16 november 2012

 PHARMA NEWS

 ฉบับประจำวันที่ 16  พฤศจิกายน 2555

   

ข่าวจากฝ่ายเภสัช

 มีการเปลี่ยนแปลงรายการยาที่จำหน่ายในโรงพยาบาลดังนี้

1. NATEAR EYE DROP 10 ml/bott

 ข้อบ่งใช้ :
  • ใช้เป็นน้ำตาเทียม ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตา
  •  ใช้สำหรับบรรเทาอาการระคายเคืองของตาซึ่งเกิดจากลม แสงแดด หรือสารระคายเคืองอื่นๆ
  • ใช้บรรเทาอาการระคายเคืองของตา หรือบรรเทาอาการตาแห้ง
  • ใช้บรรเทาอาการระคายเคืองของตา ในผู้ที่สวมคอนแทคเลนส์ และผู้ที่จ้องมองจอคอมพิวเตอร์ หรืออ่านหนังสือเป็นเวลานานๆ
ส่วนประกอบ :  
  • Hydroxypropyl methylcellulose USP 0.3 % 
  • มี sodium perborate เป็น disappearing preservative เมื่อหยอดตา สารนี้จะสลายเป็น hydrogen peroxide และสลายต่อเป็น oxygen และน้ำอย่างรวดเร็ว
ขนาดและวิธีใช้ :
  • หยอดตาครั้งละ 1-2 หยด วันละ 2-3 ครั้ง หรือเมื่อรู้สึกปวดตา (ขณะหยอดตาระวังอย่าให้ปลายขวดถูกกับตา)
  • หยอดยา 2- 3 หยด บนคอนแทคเลนส์ก่อนใส่เลนส์เข้าตาเพื่อลดอาการระคายเคืองจากคอนแทคเลนส์
ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยาและส่วนประกอบของยานี้

ข้อควรระวัง :
  • ควรทิ้งน้ำยาที่เหลือไปหลังจากเปิดขวดใช้แล้ว 1 เดือน ห้ามใช้หลังวันหมดอายุ
  • อย่าให้ปลายขวดถูกต้องกับสิ่งอื่น ซึ่งรวมถึงตาด้วยเพราะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของยา


ยาใหม่

2. IRBESARTAN 300 MG (IRBENOX ®) 

เป็นยา ที่นำเข้าบัญชียาโรงพยาบาลแทน APROVEL ®

ข้อบ่งใช้ :
  • รักษาโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ทราบสาเหตุ
  • ชะลอความเสื่อมของโรคไตในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานชนิดที่ 2
ส่วนประกอบ :
  • ในยา 1 เม็ด ประกอบด้วย Irbesartan ขนาด 300 mg
ขนาดยา :
  • เริ่มการรักษาด้วยยา ขนาด 75 mg วันละครั้ง
  • ขนาดยาแบบประคับประครองคือ 150-300 mg วันละครั้ง
ข้อห้ามใช้ :
  • ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยา Irbesartan รวมทั้งส่วนประกอบใดๆของยา
  • ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 และ 3
  • ห้ามใช้ในผู้ที่ให้นมบุตร



ยาเดิม



ยาใหม่



ความรู้คู่ยา

โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้ปรับปรุง แนวทางในการฉีดวัคซีน ป้องกันพิษสุนัขบ้า โดยแนวทางเป็นดังนี้ 

 การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัส

1. การฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular,IM) ฉีดวัคซีน 1 มล. หรือ 1 โด๊ส ในวันที่ 0,3,7,14,28 เข้ากล้ามเนื้อต้นแขน (Deltoid) หรือถ้าเป็นเด็กเล็กฉีดเข้ากล้ามเนื้อขาด้านนอก 
2. การฉีดวัคซีนเข้าในหนัง (Intradermal,ID) ฉีดวัคซีนจุดละ 0.1 ml เข้าในหนังบริเวณต้นแขนซ้าย และขวาข้างละ 1 จุด ในวันที่ 0,3,7,28

