิดเดียวในระบบคอมพิวเตอร์

- มีการติดสติ๊กเกอร์ผู้ป่วยแพ้ยาที่ OPD card ด้านในแต่ไม่ได้ติดที่ปกของ OPD card ทำให้บุคลากรทางการแพทย์มองไม่เห็นประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วย

- ผู้ที่ทำการสั่งยา ผู้ที่จ่ายยา ไม่สามารถคัดกรองประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วยได้ ทำให้ผู้ป่วยเกิดการแพ้ยาซ้ำ

     จึงได้ทำการแก้ไขโดย เพิ่มการบันทึกรายการยา amoxycillin ที่ผู้ป่วยแพ้ ลงในระบบคอมพิวเตอร์ ติดสติ๊กเกอร์แสดงว่าผู้ป่วยแพ้ยาที่ OPD card ก่อนที่จะจ่ายยาให้ผู้ป่วยให้ถามประวัติแพ้ยาผู้ป่วยทุกครั้ง








 

                


 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560