1 febuary 2013

PHARMA NEWS

 ฉบับประจำวันที่ 1  กุมภาพันธ์   255ุ6


ข่าวจากฝ่ายเภสัช


มีรายการยาสมุนไพรเข้าใหม่ ในบัญชียาโรงพยาบาลดังนี้

 1. สหัสธารา

 



สรรพคุณ  :  ขับลมในเส้น, แก้โรคลมกองหยาบ

วิธีใช้  :  รับประทานครั้งละ 2-3 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

ส่วนประกอบ  :  ใน 1 แคปซูล (500 มิลลิกรัม) ประกอบด้วย โกฐก้านพร้าว, โกฐเขมา, เทียนขาว, โกฐกักกรา, รากจิงจ้อใหญ่, ว่านน้ำ, มหาหิงส์, เทียนตาตั๊กแตน, เทียนแดง, เนื้อลูกจันทร์, ดอกจันทร์, การบูร, เทียนสัตบุษย์, โกฐพุงปลา, หัสคุณเทศ, รากตองแตก, เทียนดำ, ดอกดีปลี, เนื้อลูกสมอไทย, รากเจตมูลเพลิงแดง, พริกไทยร่อน

2. เถาวัลย์เปรียง 



สรรพคุณ  :  บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

วิธีใช้  :  รับประทานครั้งละ  1-2 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

ส่วนประกอบ  :  ใน 1 แคปซูล ( 500 มิลลิกรัม ) ประกอบด้วย เถาวัลย์เปรียง  160 มก., เถาเอ็นอ่อน  80 มก., กำลังเสือโคร่ง 40 มก., แก่นขี้เหล็ก  40 มก., เม็ดพริกไทย 40 มก., ขิง 40 มก.

3. จันทน์ลีลา 






สรรพคุณ :  แก้ไข้  ตัวร้อน  แก้ไข้เปลี่ยนฤดู

วิธีใช้ : รับประทานครั้งละ 2-4 แคปซูล วันละ  4 ครั้ง ก่อนอาหาร

ส่วนประกอบ  :  ใน 1 แคปซูล ( 500 มิลลิกรัม ) ประกอบด้วย โกฐสอ, โกฐเขมา, โกฐจุฬาลัมพา, จันทน์ขาว, จันทน์แดง, ลูกกระดอม, บอระเพ็ด, รากปลาไหลเผือก, พิมเสน

4. ประสะไพล




สรรพคุณ  :  แก้ประจำเดือนมาไม่ปรกติ , ขับน้ำคาวปลา
วิธีใช้  :  
- ประจำเดือนมาไม่ปรกติ รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เป็นเวลา 3-5 วัน เมื่อระดูมาให้หยุดรับประทาน

- ขับน้ำคาวปลา ใช้ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง หรือให้รับประทานจนกว่าน้ำคาวปลาจะหมด แต่ไม่เกิน 15 วัน

ส่วนประกอบ :  ใน 1 เม็ด (500 มิลลิกรัม) ประกอบด้วย ผิวมะกรูด, ว่านน้ำ, กระเทียม, หัวหอม, พริกไทย, ดีปลี, ขิง, ขมิ้นอ้อย, เทียนดำ, เกลือสินเธาว์

5. บอระเพ็ด





สรรพคุณ  :  แก้ไข้, ร้อนใน

วิธีใช้  :  รับประทานครั้งละ 1-2 แคปซูล วันละ  3-4 ครั้ง

ส่วนประกอบ  :  ใน 1 แคปซูล ( 500 มิลลิกรัม) ประกอบด้วย บอระเพ็ด 300 มก., ฟ้าทะลายโจร 50 มก., ใบพิมเสน 50 มก., จันทน์แดง 50 มก., จันทร์เกศ 50 มก.,

6. ยาหอมนวโกฐตราโพธิ์ทอง



สรรพคุณ  :  แก้ลม วิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียร(ลมจุกแน่นในหน้าอก)

