Pharma News

ฉบับประจำวันที่ 16 กันยายน  2555

 

ข่าวจากฝ่ายเภสัช

     เอกสารประกอบการนำเสนอในกิจกรรมสัปดาห์ความปลอดภัยในระบบยา     ระหว่างวันที่ 21-24 สิงหาคม 2555   สามารถ download เอกสาร ได้ที่ facebook ของกลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลพุทธโสธร ตาม link ด้านล่าง

http://dispharm.blogspot.com/2012/08/21-24-2555-2-21-2555-1.html?spref=fb

 เปลี่ยนแปลงยา

  1. แจ้งเปลี่ยนแปลงรูปแบบ กล่องยา Lantus Solostar ®บริษัท ซาโนฟี่- อเวนติส(ประเทศไทย) จำกัด ผู้รับอนุญาตินำเข้า และเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์  Lantus Solostar ®   ยาฉีดอินซูลิน กลาร์จีน Lantus Solostar ®

  ได้เปลี่ยนขนาดกล่องบรรจุยา ในรูปแบบใหม่ โดยกล่องยาแบบใหม่มีขนาดเล็ก  ลง คือ  จากเดิม ขนาด 172 x 133 x 26 มม.

 

 

 เป็นแบบใหม่ ขนาด 172 x 85 x 26 มม. 

รูปแบบใหม่

โดยที่คุณสมบัติและลักษณะ ปากกาฉีดอินซูลิน กลาร์จีน ยังคงรูปแบบเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และคุณภาพของยา

2.  เปลี่ยนแปลงยา Leximin ®  (Fenofibrate)โดย ตัดยาขนาดความแรง 300 mg ออกจากบัญชียาโรงพยาบาล และนำยาขนาดความแรง 100 mg. เข้ามาแทน

 

ยาใหม่

 โดย Leximin ®  100  ประกอบด้วย 

 Fenofibrate 100 mg.

สรรพคุณ : เป็นยาลดระดับไขมันในเลือด จึงช่วยป้องกันการเกิดภาวะผนังหลอดเลือดแข็ง เนื่องจากร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูง

ข้อบ่งใช้ :  เป็นยาลดระดับไขมันในเลือด ในผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง

ขนาดรับประทาน :  ขนาดยาต้องปรับให้เหมาะสมกับระดับไขมันในเลือดที่ผิดปรกติ ขนาดทั่วไปที่แนะนำคือ 2-4 แคปซูล ( 200-400 mg.)  ยานี้จะใช้ต่อเมื่อผู้ป่วยได้ควบคุมอาหารไขมันที่รับประทานแล้วไม่ได้ผล  การลดระดับไขมันในเลือดตามเป้าหมายการรักษามักให้ยานี้ขนาด 300 mg. วันละครั้ง พร้อมอาหาร และตรวจวัดระดับไขมันในเลือดเป็นระยะๆ เมื่อระดับไขมันลดลงสู่ระดับปรกติแล้วให้ควบคุมด้วยการรับประทาน fenofibrate 100 mg. วันละ 2 ครั้ง แทน

ข้อห้ามใช้

-  ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้

-  ผู้ป่วยเด็ก ผู้ที่เป็นโรคตับวาย หรือไตวายอย่างรุนแรง และผู้ที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี

-  ไม่ควรใช้ในเด็กเนื่องจากยังไม่มีการศึกษาการใช้ยานี้ในผู้ป่วยเด็ก

ข้อควรระวัง 

-  เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาความปลอดภัยของการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์จึงไม่ควรใช้ยานี้ระหว่างตั้งครรภ์

-  Fenofibrate สามารถถูกขับออกทางน้ำนมได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ระหว่างที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

-   ระหว่างปีแรกของการรักษาด้วยยานี้ ควรรับการตรวจวัดระดับ serum transaminase ทุกๆ 3 เดือน หากค่า ALT สูงเกิน 100u/L ต้องหยุดยา

อาการข้างเคียง พบ 1-10%

กระเพาะอาหารและลำใส้       :  ปวดท้อง ท้องผูก

ตับ  :  ค่าการทดสอบการทำงานของตับผิดปรกติ, ระดับ creatinine phosphokinase เพิ่มขึ้น, ค่า ALT เพิ่มขึ้น, ค่า AST เพิ่มขึ้น

