PHARMA NEWS

ฉบับประจำวันที่ 16 ตุลาคม 2555

ข่าวจากฝ่ายเภสัช

     ตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด ได้มีการอนุมัติให้นำวัคซีน  5 รายการเข้ามาในบัญชียาโรงพยาบาล ขณะนี้ได้ทำการจัดซื้อยาเรียบร้อยแล้ว ผู้ที่สนใจสามารถขอเข้ารับบริการฉีดวัคซีนได้ โดยต้องชำระค่าบริการเอง  ซึ่งวัคซีนที่นำเข้ามามีดังต่อไปนี้
1. Engerix - B  TM  เป็นวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี 
ขนาดยา : ฉีดวัคซีน 3 เข็ม ในวันที่ 0,1 และ 6 เดือน




2. Priorix  TM  เป็นวัคซีนรวม ป้องกันโรค หัด คางทูม และหัดเยอรมัน
ขนาดยา : แนะนำให้ฉีด โด๊สแรกในเด็กอายุตั้งแต่ 9 เดือนขึ้นไป และฉีดโด๊สที่สองในวัยเริ่มเข้าเรียน






3. boostrix TM  เป็นวัคซีนรวม ป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
ขนาดยา : ฉีดครั้งเดียว 1 dose (0.5 ml)






4. Varilrix TM  เป็นวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส 
ขนาดยา : ฉีดวัคซีน 2 เข็ม เข็มที่ 1, เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 4-6 สัปดาห์







5. Cervarix TM
  เป็นวัคซีนสำหรับใช้ป้องกันการติดเชื้อฝังแน่น รอยโรคก่อนมะเร็ง และมะเร็งปากมดลูกที่มีสาเหตุจากเชื้อ Human Papillomaviruses (HVP)
ขนาดยา : ฉีด 3 เข็ม ในเดือนที่ 0,1 และ 6 เดือน

 

 

  

สรุปผลการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากยา 

ประจำปีงบประมาณ 2555


  กลุ่มงานเภสัชกรรม ได้ประเมินและติดตาม ผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2554 จนถึงเดือน กันยายน 2555 ผลการดำเนินการเป็นดังนี้
   ผู้ป่วยแพ้ยารายใหม่ ทั้งหมด 285 ราย ยาที่แพ้มากที่สุด สามอันดับแรก ได้แก่ ceftriaxone 49 ราย รองลงมาได้แก่ enalapril 45 ราย และ amlodipine 34 ราย
     ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยาเดิม ทั้งหมด 1,199 ราย ยาที่แพ้มากที่สุดสามอันดับแรก ได้แก่ ยากลุ่ม penicillin 243 ราย, กลุ่ม sulfa 206 ราย, tetracyclin 126 ราย รายละเอียด ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1

แพ้รายใหม่
ประวัติ
ลำดับ
ชื่อยาที่แพ้
จำนวน
%
ชื่อยาที่แพ้
จำนวน
%
1
Ceftriaxone inj.
49
8.22
Penicillins
243
12.96
2
Enalapril
45
7.55
Sulfa
206
10.99
3
Amlodipine
34
5.70
Tetracycline
126
6.72
4
Ibuprofen
23
3.86
Ibuprofen
110
5.87
5
Bactrim (co-trimoxazole)
22
3.69
Enalapril
107
5.71
6
Clindamycin
17
2.85
Amoxycillin
99
5.28
7
Amoxycillin, d4T (stavudine)
16
2.68
Amlodipine
64
3.41
8
AZT (zidovudine)
15
2.52
Paracetamol
47
2.51
9
Cefazolin, HCTZ, phenytoin
13
2.18
Aspirin
43
2.29
10
Augmentin
11
1.85
Diclofenac, ceftriaxone, tramol
36
1.92
11
Tramadol
10
1.68
Bactrim
33
1.76
12
Allopurinol, ciprofloxacin
9
1.51
Dicloxacillin
24
1.28
13
Meropenem, diclofenac
8
1.34
Ampicillin
23
1.23
14
Naproxen, dicloxacillin, ceftazidime, paracetamol, cephalexin
7
1.17
Cloxacillin, mefenamic acid
21
1.12
15
Cloxacillin, tetracycline, Tazocin, PZA
6
1.01
cephalexin
17
0.91


