16 march 2013
PHARMA NEWS
ฉบับประจำวันที่ 16 มีนาคม 2556
ข่าวจากฝ่ายเภสัช
วันที่
10 มิถุนายน 2556
9.00 น. – 12.00 น. พิธีเปิด และ การบรรยาย
เรื่อง การบริหารยา ที่มีความเสี่ยงสูง
โดย นพ. สันฑิติ โมรากุล คณะแพทย์ศาสตร์ รามาธิบดี
13.00
น.- 16.30 น. เยี่ยมสำรวจหอผู้ป่วยเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ ศัลยกรรมทั่วไป
8
วันที่ 11 มิถุนายน 2556
9.00
น.- 12.00 น. เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ได้แก่ หอผู้ป่วยเด็ก
13.00
น.- 16.30 น. เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก
วันที่ 12 มิถุนายน 2556
9.00
น.- 12.00 น. เยี่ยมเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ได้แก่ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 5
13.00
น.- 16.30 น. เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ งานผู้ป่วยนอก
วันที่ 13 มิถุนายน 2556
9.00
น.- 12.00 น. เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ได้แก่ หอผู้ป่วย สดย.3
13.00
น.- 16.30 น. เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ งานผู้ป่วยนอก
วันที่ 14 มิถุนายน 2556
9.00
น.- 12.00 น. เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ได้แก่ ICU อายุรกรรม
13.00
น.- 16.30 น. เวทีเสวนา การเตรียมพร้อมสู่การ Re-accredit โดย ภก.ปรมินทร วีระอนันตกุล
ผู้เยี่มสำรวจ สรุปปัญหาและผลการประชุม
ผลการดำเนินงาน ถุงผ้า
กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้จัดกิจกรรม มอบถุงผ้าใส่ยา ให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง และต้องมาพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง โดยส่งมอบยาใส่ลงในถุงผ้า และอธิบายให้ผู้ป่วยนำยาที่เหลือทั้งหมดใส่ลงในถุงผ้า เมื่อมารับยาครั้งต่อไป เมื่อผู้ป่วยมารับยาพร้อมกับยาที่เหลือในถุงผ้า เจ้าหน้าที่จะนำยาเดิมที่เหลือมาตรวจสอบสภาพและวันหมดอายุ หากยามีสภาพที่ดี จะนำยาเดิมกลับมาใช้กลับผู้ป่วยคนเดิม โดยหักลบยาเดิมจากยาที่แพทย์สั่ง
ผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล จะติดตามยาเดิมที่ผู้ป่วยใช้ มาให้แพทย์พิจารณาสั่งใช้ยาตามความเหมาะสมของสภาวะโรคของผู้ป่วยขณะนั้นๆ นำยาเดิมมาบริหารขณะผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาล และทบทวนยาเดิมร่วมกับยาที่แพทย์สั่งเมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน
กระบวนการที่ปฏิบัติ จะทำให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างต่อเนื่องโรงพยาบาลสามารถประหยัดค่ายา ซึ่ง ขบวนการนี้เราเรียกว่า Medication Reconciliation
ผลการดำเนินงาน
มูลค่ายาที่สามารถประหยัดได้ที่ OPD
มูลค่ายาที่สามารถประหยัดได้ ที่ IPD
มูลค่ายาที่สามารถประหยัดได้ภาพรวมโรงพยาบาล
มูลค่ายาที่สามารถประหยัดได้ทั้งหมด ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2555 ถึง มกราคม 2556 รวมแผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน คิดเป็นมูลค่า 742,505.75 บาท
ความรู้คู่ยา
การเกิดปฏิกริยาไวเกิน(Hypersensitivity reaction )
ภายหลังการใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยคำแนะนำของคณะอนุกรรมการศึกษาและเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ยา แจ้งข้อมูลรายงานการเกิดปฏิกริยาไวเกิน (Hypersensitivity reaction ) ภายหลังจากการใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาสั่งใช้ยาดังกล่าวต่อไป
