16 dec 2012


PHARMA NEWS

 ฉบับประจำวันที่ 16 ธันวาคม  2555


ข่าวจากฝ่ายเภสัช



มีการเปลี่ยนแปลงรายการยา  1 รายการ คือ

 1. Domperidone syrup 



ยาเดิม



ยาใหม่
       
                เนื่องจากยาจากบริษัทเดิม  มีชื่อการค้าว่า DOPERAN  
บางล็อท ซึ่งผลิตโดย บริษัท L.B.S. LABORATORY LTD., PART. , มีการพบตะกอนนอนที่ก้นขวด จึงได้มีจัดซื้อยา จากบริษัทใหม่  มีชื่อการค้า คือ DANY ผลิตโดยบริษัท สยามเมดิแคร์ จำกัด 

 

ผลการดำเนินงานกิจกรรม  ถุงผ้า 

 

     ในปีประมาณ 2554 จนถึง ปัจจุบัน กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้จัดกิจกรรม มอบถุงผ้าใส่ยา ให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง และต้องมาพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง  โดยส่งมอบยาใส่ลงในถุงผ้า และอธิบายให้ผู้ป่วยนำยาที่เหลือทั้งหมดใส่ลงในถุงผ้า เมื่อมารับยาครั้งต่อไป เมื่อผู้ป่วยมารับยาพร้อมกับยาที่เหลือในถุงผ้า  เจ้าหน้าที่จะนำยาเดิมที่เหลือมาตรวจสอบสภาพและวันหมดอายุ  หากยามีสภาพที่ดี  จะนำยาเดิมกลับมาใช้กลับผู้ป่วยคนเดิม โดยหักลบยาเดิมจากยาที่แพทย์สั่ง  ทำให้โรงพยาบาลสามารถประหยัดค่ายาได้ และลดการใช้ถุงพลาสติก อีกด้วย ผลการดำเนินการ เป็นดังนี้ 

 

                                                        ตุลาคม                พฤศจิกายน

ผู้ป่วยนอก  

  จำนวนผูป่วย (ราย)                        459                            379

  มูลค่ายาที่ประหยัด (บาท)         118,797.32       138,384.29

ผู้ป่วยใน

  จำนวนใบสั่งยา (ใบ)                       192                             169

  มูลค่ายาที่ประหยัด (บาท)           55,201                     37,240     

รวมมูลค่ายาที่ประหยัด  (บาท)     349,622.61                    

 

 

 

 

 

    ความรู้คู่ยา

 


การหักแบ่งเม็ดยา

     การหักแบ่งเม็ดยา เป็นแนวทางหนึ่ง ในการบริหารยาเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาในขนาดที่เหมาะสม แต่การหักแบ่งเม็ดยาที่ไม่ถูกต้อง อาจก่อให้เกิดปัญหาในแง่ของประสิทธิผลในการรักษา ผลข้างเคียง และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย จึงจำเป็นที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในการหักแบ่งเม็ดยา  ต้องมีการใช้ทักษะที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความสม่ำเสมอของน้ำหนัก และปริมาณของตัวยาสำคัญของเม็ดยาที่หักแบ่ง

วัตถุประสงค์ของการหักแบ่งเม็ดยา

1. เพื่อให้ได้ขนาดยาที่เหมาะสม การที่ไม่มียาเม็ดในขนาดความแรงที่ต้องการจำหน่ายในท้องตลาด ทำให้ผู้ป่วย ต้องใช้การหักแบ่งเม็ดยาที่มีความแรงสูงกว่า เพื่อให้ได้ขนาดยาที่ต้องการ

2. แพทย์ต้องการปรับขนาดยา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาสูงสุด หรือควบคุมขนาดยาให้เกิดผลข้างเคียงที่น้อยที่สุด

      ข้อควรพิจารณาในการหักแบ่งเม็ดยา

1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวยาและสูตรตำรับ รูปแบบยาเม็ดที่ผลิตออกมามีการใช้เทคโนโลยีต่างๆในการควบคุมการปลดปล่อยตัวยาเข้าสู่ร่างกาย ยาเม็ดบางชนิดที่มีรูปแบบการปลดปล่อยยาที่พิเศษ ไม่สามารถหักแบ่งเม็ดยาได้ การที่จะพิจารณาว่ายาตัวใดสามารถหักแบ่งได้หรือไม่ให้ดูที่เอกสารกำกับยาชนิดนั้นๆ  หรือสอบถามเภสัชกร