พบอุบัติการณ์การแพ้ยาซ้ำจำนวน 8 ราย เป็นผู้ป่วยนอก 2 ราย, ผู้ป่วยใน 6 ราย  จากการวิเคราะห์รากสาเหตุ เป็นดังนี้
ที่
หน่วยงาน
รายการยา
สาเหตุ
แก้ไข/จัดการระบบ
1
Ward
Med
Sulperazon
(MP rash)
- มีประวัติแพ้จากใบส่งตัว   ไม่มีประวัติในรพ.พุทธโสธรมาก่อน
- คัดกรองประวัติแพ้ยาไม่พบก่อนให้ยาแก่ผู้ป่วย
- แจ้งหน่วยงานโดยตรง  เน้นย้ำการคัดกรองประวัติแพ้ยา

- นำความเสี่ยงเข้ากรรมการ ADR เพื่อทบทวนระบบ มีข้อเสนอจากที่ประชุม
      * ให้แจ้งทุกองค์กร (แพทย์ / พยาบาล /เภสัชกร) และทุก PCT ทบทวนระบบ  เน้นการ screen ประวัติแพ้ยาทั้งใน / นอกรพ. ก่อนใช้ยา
      * จัดการประชุมวิชาการ  KM ADR แบบสหสาขา กลางปี 2555
      * ER แนบใบคัดกรองข้อมูลสงสัยแพ้ยาก่อนเข้าห้องตรวจกับแพทย์ และส่งต่อไปหอผู้ป่วย เพื่อช่วยให้เห็นข้อมูลชัดเจน
2
ER
Dilantin
(rash)
-          มีประวัติแพ้จากบัตรแพ้รพ.อื่น ไม่มีประวัติในรพ.พุทธโสธรมาก่อน
- คัดกรองประวัติแพ้ยาไม่พบก่อนให้ยาแก่ผู้ป่วย
3
Ward Med
Ceftriaxone
(anaphylactic shock)
-     มีประวัติแพ้จากบัตรแพ้รพ.อื่น ไม่มีประวัติในรพ.พุทธโสธรมาก่อน
- คัดกรองประวัติแพ้ยาไม่พบก่อนให้ยาแก่ผู้ป่วย
4
ER
Ceftriaxone
(MP rash)
-      มีสติ๊กเกอร์แพ้ยาในเวชระเบียนตั้งแต่ปี 2547 ไม่ถูกนำเข้าฐานข้อมูลระบบเตือนแพ้ยา
-คัดกรองประวัติแพ้ยาไม่พบก่อนบริหารยาแก่ผู้ป่วย
5
ห้องยา OPD
Amlodipine (บวม)

- มีข้อมูลให้ประวัติอาการข้างเคียงแล้ว แต่ผู้ป่วยแจ้งทานได้ จึงไม่ได้ยืนยันกับแพทย์ก่อนจ่าย
- ทบทวน standard procedure (SP) ก่อนจ่ายยา ป้องกันแพ้ซ้ำทั้ง type A, B
- ทบทวน WI / SP ประจำปีของ         เภสัชกรที่ปฏิบัติหน้างาน
6
Ward
ปกส
Ceftriaxone
(rash)
- มีประวัติแจ้งรพ.แล้ว แต่มีคำสั่งใช้ จ่ายยา และบริหารยา
- แจ้งทบทวนในหอผู้ป่วย นำข้อมูลแจ้งในระบบ PCT และแจ้งทุกหน่วยทบทวนระบบการป้องกันแพ้ซ้ำ
- เผยแพร่กรณีศึกษาทางสื่อ online
7
ห้องยาOPD24
Amoxycillin
(MP rash)
-  ข้อมูลประวัติการแพ้ยาไม่สมบูรณ์ในระบบคอมพิวเตอร์ (ไม่ block code)
-     สติ๊กเกอร์แพ้ยามีครบ แต่อยู่ในใบแทน ใส่ปกเวชระเบียนภายหลัง
-      ทบทวนห้องยา และระบบการตรวจสอบข้อมูลในคอมพิวเตอร์
-      ประสานงานห้องบัตรในการแจ้งให้ห้องยาติดสติ๊กเกอร์แพ้ยาก่อนใส่ปกหรือกรณีใบแทน
8
ห้องยา
IPD
Ceftriaxone
(rash)
-     มีประวัติแจ้งรพ.แล้ว มีบัตรแพ้ยา สติ๊กเกอร์ครบ  แต่มีคำสั่งใช้ จ่ายยา และบริหารยา
-     ญาติและผู้ป่วย แจ้งไม่มีข้อมูลแพ้ยา
- แจ้งทบทวนในหอผู้ป่วย ห้องยาใน แจ้ง PCT และเผยแพร่กรณีศึกษาทางสื่อ online
- ประสานงาน IT เรื่องการขอ blockไม่ให้คีย์ยาได้กรณีพบสั่งยาที่แพ้

เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อผู้ป่วย ตามระดับความรุนแรงตามเกณฑ์ของ NCC MERP      ผลดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2                
ระดับความรุนแรง
จำนวน
%
E
573
94.86
F
29
4.81
G
-
-
H
2
0.33
I
-
-
รวม
604
           100%       

เมื่อจำแนกตาม ระบบร่างกายที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์ทางยา พบว่าเกิดอาการทางระบบผิวหนังมากที่สุด  รองลงมาเป็นระบบทางเดินหายใจ ดังรายละเอียด ตามตารางที่ 3
ตารางที่ 3

แพ้รายใหม่
ประวัติ
ลำดับ
ระบบร่างกาย
จำนวน
%
ระบบร่างกาย
จำนวน
%
1
Skin
429
71.98
Skin
1349
71.95
2
Respiratory
57
9.57
Respiratory
186
9.92
3
other
36
6.04
Whole body
130
6.93
4
Hematological
15
2.52
Other
69
3.68
5
Gastrointestinal
14
2.35
Gastrointestinal
52
2.77
6
Cardiovascular, musculoskeletal
13
2.18
Cardiovascular
31
1.65
7
Whole body
12
1.85
Ocular
25
1.33
8
Hepatic / Renal
10
1.68
Neurological
12
0.64
9
Neurological
7
1.17
Musculoskeletal
8
0.43
10
Ocular
6
1.01
Hematological, Hepatic/Renal
4
0.21

เมื่อติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากยา ADR type A ผลเป็นดังตารางที่ 4
ตารางที่ 4
แพ้รายใหม่
ประวัติ
ลำดับ
ชื่อยา
อาการที่พบ
ลำดับ
ชื่อยา
อาการที่พบ
1
HCTZ
Hyponatremia, hypokalemia
1
AMLODIPINE
Peripheral edema
2
MODURETIC
Hyponatremia, hypokalemia
2
HCTZ
Hyponatremia,
hypokalemia
ENALAPRIL
cough
ENALAPRIL
cough
3
AZT (ZIDOVUDINE)
anemia
3
PROPRANOLOL
bradycardia
BACTRIM
N/V, anemia
TRAMOL
N/V


มื่อจำแนกตามกลุ่มยาที่ผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์ทางยา พบกลุ่มยาที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์มากที่สุด คือ ยาปฏิชีวนะ  ผู้ป่วยแพ้ยารายใหม่ พบ 39 %  ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยา พบ 53.98 % ลำดับต่อมาคือ ยาต้านการอักเสบ พบในผู้ป่วยแพ้ยารายใหม่ 16.61 % ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยา 53.98 % รายละเอียด ดังตารางที่ 5
ตารางที่ 5 

แพ้รายใหม่
ประวัติ
ลำดับ
กลุ่มยา
จำนวน
%
กลุ่มยา
จำนวน
%
1
Antibiotic
234
39.26
Antiobiotic
1010
53.98
2
NSAIDS, musculo, analgesic
99
16.61
NSAIDS, musculo, analgesic
400
21.38
3
Antihypertension
55
9.23
Antihypertension, Cardiovascular drug
120
6.41
4
Cardiovascular drug
54
9.06
Respiratory system, gastrointestinal
28
1.50
5
ARV (Antiretroviral)
39
6.54
CNS drug
25
1.34
6
CNS drug
22
3.69
Antihistamine
19
1.02
7
Anti-TB drug
18
3.02
Antilipidemia
17
0.91
8
Anticonvulsant
12
2.01
Antidiabetes
13
0.69
9
Gastrointestinal
11
1.85
Anti-TB drugs
12
0.64
10
Antilipidemia
9
1.51
Immunological product and vaccines, ARV, Eye
8
0.43

