1 May 2013

PHARMA NEWS

 ฉบับประจำวันที่ 1 พฤษภาคม    2556

 

ข่าวจากฝ่ายเภสัช



     กลุ่ม งานเภสัชกรรม เชิญชวนบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมการประชุมวิชาการ ตามโครงการ สัปดาห์พัฒนาระบบยา โรงพยาบาลพุทธโสธร ในวันที่ 10-14 มิถุนายน 2556 กำหนดการดังนี้ 


วันที่ 10 มิถุนายน 2556 

 9.00 น. – 12.00 น. พิธีเปิด และ การบรรยาย เรื่อง  การบริหารยา ที่มีความเสี่ยงสูง 


 โดย นพ. สันฑิติ โมรากุล คณะแพทย์ศาสตร์ รามาธิบดี


13.00 น.- 16.30 น. เยี่ยมสำรวจหอผู้ป่วยเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ หอผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป 8

 

วันที่  11 มิถุนายน  2556

9.00 น.- 12.00 น.  เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ หอผู้ป่วยเด็ก

13.00 น.- 16.30 น. เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก

 

วันที่  12 มิถุนายน  2556

9.00 น.- 12.00 น.  เยี่ยมเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 5

13.00 น.- 16.30 น. เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่  งานผู้ป่วยนอก

 

วันที่  13 มิถุนายน  2556

9.00 น.- 12.00 น.  เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ หอผู้ป่วย สดย.3

13.00 น.- 16.30 น. เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ งานผู้ป่วยนอก

 

วันที่  14 มิถุนายน  2556

9.00 น.- 12.00 น.  เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ ICU อายุรกรรม


13.00 น.- 16.30 น. เวทีเสวนา การเตรียมพร้อมสู่การ Re-accredit โดย ภก.ปรมินทร วีระอนันตกุล ผู้เยี่มสำรวจ สรุปปัญหาและผลการประชุม

 

 

เปลี่ยนแปลงรายการยาในโรงพยาบาล

 

1. BROWN MIXTURE

 

      ปลี่ยนแปลงขนาดบรรจุภัณฑ์ จาก ขวดขนาด 180 มิลลิลิตร มาเป็นขนาด 60 มิลลิลิตร โดย ที่ส่วนประกอบในตัวยามีปริมาณสารสำคัญคงเดิม  ดังนี้

ใน 5 มิลลิลิตร ประกอบด้วยตัวยา

Glycyrrhiza Fluidextract              0.6 ml.

Antimony Potassium Tartrate      1.2 mg.

Camphorated Opium Tincture     0.6 ml.

สรรพคุณ     บรรเทาอาการไอและช่วยขับเสมหะ

ขนาดและวิธีใช้     เขย่าขวดก่อนใช้ยา รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง

ผู้ใหญ่     รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา (5-10 มิลลิลิตร)

เด็ก 6-12 ปี     รับประทานครั้งละ 1/2-1 ช้อนชา (2.5-5 มิลลิลิตร)

คำเตือน

1. ห้ามใช้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี คนชราและหญิงมีครรภ์

2.  ห้ามใช้ยานี้ติดต่อกันนานเกิน 3 วัน

3. ยานี้มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ 9.1 % ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง





ยาใหม่




ยาเดิ

การดำเนินงานทบทวนการใช้ยาเดิมของผู้ป่วยใน  ขณะรักษาในโรงพยาบาล

( Medication Reconciliation in IPD )

 

              กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้มีการดำเนินกิจกรรม ทบทวนการใช้ยาของผู้ป่วย ที่เป็นโรคเรื้อรัง เมื่อเข้าทำการนอนรักษาตัว เป็นผู้ป่วยใน โรงพยาบาล  โดยเปรียบเทียบ ยาที่ผู้ป่วยได้รับทั้งหมด ตั้งแต่อยู่ที่บ้าน รับยามาจากโรงพยาบาลอื่น ยาที่แพทย์สั่งขณะที่นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล และยาที่แพทย์สั่งเมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน เพื่อลดความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยา  ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างต่อเนื่อง ลดความซ้ำซ้อนจากการกินยา ได้มีการดำเนินการครอบคลุมทุกหอผู้ป่วย อย่างเป็นระบบ สามารถสรุปผลการดำเนินการ เดือน เมษายน  2556 ดังนี้

