pharma news 1 oct 2012

PHARMA NEWS

ฉบับประจำวันที่ 1 ตุลาคม 2555

 

ข่าวจากฝ่ายเภสัช

    

 เอกสารประกอบการนำเสนอในกิจกรรมสัปดาห์ความปลอดภัยในระบบยา     ระหว่างวันที่ 21-24 สิงหาคม 2555   สามารถ download เอกสาร ได้ที่ facebook ของกลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลพุทธโสธร ตาม link ด้านล่าง

http://dispharm.blogspot.com/2012/08/21-24-2555-2-21-2555-1.html?spref=fb

 

 เปลี่ยนแปลงยา

1. เปลี่ยนแปลงรูปแบบยา Aluminium Hydroxide จากเดิม  Aluminium Hydroxide Gel เปลี่ยนเป็นรูปแบบยาเม็ด คือ Aluminium  Hydroxide Tablet 500 mg 



Aluminium Hydroxide tablet





 

2.เปลี่ยนแปลงความแรงยา 

ACTOS® (Pioglitazone) จากเดิม ขนาด 15 mg เปลี่ยนเป็นขนาด 45 mg  ซึ่งเป็นยาของบริษัท เดิม คือ ทาเคดา ฟาร์มาซูติคัล จำกัด โดย ACTOS® (Pioglitazone) ขนาด 45 mg 1 แผง จะมียาทั้งหมด 14 เม็ด

 

ยาเดิม Pioglitazone 15 mg










ยาใหม่ Pioglitazone 45 mg

 

ข้อมูลยา

 ACTOS® 45 ในยา 1 เม็ดประกอบด้วย pioglitazone 45 mg

ข้อบ่งใช้ : เป็นยารักษาโรคเบาหวานชนิดรับประทาน ประเภท ไม่พึงอินซูลิน หรือ ชนิดที่ 2 (NIDDM,Type 2)

ขนาดรับประทาน : เริ่มต้น ที่ 15 mg วันละ หนึ่งครั้ง โดยที่ขนาดยาสูงสุดสามารถให้ได้ไม่เกิน 45 mg 

ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยา, ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว NYHA class III หรือ IV ที่ไม่เคยใช้ยานี้มาก่อน

อาการข้างเคียง : ปวดศรีษะ, ปวดกล้ามเนื้อ, ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน,ไซนัสอักเสบ, หลอดลมอักเสบ, tooth Disorder, สภาวะโรคเบาหวานแย่ลง,บวมน้ำ

 

ความรู้คู่ยา


แพทย์ ชี้ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกป้องกันได้ 70 % แนะการป้องกันที่ดีที่สุดคือการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และควรได้รับการตรวจแปปสเมียร์เป็นประจำ
 
     นายแพทย์ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดเผยว่า โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในสตรีไทย  ถึงแม้ว่าการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูก ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งอย่างเหมาะสมและทันเหตุการณ์ จะทำให้สามารถลดอุบัติการณ์และอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ก็ตาม แต่ยังมีสตรีอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่เคยตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกเลย ขณะนี้นักวิจัยได้คิดค้นและพัฒนาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก การติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแปปปิโลมาหรือที่เรียกว่า HPV ไวรัสตัวนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุปากมดลูกเรื้อรังจน กลายเป็นมะเร็งในที่สุด
    วัคซีนที่ผลิตขึ้นซึ่งจำหน่ายในปัจจุบันสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากเชื้อไวรัส HPV ชนิด 16 และ ชนิด 18 เท่านั้น แต่ไวรัสทั้ง 2 ชนิดเป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลืออีก 30 เปอร์เซ็นต์ วัคซีนอาจจะใช้ไม่ได้ผล เนื่องจากยังมีเชื้อไวรัส HPV ชนิดอื่นที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว วัคซีนที่จำหน่ายอยู่ในขณะนี้ยังไม่สามารถผลิตจากเชื้อไวรัสที่ก่อเกิด มะเร็งนอกเหนือจาก ชนิด 16 และ ชนิด 18 ได้ นอกจากนี้มะเร็งปากมดลูกอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วย สำหรับการฉีดวัคซีนโรคมะเร็งปากมดลูกให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพควรฉีดก่อนการ มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก
       แต่อย่างไรก็ตามการฉีดวัคซีนป้องกัน การติดเชื้อ HPV ไม่ใช่วัคซีนที่ใช้ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกที่ได้ผล 100เปอร์เซ็นต์ การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยไม่เปลี่ยนคู่นอน ไม่มีคู่นอนหลายคน และสตรีเมื่ออายุครบ 35, 40, 45, 50, 55 และ 60 ปี ควรตรวจแปปสเมียร์เพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรกและระยะก่อนเป็นมะเร็ง ตามที่กรมการแพทย์ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รณรงค์อยู่ และแนะนำให้สตรีที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกแล้ว 3 ปี หรืออายุไม่เกิน 21 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจแปปสเมียร์เป็นประจำ




















 

ทบทวนความเสี่ยง 

เดือน กันยายน 2555 มีรายงานความเสี่ยง ในการจ่ายยาผู้ป่วยสลับคน 2 ครั้ง

Case I เป็นผู้ป่วยหญิงไทย เรียกรับยาที่ช่องรับยา ฟังคำอธิบายยาที่ช่องหมายเลข 7   หลังจากนั้นได้ส่งผู้ป่วยไปชำระเงินที่ห้องชำระเงิน หลังจากชำระเงินแล้ว ผู้ป่วยไม่กลับมารับยาที่ช่องหมายเลข 7 ดังเดิม แต่ได้มายื่นรับยาที่ช่องหมายเลข 4 เภสัชกรไม่ได้ถามทวนชื่อผู้ป่วย ได้ส่งยาของผู้ป่วยคนอื่นให้ไป

Case II  ผู้ป่วยเด็กหญิงไทย ได้รับยา ผิดคนไป โดยจ่ายยาของผุ้ป่วยอีกคนให้ไป

การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น หลังจากที่ทราบว่าได้มีการจ่ายยาผู้ป่วยผิดคนไป ได้ทำการติดตามผู้ป่วยทันที สามารถติดตามผู้ป่วยได้ทั้งสองราย และแก้ไขโดยจ่ายยาที่ถูกต้องให้กับผู้ป่วย โดยที่ผู้ป่วยที่ได้รับยาผิดนั้นยังไม่ได้ใช้ยา 

การแก้ไขเชิงระบบ                

ได้ทำการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น  พบว่า การเกิดความคลาดเคลื่อนนี้ เกิดจากสาเหตุเดียวกันคือ เกิดหลังจากที่ได้ส่งผู้ป่วยไปติดต่อแผนกอื่น  เมื่อผู้ป่วยกลับมารับยาอีกครั้ง ไม่ได้มีการสอบทวนเพื่อระบุตัวผู้ป่วยซ้ำ ทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้น เมื่อทบทวนรายงานอุบัติการณ์ในกรณีที่ผู้ป่วยที่มารับยาโดยที่ไม่ได้ไปติดต่อแผนกอื่น แล้วกลับมารับยา ยังไม่พบการจ่ายยาให้ผู้ป่วยผิดคน

จึงได้แจ้งให้เภสัชกร ผู้ที่จ่ายยาทุกคน ปฏิบัติตามแนวทางในการระบุตัวผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด ก่อนที่จะจ่ายยาให้กับผู้ป่วย  รวมถึงกรณีที่ผู้ป่วยกลับมารับยาหลังจากที่ไปติดต่อรับบริการที่แผนกอื่นด้วย

 


 

 

 

 

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560