1 April 2013

PHARMA NEWS

 ฉบับประจำวันที่ 1 เมษายน    2556

ข่าวจากฝ่ายเภสัช


     กลุ่ม งานเภสัชกรรม เชิญชวนบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมการประชุมวิชาการ ตามโครงการ สัปดาห์พัฒนาระบบยา โรงพยาบาลพุทธโสธร ในวันที่ 10-14 มีนาคม 2556 กำหนดการดังนี้ 

วันที่ 10 มิถุนายน 2556 

 9.00 น. – 12.00 น. พิธีเปิด และ การบรรยาย เรื่อง  การบริหารยา ที่มีความเสี่ยงสูง 

 โดย นพ. สันฑิติ โมรากุล คณะแพทย์ศาสตร์ รามาธิบดี

13.00 น.- 16.30 น. เยี่ยมสำรวจหอผู้ป่วยเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ หอผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป 8

วันที่  11 มิถุนายน  2556

9.00 น.- 12.00 น.  เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ หอผู้ป่วยเด็ก

13.00 น.- 16.30 น. เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก

วันที่  12 มิถุนายน  2556

9.00 น.- 12.00 น.  เยี่ยมเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 5

13.00 น.- 16.30 น. เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่  งานผู้ป่วยนอก

วันที่  13 มิถุนายน  2556

9.00 น.- 12.00 น.  เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ หอผู้ป่วย สดย.3

13.00 น.- 16.30 น. เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ งานผู้ป่วยนอก

วันที่  14 มิถุนายน  2556

9.00 น.- 12.00 น.  เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ ICU อายุรกรรม

13.00 น.- 16.30 น. เวทีเสวนา การเตรียมพร้อมสู่การ Re-accredit โดย ภก.ปรมินทร วีระอนันตกุล ผู้เยี่มสำรวจ สรุปปัญหาและผลการประชุม




ความรู้คู่ยา 

  Clostridium difficile-associated diarrhea can be associated with stomach acid drug know as Proton Pump inhibitor (PPIs)

     คณะกรรมการอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการประกาศ ว่า การใช้ยากลุ่ม Proton Pump Inhibitors มีความสัมพันธ์กับการเกิด ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น จากโรคท้องเสีย ที่มีสาเหตุจากเชื้อ Clostridium difficile          ( Clostridium difficile - associated diarrhea (CDAD) ) ในการวินิจฉัยโรค   CDAD จะต้องพิจารณาด้วยว่าผู้ป่วยได้รับยากลุ่ม PPIs อยู่ด้วยหรือไม่  หากผู้ป่วยได้รับยา PPIs อยู่ด้วย จะทำให้อาการของโรคไม่ดีขึ้น

     ดังนั้น ผู้ป่วยที่รับประทานยากลุ่ม PPIs จะต้องปรึกษาบุคคลากรทางการแพทย์หากเกิดอาการท้องเสีย แล้วอาการไม่ดีขึ้น

     Clostridium difficile (C. difficile) คือ เชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุให้เกิดท้องเสีย อาการแสดง คือ ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ, ปวดท้อง, มีไข้ ต่อมาจะทำให้เกิดอาการทางลำใส้ที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น โรคนี้สามารถแพร่กระจายได้ ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรค CDAD  ร่วม คือ  อายุที่มากขึ้น, สภาวะโรคอื่นๆที่เกิดร่วม , ชนิดของยาปฏิชวนะที่ได้รับ การรักษาโรค  CDAD  คือ ให้สารน้ำทดแทน และใช้ยาปฏิชีวนะที่เจาะจงต่อเชื้อ Clostridium difficile 

     คณะกรรมการอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดให้บริษัทผู้ผลิตยากลุ่ม PPIs เพิ่มข้อความคำเตือนในเอกสารกำกับยา ว่า การใช้ยากลุ่ม PPIs ทำให้เกิดความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อโรค CDAC ดังนี้

ข้อความคำเตือนสำหรับผู้ป่วย

 1.  เมื่อใช้ยากลุุ่ม PPIs แล้วมีอาการท้องเสีย และอาการไม่ดีขึ้น ให้แจ้งบุคลากรทางการแพทย์ทันที เนื่องจากอาจเป็นอาการของ CDAD

2. หากบุคคลากรทางการแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรค CDAD จะต้องทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วย

3. ไม่ควรหยุดยากลุ่ม PPIs เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์

4. ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำในเอกสารกำกับยาอย่างเคร่งครัด

5. หากเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ให้รายงานต่อ FDA Medwatch program วิธิการตามที่ระบุที่ด้านล่างขิงเอกสารกำกับยา

ข้อความคำเตือนสำหรับบุคคลากรทางการแพทย์

1. การที่จะวินิจฉัยว่าเป็น  CDAD จะต้องพิจารณาว่าผู้ป่วยใช้ ยากลุ่ม PPIs  มีอาการท้องเสีย แล้วอาการท้องเสียไม่ดีขึ้น

2. ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่ม PPIs ว่า หากเกิดอาการท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำ ปวดท้อง มีไข้ แล้วอาการไม่ดีขึ้น ให้แจ้งแพทย์ทันที

3. ผู้ป่วยที่ใช้ยา PPIs  จะต้องใช้ยาในขนาดที่ต่ำสุดและสั้นที่สุด ตามความเหมาะสมของสภาวะโรคนั้นๆ

4. หากเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ให้รายงานต่อ FDA Medwatch program วิธิการตามที่ระบุที่ด้านล่างของเอกสารกำกับยา

     รายการยากลุ่ม Proton Pump Inhibitor ที่มีในบัญชียาโรงพยาบาลพุทธโสธร มีดังต่อไปนี้

1. Omeprazole 40 mg.

2. Esomeprazole 30 mg. (Nexium)

3.  Lansoprazole 30 mg.(prevacid)

4. Rabeprazole 20 mg (pariet)

reference : Clostridium difficile-associated diarrhea can be associated with stomach acid drugs known as proton pump inhibitors (PPIs). (2013). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.fda.gov/Drugs/DrugSafety/ucm290510.htm

ทบทวนความเสี่ยง

     ปัญหาการบันทึกข้อมูลการสั่งยา ในใบสั่งยา กับ ใน OPD card ยังเป็นปัญหาที่ยังคงพบอยู่ เดือน มีนาคม 2556 พบปัญหาเกิดขึ้น  1 ครั้ง รายละเอียดคือ

     ผู้ป่วย  1 รายมารับการตรวจ ในเดือน พฤศจิกายน 2555  แพทย์สั่งยาให้ไปรับประทาน 4 เดือน แล้วมาพบแพทย์ตามนัดอีกครั้ง ในเดือน มีนาคม   2556  เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ในเดือน มีนาคม 2556 พบความคลาดเคลื่อน ดังนี้

เดือน พฤศจิกายน  2556 แพทยสั่งยา 4 รายการ  คำสั่งยาในใบสั่งยา คือ

 1. vitamin b complex 1x2 pc

2. ASA 81 mg 1x1 

3. Simvastatin 40 mg  1/2 x hs

 4. Insulin mixtard  32 unit ก่อนอาหารเช้า 12  unit ก่อนนอน

5. Neurontin 1x1

      แต่ในวันเดียวกัน มีการบันทึกประวัติการสั่งยาใน OPD card เป็น Simvastatin 1x1  ห้องยาได้จ่ายยา Simvastatin ฉลากยา เป็น 1/2 x hs ตามใบสั่งยา และผู้ป่วยกินยา ตามฉลากยา

คำสั่งยาในใบสั่งยา

คำสั่งยาใน  OPD card



     เมื่อผู้ป่วยกลับมาพบแพทย์ตามนัด ในเดือนมีนาคม 2556 แพทย์สั่งยา เป็น Simvastatin 1xhs   พบว่ามีการปรับขนาดยาเพิ่มขึ้นจากเดิม จึงยืนยันการสั่งยาของแพทย์ แพทย์แจ้งว่าให้รับประทานยาตามประวัติเดิม ใน OPD card จึงทราบว่าเกิดความคลาดเคลื่อนขึ้น

     จากปัญหาที่พบ ทำให้จากแพทย์เข้าใจว่าผู้ป่วย กินยา   simvastatin 1 เม็ด ก่อนนอน แต่ที่จริงแล้ว ผู้ป่วยกินยา  Simvastatin ครึ่งเม็ดก่อนนอน ทำให้อาจเกิดความคลาดเคลื่อนในการประเมินผลการรักษาได้ และผู้ป่วยก็ต้องปรับขนาดการกินยาเพิ่มขึ้นจากครั้งที่ผ่านมาด้วย





 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560