         จำนวนใบสั่งยา ที่ดำเนินกิจกรรม medication reconciliation      94    คน   หอผู้ป่วยที่ดำเนินกิจกรรม medication reconciliation มากที่สุด คือ แผนก อายุรกรรม 53 คน, แผนกศัลยกรรม 18 คน, แผนกสูตินรีเวช 10  คน, พิเศษประกันสังคม 7  คน,  แผนกตา  3 คน และ แผนกสงฆ์ 1 คน 

 

 

กราฟแสดงร้อยละของผู้ป่วยที่ดำเนินกิจกรรม medication reconciliation แยกตามแผนก




 ความรู้คู่ยา

การใช้ยา กรด วิตามิน เอ ในการรักษาสิว

           ยากลุ่มกรดวิตามินเอ คือ กลุ่มยาที่มีชื่อทางเคมี คือ ไอโซเตรติโนอิน (Isotretinoin) หรือ เรติโนอิก แอซิด ( Retinoic Acid) ซึ่งมีชื่อทางการค้าหลายอย่าง เช่น โรแอคคิวเทน (Roaccutane), แอคโนติน (Acnotin), โซเตรท (Sortret), ไอโซเทน (Isotane) เป็นยาที่จัดให้เป็นยาควบคุมพิเศษซึ่งต้องจ่ายโดยมีใบสั่งยา และ ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผิวหนังเท่านั้น มีสรรพคุณในการลดการทำงานของต่อมไขมันและต้านการอักเสบ ใช้รับประทานเพื่อการรักษาสิวหัวช้าง สิวที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ สิวอักเสบเรื้อรัง สิวที่เกิดจากความเครียด ซึ่งยากลุ่มกรดวิตามินเอสำหรับรักษาสิว มี 2 แบบด้วยกัน คือ แบบทา และแบบรับประทาน

กรดวิตามินเอชนิดรับประทาน ผลดีและผลเสีย ต่อร่างกาย

          ด้วย สรรพคุณของกรดวิตามินเอ ที่มีทั้งผลดีและผลเสียต่อร่างกาย ทำให้ผู้ที่รับประทานยากลุ่มกรดวิตามินเอ เข้าข่ายได้อย่างเสียอย่าง คือผลดีของกรดวิตามินเอ สามารถรักษาสิวอักเสบ สิวหัวช้างได้ดี สิวหายได้ค่อนข้างสมบูรณ์ และสงบได้เป็นเดือน หรือเป็นปี ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล  แต่ผลข้างเคียงจากการใช้กรดวิตามินเอนั้นมีความรุนแรงอย่างคาดไม่ถึงเลยที เดียว โดยยากลุ่มกรดวิตามินเอที่ใช้รับประทานมีผลข้างเคียงต่อการตั้งครรภ์โดยตรง คือมีผลต่อการสร้างอวัยวะของตัวอ่อนในครรภ์ โดยเฉพาะช่วงอายุครรภ์ 1-3 เดือนแรก โดยมีผลต่อระบบหัวใจ ระบบประสาท และกระจกตา ซึ่งผลดังกล่าวไม่ขึ้นกับระยะเวลาหรือปริมาณที่ใช้ คือ การใช้มานานหรือพึ่งใช้ ใช้มากหรือน้อย ส่งผลดังกล่าวได้ทั้งนั้น ความรุนแรงขึ้นอยู่กับร่างกายแม่และเด็กแต่ละคน ผู้ใช้ยากลุ่มกรดวิตามินเอ จึงต้องคุมกำเนิดก่อนกินยาอย่างน้อย 3 เดือน และคุมกำเนิดตลอดระยะเวลาที่ใช้ยาตัวนี้ในการรักษา และต้องหยุดยาล่วงหน้า 3 เดือน ถึง 1 ปี จึงจะตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย  นอกจากนี้ ตัวยายังทำให้ริมฝีปากแห้ง ตาแห้ง บางคนอาจมีเลือดกำเดาไหล ในบางรายอาจมีอาการตับอักเสบ มีไขมันในเลือดสูง