ประสาทกล้ามเนื้อและโครงร่างปวดหลัง

ทางเดินหายใจ ความผิดปรกติของทางเดินหายใจ เยื่อจมูกอักเสบ

อาการข้างเคียงที่ไม่ได้ระบุความถี่ในการเกิด (ที่สำคัญและมีผลต่อการเสียชีวิต)

      ปฏิกิริยาการแพ้, ผมร่วง, ปวดเค้นอก, วิตกกังวล, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, หอบ, หัวใจห้องบนเต้นไม่เป็นจังหวะ, ถุงน้ำดีอักเสบ, นิ่วในถุงน้ำดี,ลำใส้ใหญ่อักเสบ, เบาหวาน, หายใจลำบาก, eosinophilia, หลอดอาหารอักเสบ, กระเพาะอักเสบ, เต้านมโตในเพศชาย, ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ, การทำงานของไตผิดปรกติ, ภาวะเม็ดเลือดขาวน้อย, การผิดปรกติของต่อมน้ำเหลือง, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, หัวใจขาดเลือด, ปวดตามเส้นประสาท, ชา, ปฏิกริยาไวต่อแสง, ผื่นแดง, วิงเวียน อาเจียน

การเก็บรักษา  :  เก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำกว่า 30 º C

 

กิจกรรมถุงผ้า ประหยัดค่ายา ลดโลกร้อน

  •        ปีงบประมาณ 2554 จนถึง ปัจจุบัน กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้จัดกิจกรรม มอบถุงผ้าใส่ยา ให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง และต้องมาพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง  โดยส่งมอบยาใส่ลงในถุงผ้า และอธิบายให้ผู้ป่วยนำยาที่เหลือทั้งหมดใส่ลงในถุงผ้า เมื่อมารับยาครั้งต่อไป เมื่อผู้ป่วยมารับยาพร้อมกับยาที่เหลือในถุงผ้า  เจ้าหน้าที่จะนำยาเดิมที่เหลือมาตรวจสอบสภาพและวันหมดอายุ  หากยามีสภาพที่ดี  จะนำยาเดิมกลับมาใช้กลับผู้ป่วยคนเดิม โดยหักลบยาเดิมจากยาที่แพทย์สั่ง  ทำให้โรงพยาบาลสามารถประหยัดค่ายาได้ และลดการใช้ถุงพลาสติก อีกด้วย ผลการดำเนินการ เป็นดังนี้   

    - ในปีงบประมาณ 2554 ดำเนินการได้ 704 ราย มูลค่าที่ประหยัดได้ 484,867.07 บาท

  - ในปีงบประมาณ 2555 ในช่วง ตุลาคม 2554 – พฤษภาคม 2555 (7 เดือน) ดำเนินการได้ 306 ราย มูลค่าที่ประหยัดได้ 237,039.90 บาท

   - ในเดือน มิถุนายน 2555 ได้เริ่มกิจกรรมถุงผ้าเชิงรุก โดยเพิ่มการทำกิจกรรมที่หน้าห้องตรวจในช่วงเวลา 8:30 น. – 10:30 น. ของทุกวัน พบว่า มียอดผู้ป่วยเพิ่มขึ้น คือในเวลา 1 เดือน สามารถดำเนินการได้ 183 ราย มูลค่าที่ประหยัดได้ 126,433.79 บาท (คิดเป็น ร้อยละ 50 ของกิจกรรมที่ดำเนินการในระบบเดิมคือรอรับที่ห้องยา เป็นเวลา 7 เดือน) 

       ซึ่งกลุ่มงานเภสัชกรรม จะนำความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรมถุงผ้า มานำเสนออย่างต่อเนื่อง ต่อไป

   ทบทวนความเสี่ยง เพื่อการป้องกัน 

      case I    

     เดือน กันยายน 2555 มีรายงานอุบัติการณ์ผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำ 1 ราย 

