16 may 2013

PHARMA NEWS

 ฉบับประจำวันที่ 16 พฤษภาคม    2556

 

ข่าวจากฝ่ายเภสัช



     กลุ่ม งานเภสัชกรรม เชิญชวนบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมการประชุมวิชาการ ตามโครงการ สัปดาห์พัฒนาระบบยา โรงพยาบาลพุทธโสธร ในวันที่ 10-14 มิถุนายน 2556 กำหนดการดังนี้ 


วันที่ 10 มิถุนายน 2556 

 9.00 น. – 12.00 น. พิธีเปิด และ การบรรยาย เรื่อง  การบริหารยา ที่มีความเสี่ยงสูง 


 โดย นพ. สันฑิติ โมรากุล คณะแพทย์ศาสตร์ รามาธิบดี


13.00 น.- 16.30 น. เยี่ยมสำรวจหอผู้ป่วยเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ หอผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป 8

 

วันที่  11 มิถุนายน  2556

9.00 น.- 12.00 น.  เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ หอผู้ป่วยเด็ก

13.00 น.- 16.30 น. เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก

 

วันที่  12 มิถุนายน  2556

9.00 น.- 12.00 น.  เยี่ยมเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 5

13.00 น.- 16.30 น. เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่  งานผู้ป่วยนอก

 

วันที่  13 มิถุนายน  2556

9.00 น.- 12.00 น.  เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ หอผู้ป่วย สดย.3

13.00 น.- 16.30 น. เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ งานผู้ป่วยนอก

 

วันที่  14 มิถุนายน  2556

9.00 น.- 12.00 น.  เยี่ยมสำรวจเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ ICU อายุรกรรม


13.00 น.- 16.30 น. เวทีเสวนา การเตรียมพร้อมสู่การ Re-accredit โดย ภก.ปรมินทร วีระอนันตกุล ผู้เยี่มสำรวจ สรุปปัญหาและผลการประชุม

 

 

เปลี่ยนแปลงรายการยาในโรงพยาบาล

กลุ่มงานเภสัชกรรม มีการเปลี่ยนแปลงรายการยาดังนี้ 

1.  Alprazolam  0.5 mg

 เปลี่ยนแปลงบริษัทที่ซื้อยา มาเป็นบริษัท สหแพทย์เภสัช จำกัด 

ชื่อการค้า : ZOLAM 0.5 

รูปแบบยา : ขวดพลาสติก PVC สีชา ขนาด 500 เม็ด เม็ดยาเป็นสีชมพู 





เม็ดยา Alprazolam แบบใหม่

ขวดยาบรรจุ Alprazolam แบบใหม่

 

2. Dipotassium Chlorazepate 5 mg.

เปลี่ยนแปลงบริษัทที่จีดซื้อยา มาเป็นบริษัท สหแพทย์เภสัช

ชื่อการค้า : TRANMED 5

รูปแบบและขนาดบรรจุยา : Aluminium blister แผงละ 10 เม็ด

 

 

Dipotassium Chlorazepate แบบใหม่

ผลการดำเนินงาน ถุงผ้า ผู้ป่วยนอก               

      กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้จัดกิจกรรม มอบถุงผ้าใส่ยา ให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง และต้องมาพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง  โดยส่งมอบยาใส่ลงในถุงผ้า และอธิบายให้ผู้ป่วยนำยาที่เหลือทั้งหมดใส่ลงในถุงผ้า เมื่อมารับยาครั้งต่อไป เมื่อผู้ป่วยมารับยาพร้อมกับยาที่เหลือในถุงผ้า  เจ้าหน้าที่จะนำยาเดิมที่เหลือมาตรวจสอบสภาพและวันหมดอายุ  หากยามีสภาพที่ดี  จะนำยาเดิมกลับมาใช้กลับผู้ป่วยคนเดิม โดยหักลบยาเดิมจากยาที่แพทย์สั่ง ทำให้ผู้ป่วยได้ใช้ยาเดิมจนหมด ป้องกันการใช้ยาที่เสื่อมสภาพ หรือหมดอายุ และลดค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาลได้อีกด้วย

      ผลการดำเนินการ ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2555- เดือน เมษายน 2556 เป็นดังนี้

 

 




     ซึ่งจากการดำเนิน กิจกรรม ตั้งแต่เดือน ตุลาคม  2555  จนถึง เดือน เมษายน  2556  มีผู้ป่วย เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งหมด  2,485 คน โรงพยาบาลนำยาเดิมของผู้ป่วย มาใช้กับผู้ป่วย ทำให้สามารถประหยัดค่ายา ได้  844,305.66 บาท

ความรู้คู่ยา

 การใช้ยากันชักกลุ่ม Valproate ในหญิงตั้งครรภ์ มีผลต่อ IQ scores ของทารกในครรภ์

     คณะกรรมการ อาหารและยา ประเทศ สหรัฐอเมริกา (US.FDA) มีการประกาศ ห้ามใช้ยา กลุ่ม Valproate ในกรณี ป้องกันการเกิด ไมเกรน ในหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากจะทำให้ลูก มี IQ Score ลดลง