     สำหรับผู้ที่สวมคอนแทคเลนส์ การใช้ยานี้อาจทำให้เกิดการระคายเคืองตา เนื่องจากผลข้างเคียงของยาอาจทำให้ตาแห้ง รวมทั้งยานี้อาจทำให้ประสิทธิภาพในการมองเห็นตอนกลางคืนลดลง และสามารถเกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน ดังนั้น ผู้ที่ใช้ยานี้ควรระมัดระวังในการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานกับเครื่องจักร หากเกิดอาการดังกล่าวขึ้นต้องหยุดยาและปรึกาาแพทย์ทันที

ข้อควรระวังในการใช้กรดวิตามินเอ

1. ควรใช้ยานี้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนังอย่างใกล้ชิด

2. ห้ามใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์เพราะมีรายงานว่าทำให้ทารกพิการ เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ได้

3. ยานี้อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการซึมเศร้า จิตผิดปรกติ

4. ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้หรือไวต่อยานี้

 

 

  ทบทวนความเสี่ยง เพื่อการป้องกัน เชิงระบบ

 

 

     เดือน มีนาคม 2556  พบ ความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา รายละเอียด เป็นดังนี้

ผู้ป่วยหญิงไทย มารับการตรวจ ในเดือน มีนาคม 2556  แพทย์สั่งยา 

 Betaloc 100 mg 1/2x 1  และรายการยาอื่นๆ ดังใบสั่งยาด้านล่าง

      

ใบสั่งยาเดือน มีนาคม 2556

     

      ซึ่ง เมื่อทบทวนประวัติการสั่งยาครั้ง ล่าสุด ในระบบคอมพิวเตอร์  คือวันที่ 28  พฤศจิกายน 2555  พบว่า จ่ายยา Betaloc 100 เป็น 1.5 เม็ด x 1  จึงได้ขอยืนยัน การสั่งยากับแพทย์ผู้ตรวจ ว่าต้องการปรับขนาดเพิ่มหรือไม่ แพทย์ยืนยันว่า สั่งยาตามประวัติเดิม  ใน OPD Card คือ Betaloc 100 mg 1/2x1

     ดังนั้น จึงได้ติดตามใบสั่งยา ของวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555  มาดู พบว่า แพทย์สั่งยา ตามรายละเอียดใบสั่งยา ด้านล่าง

 

 

ใบสั่งยา เดือน พฤศจิกายน 2555

 

      จึงได้วิเคราะห์ หาสาเหตุของความคลาดเคลื่อน และ การแก้ไข ดังนี้

1.  การเขียนคำสั่งยา ไม่ชัดเจน เนื่องจาก เขียน วงเล็บปิด มิลลิกรรม ของยา ไปใกล้กับ เลข 1/2 x1 ทำให้ผู้อ่านใบสั่งยา เข้าใจว่าต้องการสั่ง 1 1/2 x 1 เม็ด

2. ผู้จ่ายยา เมื่อตรวจสอบยา หากพบว่า มีการปรับขนาดยา ควรทำการสอบถามกับผู้ป่วย เพื่อยืนยันว่าแพทย์จะมีการปรับขนาดยาเพิ่มขึ้นหรือลดลงหรือไม่ หากผู้ป่วยไม่แน่ใจต้องยืนยันกับแพทย์อีกครั้ง

3. นำตัวอย่างความคลาดเคลื่อน มาทบทวนในกลุ่มงาน ให้บุคคลากร เฝ้าระวัง การสั่งยาในลักษณะนี้ เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ

4. หากคำสั่งการใช้ยาไม่ชัดเจน ให้ยืนยันการสั่งยา กับแพทย์ทุกครั้ง

   

     

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560