     เป็นผู้ป่วยหญิงไทย มีประวัติแพ้ยา ceftriaxone โดยผู้ป่วยมีบัตรแพ้ยา มีสติ๊กเกอร์ ติดที่ OPD card แสดงว่าแพ้ยา มีการบันทึกประวัติในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ว่าแพ้ยา  

   แพทย์ได้สั่งยา ceftriaxon

 

      ห้องจ่ายยาไม่สามารถคัดกรองประวัติการแพ้ยา 

จึงจ่ายยา ceftriaxone 

ยาบาลบริหารยา ceftriaxone ให้ผู้ป่วย

ผู้ป่วยเกิดอาการแพ้ยา หลังได้รับยาไปสักครู่ 

มีอาการฝ่ามือแดง คัน  

    จึงได้ทบทวนระบบ พบปัญหาจาก

  1.บุคลากรทางการแพทย์ ตั้งแต่แพทย์ เภสัชกร พยาบาล ไม่ได้ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติที่ได้กำหนดไว้

    2. ระบบการบันทึกข้อมูลการแพ้ยาของผู้ป่วยรายนี้ เกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติ คือ มีการ block รหัสยาที่แพ้ในคอมพิวเตอร์แล้ว แต่ block รหัสยาไม่ถูกต้อง ทำให้ เมื่อ key ยาที่แพ้เข้าในระบบคอมพิวเตอร์แล้ว จึงไม่มีการเตือนว่าผู้ป่วยแพ้ยา

   3. ผู้ป่วยและญาติ แจ้งกับพยาบาลว่าไม่มีข้อมูลแพ้ยา ทั้งที่มีบัตรแพ้ยา และมีการบันทึกประวัติการแพ้ยา

          ดังนั้น จึงได้มีการทบทวน ระบบ การป้องกันการแพ้ยาซ้ำ ในโรงพยาบาล ร่วมกัน และขอให้ทุกๆหน่วยงาน ปฏิบัติตามแนวทางในการป้องกันการแพ้ยา อย่างเคร่งครัด เพื่อลดอันตรายที่จะเกิดกับผู้ป่วย หากมีการแพ้ยาซ้ำเกิดขึ้น

   Case II   ผู้ป่วยได้รับยา NSAID ซ้ำซ้อนกันสองชนิด

  วันที่ 20 สิงหาคม 2555 ผู้ป่วยมารับการตรวจที่แผนก ศัลยกรรมกระดูก  แพทย์สั่งยา 4 รายการ คือ

     1. Indomethacin 1x3 pc 90 เม็ด 

  1. 2 . prednisolone 1x3 pc 90 เม็ด

    3. omeprazole 1x1 ac 30 เม็ด

    4. tramal 1x2 pc 60 เม็ด 

     

     

    อีก 1 วันต่อมา ผู้ป่วยมาพบแพทย์ แผนก อายุรกรรม เพื่อตรวจโรคความดัน ตามนัดเดิม แพทย์ได้สั่งยา  3 รายการ คือ

    1. Amlodipine 10 mg 1x1 pc 90 เม็ด

    2. Ibuprofen 1x3 pc 20 เม็ด

    3. Diazepam 2 mg 1xhs 10 เม็ด

     

         จากใบสั่งยาจะเห็นว่ามีการสั่งยา ต้านการอักเสบ 2 ชนิด ให้รับประทาน ในเวลาเดียวกัน คือ Indomethacin และ Ibuprofen ปัญหาที่พบเกิดจากการที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์คนละวัน และตรวจคนละคลินิก และแพทย์ผู้สั่งยาจากแผนกอายุรกรรม ไม่ทราบว่าได้มีการสั่งยา Indomethacin จากแพทย์ แผนก ศัลยกรรมกระดูกมาก่อนแล้ว ทำให้เกิดการสั่งยา แก้อักเสบซ้ำซ้อนกันขึ้น  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยามากกว่าประโยชน์จากการรักษา

           เภสัชกรผู้ตรวจสอบใบสั่งยา จึงได้ confirm รายการยากับแพทย์ และแจ้งให้ผู้ป่วยรับประทานยา แก้อักเสบเพียงชนิดเดียว คือ ยา Indomethacin   จากแผนกศัลยกรรมกระดูก

        

 

 

 

    


 

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560