วิธีใช้  :  ละลายน้ำสุก รับประทานวันละ  3-4 ครั้ง ครั้งละ 5 เม็ด

ส่วนประกอบ  :  โกฐทั้ง 9 , เทียนทั้ง 9 , เกสรดอกไม้ และสมุนไพรอื่นๆ รวมทั้งสิ้น 56 ชนิด บดผสานร่วมกัน

7.  เพชรสังฆาต




สรรพคุณ   : บรรเทาริดสีดวงทวารหนัก 

วิธีใช้  : รับประทานครั้งละ   1-2  แคปซูล วันละ  3-4 ครั้ง

ส่วนประกอบ  : ใน 1 แคปซูล (500 มิลลิกรัม) ประกอบด้วย เพชรสังฆาต 200 มก., เปลือกส้มเกลี้ยง  149.4 มก.,  ฮ่วยฮวย 50 มก., โกฐกักกรา 50 มก., โกฐน้ำเต้า 50 มก.

ความรู้คู่ยา


Ondansetron กับอาการไม่พึงประสงค์ต่อหัวใจ
 
      องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (US.FDA) ได้แจ้งบุคคลากรทางการแพทย์ว่า ยา ondansetron ชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดครั้งเดียว (single intravenous) ขนาด 32 มิลลิกรัม ที่มีข้อบ่งใช้สำหรับป้องกันคลื่นใส้อาเจียนจากการได้รับยาเคมีบำบัด จะไม่มีวางจำหน่ายในท้องตลาดอีกต่อไป เนื่องจากมีผลอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อหัวใจที่ร้ายแรง ทำให้ QT interval ยาวนานขึ้น อาจเกิด  Torsade de Pointes และอาจทำให้เสียชีวิตได้
    องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา คาดการณ์ว่า  ยา ondansetron ชนิดฉีด ขนาด  32 มิลลิกรัม จะถูกนำออกจากท้องตลาดหมดในต้นปี  2013 โดยจะไม่มีผลกระทบต่อการขาดแคลนยา เนื่องจากขนาด 32 มิลลิกรัม มีจำหน่ายในปริมาณเพียงเล็กน้อยในท้องตลาดปัจจุบัน นอกจากนี้องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาแนะนำการใช้ยา ondansetron ว่าควรใช้ยาขนาด 0.15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทุก  4 ชั่วโมง จำนวน 3 คร้ัง ทั้งนี้ยา ondansetron ชนิดรับประทานยังคงมีประสิทธิภาพในการป้องกันคลื่นใส้อาเจียนจากการได้รับยาเคมีบำบัด และในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลแนะนำยาฉีดชนิดอื่นที่ฉีดเข้าเส้นครั้งเดียว ที่ใช้เป็นทางเลือกแทนยา ondansetron
     ยา ondansetron เป็นยาในกลุ่ม  5-HT receptor antagonist ใช้ป้องกันอาการคลื่นใส้และอาเจียนจากการได้รับยาเคมีบำบัด การฉายรังสีและการผ่าตัด สำหรับประเทศไทย ยา ondansetron ชนิดฉีดที่ได้รับอนุมัติทะเบียน ได้แก่ Zetron® 2 mg, Onsia® 2 mg, Ondran® 2 mg, Ondavell® 4 mg, Ondavell® 8 mg, Emistop ®, Zofran®, และ Ondansetron injection USP ® 2 mg
     ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกพบว่ายา ondansetron มีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทั้งหมด  6,790 ฉบับ โดยพบ heart block 7 ฉบับ, Torsade de pointes 40 ฉบับ และ QT prolonged 62 ฉบับ ในประเทศไทย จากฐานข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Thai VigiBase) พบว่ายา ondansetron มีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทั้งหมด 103 ฉบับ โดยไม่พบเหตุการณ์เกี่ยวกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
     สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเคยออกจดหมายข่าวเพื่อแจ้งเตือนบุคคลากรทางการแพทย์ถึงความเสี่ยงดังกล่าวแล้ว และบริษัทแกล็กโซ สมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด ผู้รับอนุญาตินำสั่งตำรับยา Zofran injection (ondansetron) ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารกำกับยาและแจ้งบุคคลากรทางการแพทย์ในประเด็นดังกล่าวแล้วเช่นกัน

