1 march 2013

PHARMA NEWS

 ฉบับประจำวันที่ 1 มีนาคม   2556

ข่าวจากฝ่ายเภสัช


มีการเปลี่ยนแปลงรายการยาในโรงพยาบาลดังนี้

 1. Roxithromycin 150mg.

     เปลี่ยนบริษัทจากเดิม คือ บริษัท Osoth Interlab ชื่อการค้าคือ EROXADE ®  มาเป็น ของบริษัท POLI PHARM ชื่อการค้า คือ Poliroxin ®



Poliroxin ® (ยาใหม่ )



EROXADE ® (ยาเดิม)

ผลการดำเนินงาน ถุงผ้า 



       กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้จัดกิจกรรม มอบถุงผ้าใส่ยา ให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง และต้องมาพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง  โดยส่งมอบยาใส่ลงในถุงผ้า และอธิบายให้ผู้ป่วยนำยาที่เหลือทั้งหมดใส่ลงในถุงผ้า เมื่อมารับยาครั้งต่อไป เมื่อผู้ป่วยมารับยาพร้อมกับยาที่เหลือในถุงผ้า  เจ้าหน้าที่จะนำยาเดิมที่เหลือมาตรวจสอบสภาพและวันหมดอายุ  หากยามีสภาพที่ดี  จะนำยาเดิมกลับมาใช้กลับผู้ป่วยคนเดิม โดยหักลบยาเดิมจากยาที่แพทย์สั่ง  ทำให้โรงพยาบาลสามารถประหยัดค่ายาได้ และลดการใช้ถุงพลาสติก อีกด้วย ผลการดำเนินการ เดือน มกราคม 2556   เป็นดังนี้ 

 

                                                                       มกราคม  2556 

ผู้ป่วยนอก                                                         

  ผู้ป่วยรายเก่า                                            67,753.49 บาท
  ผู้ป่วยรายใหม่                                           93,146.97 บาท 
รวมมูลค่ายาที่ประหยัด                               160,900.46 บาท

ผู้ป่วยใน 

  จำนวนใบสั่งยา (ใบ)                                          158                     

  มูลค่ายาที่ประหยัด                                       50,354            บาท


รวมมูลค่ายาที่ประหยัด ในเดือน มกราคม    211,254.46  บาท    

 

 

 

 

ความรู้คู่ยา

-->
ความปลอดภัยของการใช้สารไตรโคลซาน  ในเครื่องสำอาง
         ขณะนี้ มีการเผยแพร่ข้อมูล ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ว่า     สารไตรโคลซาน(Triclosan)ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง  สามารถทำปฏิกิริยากับคลอรีน(Free chlorine)ในน้ำประปา   เกิดเป็นคลอโรฟอร์ม (Chloroform)  ซึ่ง อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้  นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวแล้ว  สรุปสาระสำคัญได้  ดังนี้  
  
1. เมื่อปี พ.ศ. 2548  มีการเผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยของ    Peter Vikesland  จาก   Virginia   Polytechnic Institute and State University  ใน   Environmental Science & Technology Online News   ระบุว่าสารไตรโคลซาน   สามารถทำปฏิกิริยากับคลอรีน   เกิดเป็นคลอโรฟอร์ม ซึ่งอาจถูกดูดซึมผ่านผิวหนัง  หรือเมื่อสูดดม เข้าสู่ร่างกาย  อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้   และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2550 นักวิจัยกลุ่มเดิมได้ทำการศึกษา วิจัยเพิ่มเติม(http://pubs.acs.org/subscribe/journals/esthag-w/2007/feb/science/ee_chloroform.html)  และพบว่า เมื่อนำผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัย(Personal hygiene products)    ทั้งที่มีส่วนผสมของไตรโคลซาน   และปราศจากไตรโคลซาน  จำนวน  16  รายการ  มาทำปฏิกิริยากับ  Free  chorine   ที่ pH 7  อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส  พบว่าผลิตภัณฑ์ที่ผสมไตรโคลซานจะก่อให้เกิดสารหลายชนิด เช่น  (chlorophenoxy)phenol , 2,4-dichlorophenol , 2,4,6- trichlorophenol  และ  chloroform    แต่ถ้าลดอุณหภูมิของน้ำลงจาก  40  องศาเซลเซียส  เป็น  30  องศาเซลเซียส     ปริมาณคลอโรฟอร์มที่เกิดขึ้นก็จะลดลงตามไปด้วย     ทั้งนี้  ผู้วิจัยได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า  สมควรมีการศึกษาวิจัย วิเคราะห์ความเสี่ยงและประโยชน์ ที่จะได้รับจากผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้   เพื่อที่ผู้บริโภค จะได้นำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ต่อไป 
 2. เนื่องจากการศึกษาวิจัยดังกล่าวเป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการ  ปฏิกิริยาที่ก่อให้เกิดเป็น คลอโรฟอร์มนั้น  ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ   เช่น    ความเข้มข้นของไตรโคลซานในผลิตภัณฑ์  ความเข้มข้นของคลอรีนในน้ำ  ความเป็นกรด-ด่าง  ระยะเวลาที่เกิดปฏิกิริยา   รวมทั้งอุณหภูมิของน้ำด้วย  ขณะนี้จึงยังไม่อาจสรุปได้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไตรโคลซาน ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค   ดังนั้น   ผู้บริโภคยังไม่ควรตื่นตระหนก เกี่ยวกับอันตรายของไตรโคลซาน ในเครื่องสำอางตามที่เป็นข่าว 

