1 november 2012

 PHARMA NEWS
ฉบับประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555

 ข่าวจากฝ่ายเภสัช

 มีการเปลี่ยนแปลงรายการยาที่จำหน่ายในโรงพยาบาลดังนี้

1. Insulin  NPH เปลี่ยนบริษัทเป็น INSUGEN - N (NPH)



INSULIN NPH  แบบเดิม



INSULIN NPH แบบใหม่


2. INSULIN MIXTARD เปลี่ยนบริษัทเป็น INSUGEN - 30/70(Biphasic)


INSULIN MIXTARD แบบใหม่




3. Calamine Lotion เปลี่ยนบริษัทเป็น บริษัท พรอส ฟาร์มา จำกัด

CALAMINE LOTION แบบเดิม



 
CALAMINE LOTION แบบใหม่




4. CEFSPAN 100 mg เปลี่ยนบริษัทเป็น บริษัทสยาม


CEFIXIME ( CEFSPAN) แบบเดิม






CEFIXIME แบบใหม่



ผลการดำเนินงาน Medication Reconciliation

     กลุ่มงานเภสัชกรรม ได้มีการเก็บข้อมูล การดำเนินงาน medication reconciliation โดยนำยาเดิมของผู้ป่วยกลับมาใช้กับผู้ป่วยรายรายนั้น ระหว่างที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล 

 ผลการดำเนินงาน

เดือน กันยายน 2555
 
จำนวนใบสั่งยาที่มีการ reconcile     208       ใบ

ปริมาณยาเม็ด                                  10,694   บาท

ปริมาณยาพ่น                                   32         หลอด

ปริมาณยาน้ำ                                    790       ซีซี
มูลค่ายาที่ประหยัดได้                       55,479   บาท










เดือน ตุลาคม  2555
 
จำนวนใบสั่งยาที่มีการ reconcile    192 ใบ
ปริมาณยาเม็ด 11,601 เม็ด
ปริมาณยาพ่น 22 หลอด
ปริมาณยาน้ำ 970 ซีซี
มูลค่ายาที่ประหยัดได้ 55,201 บาท


จากผลการดำเนินงาน ในเดือน กันยายน ถึง เดือน ตุลาคม 2555 จากการทำ medication reconciliation ในแผนก ผู้ป่วยใน  

โรงพยาบาล สามารถประหยัดค่ายา ได้เป็นจำนวนเงิน  110,680 บาท





 ความรู้คู่ยา 

สามโรครักษาได้โดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ

แผลเลือดออก

     ถ้าแผลไม่สัมผัสสิ่งสกปรก ขอบเรียบ ล้างแผลอย่างถูกวิธี และสุขภาพเราแข็งแรงดี เช่น ไม่เป็นเบาหวาน ก็ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ที่สำคัญอย่าให้แผลโดนน้ำ (อย่างน้อย 3 วัน หรือตามหมอสั่ง) รักษาบริเวณแผลให้สะอาด ไปทำแผลตามนัด หรือทำแผลเองอย่างถูกวิธี เพียงแค่นี้ แผลก็หายเองได้
     ในคนสุขภาพแข็งแรงดี  ยาปฏิชีวนะไม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ และไม่ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น  การรักษาความสะอาดของแผลให้ดี ก็เพียงพอที่จะทำให้แผลหายได้ แต่ถ้าแผลบวมอักเสบ ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที

 เป็นหวัด เจ็บคอ ต้องกินยาปฏิชีวนะไหม ?