2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย

     ความสามารถในการหักแบ่งเม็ดยา      จำเป็นต้องอาศัยทักษะและความชำนาญ เพื่อให้สามารถหักแบ่งเม็ดยาได้เท่ากันและสม่ำเสมอ ในผู้ป่วยสูงอายุ เด็ก ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิต ควรจะมีผู้ดูแล ช่วยเหลือในการหักแบ่งยา ต้องมีการทำความเข้าใจ สอนทักษะ ให้คำแนะนำ และประเมินผลอย่างใกล้ชิด

     ความร่วมมือในการบริหารยาของผู้ป่วย    ผู้ป่วยบางรายรู้สึกว่า การหักแบ่งเม็ดยาเป็นเรื่องยุ่งยาก จึงงดรับประทานยา หรือรับประทานยาเต็มเม็ดไปเลย ทำให้ได้รับยาในขนาดที่ไม่ตรงกับที่แพทย์สั่ง เภสัชกรต้องทำความเข้าใจกับผู้ป่วย

     เครื่องมือช่วยในการตัดแบ่งเม็ดยา     เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการหักแบ่งเม็ดยาด้วยมือ สามารถตัดแบ่งเม็ดยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในเม็ดยาที่มีขนาดเล็กมากๆ พบปัญหาเม็ดยาแตก และได้ผลไม่ดีเท่ากับเม็ดยาที่มีขนาดใหญ่

3. ไม่ควรมีการหักแบ่งเม็ดยาไว้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากจะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องความคงตัวของยาที่หักแบ่ง ความกร่อนของยา การแตกหักของยา การดูดความชื้น และอายุของยาที่หักแบ่ง

     การหักแบ่งเม็ดยา ย่อมก่อให้เกิดผลดีในแง่ของผลการรักษา ลดผลข้างเคียงของยา และลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย ในเงื่อนไขที่ผู้ป่วยสามารถหักแบ่งเม็ดยาได้อย่างถูกวิธี มีน้ำหนักและปริมาณตัวยาสำคัญครบถ้วน ทั้งนี้การตัดสินใจที่จะหักแบ่งเม็ดยาชนิดใด ต้องปฏิบัติบนพื้นฐานของความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับรูปแบบต่างๆของยาเม็ด ว่าสามารถหักแบ่งเม็ดยาดังกล่าวได้หรือไม่ รวมถึงพิจารณาความสามารถในการหักแบ่งเม็ดยาของผู้ป่วย  วิธีการหักแบ่งเม็ดยา และการให้คำแนะนำของเภสัชกร เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดทักษะในการหักแบ่งเม็ดยาได้อย่างถูกต้อง

 

 


  

 

 

ทบทวนความเสี่ยง

       

       พบความคลาดเคลื่อนในการสั่งยา การจ่ายยา เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงความแรงของยา รายละเอียดเป็นดังนี้

     ผู้ป่วย รายหนึ่ง มีโรคประจำตัวคือ โรค พาร์คินสัน มีประวัติรับประทานยา  Levomed  ครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร 

     ผู้ป่วยมาตรวจเพื่อมาขอรับยาเดิม  แพทย์สั่งยา เดิม คือ Levomed 2x3  ดังตัวอย่างใบสั่งยา 



 

 

     เนื่องจากได้มีการเปลี่ยนแปลงยาโดยตัดยา  Levomed  คือยา  Levodopa 1oo mg./cabidopa 25 mg. ออกจากบัญชียาโรงพยาบาล และนำยา Vopar ซึ่ง คือยา Levodopa 200 mg./benzerazide 50 mg. เข้ามาแทน โดยที่ยาใหม่มีความแรงมากกว่ายาเดิม  1 เท่า



ยาใหม่



ยาเดิม

      

 

     เภสัชกรจึงได้ยืนยันคำสั่งกับแพทย์  มีการแก้ไขคำสั่งโดยแก้ไขชื่อยา แต่ไม่ได้ลดวิธีการกินยาลง   และเภสัชกรก็จ่ายยาตามใบสั่งยา โดยไม่ยืนยันการสั่งยากับแพทย์ซ้ำ ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาที่มีความแรงมากกว่าเดิม 1 เท่า

การแก้ไข

1. ติดตามผู้ป่วย แจ้งผู้ป่วยให้กินยาใหม่ เป็น Vopar 1x3 pc.

2. ทบทวนในหน่วยงาน แจ้งเจ้าหน้าที่ และ เภสัชกรให้ตรวจสอบประวัติการกินยาของผู้ป่วยทุกครั้งที่มีการสั่งยา Levomet

3. บันทึกข้อมูลติดตามผู้ป่วย ในระบบคอมพิวเตอร์  พร้อมประเมินว่าผู้ป่วยเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยาหรือไม่ ซึ่งขนาดยาที่ได้รับ ยังไม่เกินขนาดยาสูงสุดที่กำหนดไว้

_______________________________________

 

                  


 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560