16 january 2013

PHARMA NEWS

 ฉบับประจำวันที่ 16 มกราคม  255ุ6


ข่าวจากฝ่ายเภสัช




มีการเปลี่ยนแปลงรายการยา ดังนี้

1. Ampicillin injection 1 g.
เปลี่ยนการจัดซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรม มาเป็นของบริษัท นิด้า ฟาร์มา อินคอร์ปอเรชัน จำกัด


ยาเดิม

 
ยาใหม่



2.  BOTULINUM TOXIN TYPE A INJECTION 100 IU (BOTOX)  เป็นยาบัญชี จ.2 เบิกเฉพาะรายผ่าน VMI  (ใช้ในกรณีรักษาโรคเท่านั้น ไม่ให้ใช้ในข้อบ่งใช้ที่เป็นการลดริ้วรอยบนใบหน้า)





ข้อบ่งใช้ยา

- ใช้ในการรักษาอาการของโรค blepharospasm ที่สัมพันธ์กับ dystonia รวมถึง benign essential blepharospasm, hemifacial spasm หรือ VII Nerve disorder ในผู้ป่วยอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 12 ปี
- ใช้ในการแก้ไขอาการตาเหล่ ในผู้ป่วยอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 12 ปี
- ใช้ในการลดอาการของโรค Spasmodic torticollis ( Cervical dystonia) ในผู้ใหญ่
- ใช้ในการรักษา Dynamic equinus foot 


ความรู้คู่ยา



      The European Medicines Agency (EMA)  ได้มีการทบทวน ประโยชน์และโทษของการใช้ยา ที่มี แคลซิโทนิน เป็นส่วนประกอบ จากการศึกษา พบว่า เมื่อใช้ยา แคลซิโทนินในระยะเวลานาน จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง เพิ่มขึ้น 0.7-2.4 %  เมื่อเทียบกับยาหลอก

The Agency’s Committee for Medicinal Products for Human Use (CHMP)    ได้ทำข้อบ่งใช้ในการใช้ยาดังต่อไปนี้ ซึ่งจะมีการส่งต่อข้อมูลไปยังคณะกรรมมาธิการยุโรปเพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจ  

1. ประโยชน์ของยาแคลซิโทนิน ในการรักษาโรคกระดูกพรุน มีน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น  จึงแนะนำว่า ควรถอนยา แคลซิโทนิน แบบสูดพ่นเข้าจมูก ซึ่งมีข้อบ่งใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุนออกจากท้องตลาด

2. ยาแคลซิโทนิน ในรูปแบบฉีด  ยังคงสามารถใช้ยาได้ แต่ให้ใช้ยาในช่วงระยะเวลา สั้น ในข้อบ่งใช้ดังต่อไปนี้ 
- ป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกเฉียบพลันเนื่องจาก ภาวะที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เป็นเวลานานๆ โดยใช้ยา เป็นเวลาตั้งแต่  2-4  สัปดาห์  (ระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 4 สัปดาห์ )
- การรักษาโรค Paget's  ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ควรใช้ยาไม่เกิน 3 เดือน หรือ อาจจะ ขยายไปได้อีก 6 เดือน ในกรณีพิเศษ หรืออาจทำซ้ำเป็นระยะๆ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าเกิดประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงจากโทษของยา
- ส่วนการใช้ยา calcitonin ระยะสั้นเพื่อรักษาภาวะแคลเซียมในเลือดสูงในผู้ป่วยมะเร็งนั้นยังไม่ได้ระบุระยะเวลาที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ทางคณะกรรมการอาหารและยาของยุโรปจะทำการพิจารณาเรื่องนี้ต่อไป 

  บรรณานุกรม : เข้าถึงได้จาก : http://www.ema.europa.eu/ema/index.jsp?curl=pages/medicines/human/referrals/Calcitonin/human_referral_000319.jsp&mid=WC0b01ac0580024e99  [ วันที่ค้นข้อมูล : 10 มกราคม 2556 ]

    สำหรับรายการยาที่มี calcitonin เป็นส่วนประกอบ ในบัญชีรายการยา โรงพยาบาลพุทธโสธร มี 1 รายการ คือ Calcitonin-salmon nasal spray 200 iu   (MIACALCIC ®) เป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ใช้กับผู้ป่วย osteoporosis ที่มี acute pain หลัง fracture 






ผลการดำเนินงาน ถุงผ้า 


       กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้จัดกิจกรรม มอบถุงผ้าใส่ยา ให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง และต้องมาพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง  โดยส่งมอบยาใส่ลงในถุงผ้า และอธิบายให้ผู้ป่วยนำยาที่เหลือทั้งหมดใส่ลงในถุงผ้า เมื่อมารับยาครั้งต่อไป เมื่อผู้ป่วยมารับยาพร้อมกับยาที่เหลือในถุงผ้า  เจ้าหน้าที่จะนำยาเดิมที่เหลือมาตรวจสอบสภาพและวันหมดอายุ  หากยามีสภาพที่ดี  จะนำยาเดิมกลับมาใช้กลับผู้ป่วยคนเดิม โดยหักลบยาเดิมจากยาที่แพทย์สั่ง  ทำให้โรงพยาบาลสามารถประหยัดค่ายาได้ และลดการใช้ถุงพลาสติก อีกด้วย ผลการดำเนินการ เดือน ธันวาคม 2555  เป็นดังนี้ 

 

                                                                       ธันวาคม

ผู้ป่วยนอก

  จำนวนใบสั่งยา (ใบ)                                308
  มูลค่ายาที่ประหยัด (บาท)                      139,016 

ผู้ป่วยใน

  จำนวนใบสั่งยา (ใบ)                                     163                         

  มูลค่ายาที่ประหยัด (บาท)                          42,430            

รวมมูลค่ายาที่ประหยัด     181,446  บาท                     

 

ทบทวนความเสี่ยง เพื่อการป้องกันเชิงระบบ



     มีรายงานการจ่ายยาผิดชนิด ที่แผนกผู้ป่วยนอก รายละเอียดเป็นดังนี้
  ผู้ป่วยมาตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรค หลอดลมอักเสบ (pharyngitis) ได้สั่งยา ตามใบสั่งยา ด้านล่าง

ใบสั่งยา


คำสั่งยาใน แฟ้มประวัติผู้ป่วย (OPD card)
       
     ยารายการที่ 4 แพทย์สั่งยา Loratadine 1xhs  20  เม็ด ห้องยา อ่านเป็น Losartan 1xhs และได้จ่ายยา Losartan ซึ่งเป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูงให้กับผู้ป่วยไป
    ต่อมาผู้ป่วยนำยามาคืน เนื่องจากผู้ป่วยบอกว่าไม่ได้เป็นโรคความดันโลหิตสูงจึงไม่ได้รับประทานยา  ทำให้ทราบว่าห้องยาได้จ่ายยาที่ผิดไปให้กับผู้ป่วย
     ได้มีการทบทวนความผิดพลาดที่เกิดขึ้น พบว่าชื่อยาทั้งสองชนิด เขียนคล้ายกัน  วิธีการในการรับประทานยาก็คล้ายกัน หากมองไม่ละเอียด หรือเร่งรีบ จะทำให้อ่านผิดพลาดไปได้ จึงได้ประกาศเตือนในห้องจ่ายยาทุกห้องให้ระวังยาคู่นี้เมื่อมีการสั่งยา หากแพทย์สั่งยา  และเขียนชื่อยาไม่ชัดเจน ให้ตรวจสอบซ้ำอีกครั้ง หากไม่แน่ใจให้ ทวนสอบกับแพทย์อีกครั้งเพื่อยืนยันการสั่งยา




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560