3.ไตรโคลซาน เป็นสาร ที่มีคุณสมบัติยับยั้งแบคทีเรีย (Antibacteria)     จึงนิยมใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เพื่อความสะอาดหลายชนิด   เช่น   สบู่    ครีมอาบน้ำ  ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย     ยาสีฟัน   น้ำยาบ้วนปาก   ตลอดจนน้ำยาล้างจานด้วย     โดย พบว่ามีการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ    เช่น  เป็นวัตถุกันเสีย   และเป็นสารยับยั้งแบคทีเรีย   เป็นต้น  
  
4.ขณะนี้ประเทศต่างๆ  เช่น  สหรัฐอเมริกา   แคนาดา  ญี่ปุ่น   รวมทั้งสหภาพยุโรป  และอาเซียน ยังคงอนุญาต ให้ใช้สารไตรโคลซาน เป็นส่วนผสมใน         เครื่องสำอางได้ ซึ่งเมื่อติดตามข้อมูล เกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้สารไตรโคลซานแล้วพบว่า ปัจจุบันสารนี้ยังคงมีความปลอดภัย  เมื่อนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง
5.ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ที่ผลิตและนำเข้า เพื่อจำหน่ายในประเทศไทยในขณะนี้      สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อนุญาตให้ใช้สารไตรโคลซานเป็นวัตถุกันเสียที่ความเข้มข้นไม่เกิน  0.3%  ซึ่งถือว่ามีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคตามมาตรฐานสากล  จึงขอให้ประชาชนมั่นใจในการใช้เครื่องสำอาง  อย่าได้ตื่นตระหนกกลัวตามที่เป็นข่าว





reference:เข้าถึงได้จาก http://thaihpvc.fda.moph.go.th/thaihvc/Public/Webpage/main.jsp 


ทบทวนความเสี่ยง เพื่อการป้องกันเชิงระบบ

พบความเสี่ยงเรื่องสั่งยาไม่ตรงกับ OPD card

          ผู้ป่วยรายหนึ่ง มารับยาครั้งปัจจุบัน แพทย์สั่ง losartan 1x2  เภสัชกรตรวจสอบประวัติการสั่งยา losartan ครั้งที่แล้ว ในคอมพิวเตอร์ พบว่าประวัติเดิมกินยา losartan   1x1 จึง  confirm แพทย์ว่าครั้งนี้แพทย์ต้องการปรับการกินยาหรือไม่  แพทย์แจ้งว่า ประวัติการสั่งยา ที่บันทึกใน opd card เป็น 1x2  จึงติดตามใบสั่งยามาตรวจสอบ พบว่า ประวัติการสั่งยาในวันเดียวกัน แพทย์เขียนคำสั่งยาไม่ตรงกัน คือ ใน OPD CARD สั่งยา Losartan 1x2 แต่ในใบสั่งยา สั่ง losartan 1x1 ดังภาพ


ข้อมูลการสั่งยาใน OPD CARD สั่ง losartan 1x2








ข้อมูลการสั่งยา ในใบสั่งยา สั่ง losartan 1x1 

      จึงได้มีการทบทวนความคลาดเคลื่อนในที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบยา กำหนดแนวทางแก้ไข คือ จะมีการ พิมพ์ รายการยา pre - print order ของผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง  เพื่อช่วยลดความคลาดเคลื่อนในการสั่งยา

 

            



ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560