เอกสารอ้างอิง
1.  http://www.fda.gov/safety/MedWatch/Safetyinformation/SafetyAlertsforHumanMedicalproducts/ucm330772.htm
2. จดหมายข่าวเรื่อง ความเสี่ยงในการเกิด Torsades de point ของยา Ondansetron injection ฉบับที่ 3/2555 วันที่ 6 กรกฎาคม 2555

ทบทวนความเสี่ยงเพื่อการป้องกันเชิงระบบ

     กลุ่มงานเภสัชกรรม ได้มีการทบทวนความเสี่ยง เรื่อง ความคลาดเคลื่อนทางยา ในกระบวนการ ความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยา (Pre-dispensing error) และ ความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา (Dispensing error)  ในปีงบประมาณ  2555  ได้มีการปรับปรุงระบบในการปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันและลดความคลาดเคลื่อนดังต่อไปนี้

 1. พบการจัดยาผิดชนิด ในคู่ยา  Glibenclamide  และ Glipizide 
การแก้ไข
- แจ้งเจ้าหน้าที่เพิ่มความระมัดระวัง
- ปรับตัวอักษร ชื่อยา ที่ฉลากยา ให้มีความต่างกัน

2. พบความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาผิดชนิด ในคู่ยา Seretide Evohaler 25/125 และ Seretide Accuhaler  50/250
การแก้ไข
- ทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติ เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อน
- ปรับระบบในการพิมพ์ยาและจ่ายยา โดย ให้วงกลมที่ความแรงยาที่จุดพิมพ์ยา ในกรณีที่ไม่ได้วงกลม ให้เภสัชกรวงกลมที่ความแรงยาอีกครั้ง เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง

 3. พบความคลาดเคลื่อนในการพิมพ์ยาที่ห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก   เป็นกลุ่ม High Alert Drug โดย แพทย์สั่งยา Hemax แต่พิมพ์เป็นยา Enoxaparin
การแก้ไข
- ทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติของยากลุ่ม High Alert  Drug ที่ห้องจ่ายยาพุทธโสธร มี 2 รายการ คือ  Enoxaparin inj.  และ Digoxin Elixir
-  ปรับระบบ โดย ให้ผู้จัดยาเซ็นชื่อ ที่ชื่อยา ในใบสั่งยา ให้เภสัชกรผู้ตรวจสอบยา หรือผู้จ่ายยา ควบคุมกำกับการปฏิบัติ โดยเมื่อพบว่าไม่มีลายเซ็นให้เรียกผู้จัดยาเซ็นชื่อให้เรียบร้อย เพื่อเพิ่มการตรวจสอบการพิมพ์ยาและความระมัดระวังในการจัดยา 

4. ความเสี่ยงในการจ่ายยา ที่มี Pseudoephedrine เป็นส่วนประกอบในตำรับยา
     จากบทเรียนความเสี่ยงที่เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลอื่นๆ ในเรื่องการนำยา Pseudoephedrine   ไปใช้ในการผลิตยาบ้า มีการลักลอบนำยาที่มี Pseudoephedrine  เป็นส่วนประกอบในตำรับยา ออกนอกโรงพยาบาล ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ นอกเหนือจากการรักษาโรค  จึงได้กำหนดจำนวนในการจ่ายยา ดังนี้
- สูตรยา Tripolidine/Pseudoephedrine (Actifed)  tablet จ่ายได้ไม่เกิน ครั้งละ 60 เม็ด
- สูตรยา Tripolidine/Pseudoephedrine (Actifed)   syrup จ่ายได้ไม่เกิน ครั้งละ 10 ขวด
- สูตรยา cetirizine/Pseudoephedrine (Zertec D)  tablet จ่ายได้ไม่เกิน ครั้งละ 30 เม็ด
     
     ในการปรับปรุงระบบเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาของกลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร เรื่องอื่นๆ จะนำมาเสนอในวารสาร PHARMA NEWS ฉบับต่อๆไป 



 

     



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560