สืบเนื่องจากศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้รับรายงานการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังการใช้ยาจากสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ( ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2544-31 ธ.ค. 2555 ) จำนวนทั้งหมด 197 ฉบับ ในหลากหลายยี่ห้อ เป็นรายงานประเภทร้ายแรง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแต่ไม่มีรายงานเสียชีวิต จำนวน 36 ฉบับ (18.27%) ในจำนวนนี้มีอายุตั้งแต่ 8-74 ปี เป็นเพศหญิง ร้อยละ 75.0 ซึ่งมีรายงาน 10 ฉบับที่เกิด Hypersensitivity ภายหลังจากการใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร อาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าว ได้แก่ anaphylactic shock (5), anaphylaxis (4) และ chest tightness ร่วมกับอาการ faintness และ rash (1)
ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นสอดคล้องกับข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO Vigibase) ที่พบรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรสูตรเดี่ยว ชนิดรับประทาน จำนวน 13 รายงานจากประเทศออสเตรเลียทั้ง 13 รายงาน โดยพบ anaphylactic reaction 2 รายงาน และรายงานจากสมุนไพรฟ้าทะลายโจรสูตรผสมชนิดรับประทานจำนวน 21 รายงาน จากประเทศออสเตรเลีย 18 รายงาน และประเทศสวีเดน 3 รายงาน โดยพบ anaphylactic shock 3 รายงาน และ anaphylactic reaction 1 รายงาน อย่างไรก็ตามข้อมูลยาจากสมุนไพรฟ้าทะลายโจรใน WHO monographs on selected medicinal plants volume 2 (2002) มีรายงานการเกิด anaphylactic reaction จากการใช้ crude drug extract แบบฉีดเท่านั้น ส่วนการรับประทานยาในขนาดสูงพบว่าอาจทำให้เกิดอาการอึดอัด ไม่สบายท้อง อาเจียนและสูญเสียความอยากอาหาร
ขณะนี้สำนักงานอาหารและยากำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบในรายละเอียดของความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างยาจากสมุนไพรฟ้าทะลายโจรกับอาการดังกล่าวโดยเฉพาะอาการเกี่ยวกับ anaphylaxis ในเบื้องต้นนี้ จึงขอแจ้งข้อมูลมาให้ทราบ และพิจารณาการใช้ยาดังกล่าวด้วยความระมัดระวัง
ทบทวนความเสี่ยง เพื่อการแก้ไข
พบความเสี่ยงในการสั่งยา เป็นความคลาดเคลื่อนในการคัดลอกคำสั่งยา รายละเอียดดังนี้
ผู้ป่วยหญิงไทย มีประวัติรับยา Isordil (10) 1x2 ทุกครั้งที่มารับ
การตรวจ
การตรวจ
วันที่ 5/7/2012 แพทย์สั่ง Inderal(10) 1x2 หลังอาหาร 3 เดือน
ห้องยาจ่าย inderal ตามคำสั่งแพทย์
วันที่ 4/10/55 แพทย์สั่งเป็น isordil 10 1x2 หลังอาหาร 3 เดือน
เภสัชกรตรวจสอบใบสั่งยา พบความผิดปรกติ จึงได้ทบทวนประวัติการรับยา ในใบสั่งยา และใน OPD card จึงทราบว่าสั่งยาและได้รับยาผิดชนิด ซึ่ง ในวันที่ 5/7/2012 ผู้ป่วยควรจะได้รับยา Isordil 10 mg. แต่มีการอ่านชื่อยาผิด เป็น Inderal 10 mg.
ยา Isordil 10 mg ชื่อสามัญทางยา คือ Isosorbide dinitrate และ ยา Inderal 10 mg. ชื่อสามัญทางยา คือ Propranolol เป็นยาที่มีชื่อเขียนคล้ายกัน ขนาดความแรง เป็น 10 mg. เหมือนกัน และวิธีในการรับประทานยาเหมือนกัน อีกทั้งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้เหมือนกัน จึงมีโอกาสที่จะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนเช่นนี้ได้
ใบสั่งยาที่แพทย์สั่ง Inderal |
ใบสั่งยาที่แพทย์สั่ง Isordil |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น