จากรายงานแจ้งการแพ้ยาจากหอผู้ป่วย  พบว่าหอผู้ป่วยที่แจ้งการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ทางยาของผู้ป่วยใน มากที่สุดเป็นหอผู้ป่วย อายุรกรรม  ผลดังตารางที่ 6
ตารางที่  6

แพ้รายใหม่
ประวัติ
ลำดับ
หอผู้ป่วย
จำนวน
%
หอผู้ป่วย
จำนวน
%
1
อายุรกรรมหญิง 6
34
13.23
อายุรกรรมหญิง 5
61

2
อายุรกรรมหญิง 5
31
12.06
อายุรกรรมชาย 8
57

3
อายุรกรรมชาย 8
29
11.28
ศท.8
45

4
อายุรกรรมชาย 7
28
10.89
ศัลยกรรมกระดูก
41

5
ศัลยกรรมหญิง
17
6.61
สูติ-นรีเวช, อายุรกรรมชาย 7
28

6
ศัลยกรรมกระดูก
16
6.23
พสธ.7 (พิเศษศัลยกรรม)
23

7
สดย.4
14
5.45
กุมารเวชกรรม
20

8
กุมารเวชกรรม
13
5.06
ศัลยกรรมหญิง, อายุรกรรมหญิง 6,
พสธ.6 (พิเศษสูติ-นรีฯ),
17

9
ภปร. บน
12
4.67
ศอ.7 (ศัลยกรรมอุบัติเหตุ ชั้น 7)
13

10
สดย.3
10
3.89
ภปร.ล่าง
11

11
พสธ.5 (พิเศษเด็ก)
9
3.50
ภปร. บน
10

12
พสธ.6 (พิเศษสูติ-นรีฯ), ภปร.ล่าง, ศอ.7
6
2.33
ตา
9

13
พสธ.8 (พิเศษอายุรกรรม) , ศท.8
5
1.95
สดย.3
7

14
สงฆ์, ICU ศัลยกรรม, ICU เด็ก
3
1.17
สดย.4 , สงฆ์, พสธ.5 (พิเศษเด็ก)
6

15
พสธ.7 (พิเศษศัลยกรรม) , ตา, สูติ-นรีเวช
2
0.78
ICU อายุรกรรม
3

16
ICU อายุรกรรม
1
0.39
ICU ศัลยกรรม, ICU เด็ก, ทารก
1



ทบทวนความเสี่ยง เพื่อการป้องกันเชิงระบบ


      เกิดความคลาดเคลื่อน ในการจ่ายยา  โดยเป็นผู้ป่วย หญิงไทย อายุ 52 ปี แพทย์ได้สั่งยา Fluconazole 1x1  ผู้พิมพ์ ผู้ตรวจสอบรายการยา ผู้จ่ายยา อ่านเป็น Flunarizine 1x1 จึงจ่ายยาเป็น flunarizine ให้กับผู้ป่วย

ใบสั่งยาที่จ่ายยาผิด



แพทย์สั่งยา Fluconazole ห้องยา อ่านเป็น flunarizine


ตัวอย่างใบสั่งยาที่แพทย์สั่ง fluconazole



ตัวอย่างใบสั่งยาที่แพทย์สั่ง flunarizine




การป้องกันการเกิดซ้ำ


     จากตัวอย่างใบสั่งยาข้างต้น พบว่ายาทั้งสองชนิด คือ fluconazole และ flunarizine มีชื่อยาคล้ายกัน หากไม่ตรวจสอบอย่างละเอียด อาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้
     จึงได้นำตัวอย่างใบสั่งยา มาทบทวนภายในกลุ่มงาน  ให้ผู้ปฏิบัติงานสังเกต ทราบถึงความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้น และเฝ้าระวังคู่ยาดังกล่าว เพื่อป้องกันการเกิดความผิดพลาดในการจ่ายยาผิดชนิดต่อไป ซึ่งในขณะนี้กำลังติดตามความคลาดเคลื่อนของยาคู่นี้ ยังไม่พบความคลาดเคลื่อนอีก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560