     ข้อแนะนำในการฉีดเข้าในหนัง

1. วิธีฉีดเข้าในหนังควรปฏิบัติในสถานที่บริการที่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์ควบคุมระบบลูกโซ่ความเย็นที่ดี มีบุคลากรที่ได้รับการฝึกให้ฉีดเข้าในหนังได้ถูกต้อง
2. การฉีดวัคซีนเข้าในหนังไม่ควรใช้กับผู้สัมผัสโรคที่อยู่ระหว่างการกินยา chloroquin เพื่อป้องกันโรคมาเลเรียหรือสารอื่นๆที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันหรือมีการติดเชื้อ HIV ที่อาจจะกดระบบการสร้างภูิมิคุ้มกัน
3. วัคซีนที่ผสมแล้วต้องเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส และควรใช้ภายใน 8 ชั่วโมง เพื่อให้วัคซีนยังคงคุณภาพสูงสุด

การฉีดในกรณีที่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน   

(Re-Exposure Immunization)

     ผู้สัมผัสโรคที่เคยได้รับวัคซีนเซลล์เพาะเลี้ยง โดยได้รับวัคซีนหลังสัมผัสโรคครบชุดหรืออย่างน้อย 3 ครั้ง ในวันที่ 0,3,7 หรือได้รับวัคซีนป้องกันล่วงหน้าครบ 3 เข็ม หรือเคยตรวจเลือดพบภูมิคุ้มกันสุงกว่า 0.5 IU/ml ให้ล้างและรักษาบาดแผล และฉีดวัคซีนดังนี้

สัมผัสโรคภายใน 6 เดือน       : ให้ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ ครั้งเดียวในวันแรก     หรือในหนัง1 จุด ในขนาด 0.1 ml ครั้งเดียวในวันแรก

สัมผัสโรคหลังจาก6เดือนขึ้นไป     :  ให้ฉีด 2 ครั้งในวันที่ 0 และ 3 แบบเข้ากล้ามเนื้อ หรือ   ในหนัง

ทบทวนความเสี่ยง เพื่อการป้องกันเชิงระบบ


มีรายงานอุบัติการณ์ การจ่ายยาผิดชนิด รายละเอียด เป็นดังนี้
 ผู้ป่วยหญิงไทย มาพบแพทย์ ด้วยอาการท้องเสีย แพทย์สั่งยา ดังตัวอย่างใบสั่งยาด้านล่าง



ใบสั่งยาที่เกิดความคลาดเคลื่อน


     รายการยาลำดับที่ 5 แพทย์สั่งยา Diazepam 5 mg รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน ซึ่งแพทย์ได้เขียนด้วยลายมือที่ชัดเจน แต่ผู้พิมพ์รายการยา อ่านเป็นยา dimenhydrinate จึงพิมพ์เป็นยา dimenhydrinate ผู้จัดยา ผู้ตรวจสอบยา ผู้จ่ายยา ไม่สามารถคัดกรองความผิดพลาดได้ จึงจ่ายยาให้กับผู้ป่วยผิดชนิดไป
     ต่อมาผู้ป่วยซึ่งเป็นบุคลากรในโรงพยาบาล ได้กลับมาสอบถามที่ห้องยา จึงพบว่าเกิดความคลาดเคลื่อนขึ้น จึงได้แก้ไขโดยเปลี่ยนยาที่ถูกต้องให้กับผู้ป่วย
     ผลกระทบที่เิกิดกับผู้ป่วย เป็นระดับ C  คือ มีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น แต่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย ถึงแม้ว่าความคลาดเคลื่อนนั้นจะไปถึงผู้ป่วยแล้ว

    การแก้ไขเชิงระบบ

     เมื่อทำการวิเคราะห์ทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน พบว่า ยา diazepam และ ยา dimenhydrinate เป็นยาที่มีชื่อยาที่คล้ายกัน (Sound alike) คือเขียนขึ้นต้นด้วย di เหมือนกัน และยังมีลักษณะของเม็ดยาคล้ายกัน คือเป็นเม็ดยารูปทรงกลม และมีสีเหลืองเหมือนกัน (Look alike) 


Diazepam 5 mg

Dimenhydrinate


จึงได้เน้นให้มีการเฝ้าระวัง ยาคู่นี้เป็นพิเศษ  ตั้งแต่ผู้ พิมพ์ยา ผู้ตรวจสอบยา และผู้จ่ายยาขณะนี้ได้ทำการติดตามความคลาดเคลื่อน พบว่ายังไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำ





     
    

 







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560