     ไม่ต้องกิน หลายคนคิดว่าเป็นหวัด หรือเจ็บคอแล้วต้องกินยาปฏิชีวนะ จริงๆแล้วเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะหวัดเกิดจากเชื้อไวรัส แต่ยาปฏิชีวนะเอาไว้ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การกินยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสจึงไม่ถูกต้อง แถมยังทำให้เปลืองเงิน เสี่ยงต่อการแพ้ยา และก่อปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาด้วย
     การรักษาโรคหวัดที่ดีที่สุดคือ ต้องทำให้ภูิมิคุ้มกันของร่างกายเราแข็งแรงขึ้น โดยการพักผ่อนมากๆ ทำร่างกายให้อบอุ่น  และกินอาหารที่มีประโยชน์ เพราะภูมิคุ้มกันของร่างกายเรามีบทบาทสำคัญที่สุดในการกำจัดเชื้อไวรัสหวัด ยาปฏิชีวนะไม่ช่วยบรรเทาอาการ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ไอ จาม ปวดหัว ครั่นเนื้อครั่นตัว หากรำคาญอาการดังกล่าว อาจจะปรึกษาแพทย์ เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมเพื่อที่จะบรรเทาอาการนั้น

ท้องเสีย

     ยาปฏิชีวนะใช้ได้ผลกับการอาการท้องเสียที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ท้องเสียจากสาเหตุอื่น เช่นติดเชื้อไวรัส หรืออาหารเป็นพิษ ยาปฏิชีวนะใช้ไม่ได้ผล
     อาการท้องเสียจากแบคทีเรียพบน้อยมาก (ท้องเสีย 100 คน ติดเชื้อแบคทีเรียแค่ 5 คนเท่านั้น ) การกินยาปฏิชีวนะทุกครั้งที่ท้องเสียจึงเปลืองเงิน เสี่ยงต่อการแพ้ยา และก่อให้เกิดปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาด้วย
     วิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือ ดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อทดแทน น้ำและเกลือแร่ที่เสียไป ควรกินอาหารอ่อนๆ เช่นโจ๊ก หรือข้าวต้ม งดอาหารรสจัดหรือย่อยยาก และไม่ควรดื่มนม ที่สำคัญคืออาการท้องเสียป้องกันได้ โดยกินอาหารสุกใหม่ ดื่มน้ำสะอาด และล้างมือก่อนกินอาหาร

ผลเสียจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม

  จน    โรคบางอย่างหายได้เอง ไม่ต้องเสียเงินซื้อยา ทำให้สิ้นเปลือง จึงไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง

แพ้      การใช้ยาปฏิชีวนะอาจเกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นใส้ ท้องเสีย มีผื่นคัน หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต จึงไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อ

ดื้อยา     ถ้าเชื้อแบคทีเรียดื้อยาทำให้ต้องกินยาปฏิชีวนะที่อันตรายมากขึ้น แพงขึ้น 

ทบทวนความเสี่ยง


     เดือน ตุลาคม 2555 มีรายงานความเสี่ยง ที่มีสาเหตุจากการเขียนคำสั่งด้วยลายมือที่ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการคัดลอกคำสั่งใช้ยา รายละเอียดดังนี้
   ผู้ป่วยหญิงไทย  มารับการตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก มียาที่รับประทานเป็นประจำคือ Isordil 10 mg 1x2 ac   
   เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2555 แพทย์ได้สั่งยา  Isordil 10 mg 1x2  ดังใบสั่งยาด้านล่าง



    ก่อนจ่ายยา เภสัชกรได้ตรวจสอบประวัติการรับยาก่อนหน้า พบว่า ประวัติการรับยา วันที่ 5 สิงหาคม 2555 ผู้ป่วยไม่ได้รับการสั่งยา Isordil 1x2 แต่ได้รับการสั่งยา Inderal 10 mg 1x2 pc แทน จึงสงสัยว่าจะเกิดความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาผิดชนิด จึงติดตามใบสั่งยา ในวันที่ 5 สิงหาคม 2555 เป็นดังนี้



      พบว่าเกิดความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาขึ้น โดย ในวันที่ 5 สิงหาคม 2555 ผู้ป่วยไม่ได้รับยา Isordil 10 mg 1x2 ac แต่กลับได้รับการสั่งยา Inderal 10 mg 1x2 ไปแทน เมื่อสอบถามผลการกินยาจากผู้ป่วย ผู้ป่วยแจ้งว่าไม่เกิดความผิดปรกติใดๆ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560