     คณะกรรมการ อาหารและยา ประเทศ สหรัฐอเมริกา (US.FDA) มีการประกาศแจ้งเตือนความปลอดภัยในการใช้ยา เมื่อ วันที่  6  พ.ค. 2013 แก่ บุคคลากรทางการแพทย์ และ สตรีที่ใช้ยากันชักกลุ่ม  Valpoate Sodium, Valproic Acid, Divalproex Sodium  และยากันชักในกลุ่มเดียวกัน ว่า ห้ามใช้ยานี้ในระหว่างตั้งครรภ์ ในกรณี รักษาโรค ป้องกันการปวดศรีษะไมเกรน เนื่องจาก มีการศึกษา ที่มีรายงานว่า การใช้ยากลุ่มดังกล่าว ทำให้เกิดการลดลงของ IQ Score ของลูกที่มารดามีการใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์ ได้มีการเพิ่มคำเตือนนี้ ในเอกสารกำกับยา และได้มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลยานี้ ในเรื่อง pregnancy category จาก category D (เป็นยาที่มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความผิดปรกติต่อทารกในครรภ์ การใช้ยากลุ่มนี้จะใช้ต่อเมื่อพิจารณาแล้วว่า จะก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์) มาเป็น category X (จากการศึกษาในสัตว์หรือมนุษย์ พบว่า ยานี้จัดอยู่ในประเภทที่ทำให้เกิดความผิดปรกติของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ และมีความเสี่ยงในการทำให้เกิดความผิดปรกติมากกว่าประโยชน์ที่ได้จากยา ดังนั้น ยาในประเภทนี้จัดเป็นยาที่ห้ามใช้ ในสตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่มีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์)

     การใช้ยากลุ่ม Valproate  ในหญิงตั้งครรภ์ ที่เป็นโรคลมชัก หรือ Bipolar disorder ควรใช้ต่อเมื่อ มีการใช้ยากันชักชนิดอื่นแล้วไม่ได้ผล ซึ่งจะกำหนดยากลุ่ม Valproate สำหรับรักษาโรคลมชักและโรค Bipolar disorder  เป็น pregnancy category D เช่นเดิม

     หากมีความจำเป็นที่จะใช้ยากลุ่มนี้ในหญิงวัยเจริญพันธ์ ควรมีการใช้การคุมกำเนิดอย่างมรประสิทธิภาพ เพื่อลดอันตรายที่อาจเกิดต่อทารก หากเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นมา

     ยากลุ่ม Valproate ที่จำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่  Valproate Sodium (Depakin), Divalproex Sodium (Depakot,Depakote CP, Depakot ER),Valproic acid (Depakene and Stavzor)

     คำเตือนนี้มาจากการศึกษาของ Neurodevelopmental Effects of Antiepileptic Drugs (NEAD)  ซึ่งมีการศึกษา ที่แสดงให้เห็นว่า เด็กที่เกิดจากแม่ที่ได้รัยยากลุ่ม Valproate  ขณะตั้งครรภ์ จะมีการลดลงของ IQ score   ที่อายุ 6 ปี เปรียบเทียบกับลูกที่เกิดจากแม่ที่ได้รับยากันชักกลุ่มอื่น ขณะตั้งครรภ์ แตกต่างกันระหว่าง 8-11 คะแนน 

     หญิงที่ตั้งครรภ์ระหว่างที่ได้รับยากลุ่ม  Valproate ควรจะไปพบแพทย์ทันที ไม่ควรหยุดยาเอง เนื่องจากหากหยุดยาเอง อาจจะทำให้เกิดผลเสียที่รุนแรง หรืออาจเกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้

     ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า การใช้ยากลุ่ม  valproate ในช่วงเวลาใดของการตั้งครรภ์ ที่จะส่งผลต่อการลดลงของ  IQ score เนื่องจาก การศึกษาของ NEAD เป็นการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่มารดาได้รับยากลุ่ม   Valproate ตลอดการตั้งครรภ์ ระยะเวลาที่มารดาได้รับยาในช่วงใดของการตั้งครรภ์ ที่ส่งผลต่อ IQ score  จึงยังไม่ได้มีการประเมิน

     US.FDA. จึงได้มีการประสานงานกับบริษัทผู้ผลิตยา ให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อความคำเตือน ในเอกสารกำกับยา เรื่อง ความเสี่ยงจากการใช้ยากลุ่ม Valproate และมีการประเมินความเสี่ยงจากการใช้ยากลุ่ม Valproate อย่างต่อเนื่อง หากมีข้อมูลการศึกษาเพิ่มเติม จะมีการนำมาแจ้งต่อสาธารณชนต่อไป

       สำหรับยากลุ่ม Valpraoate ที่มีในบัญชียา โรงพยาบาลพุทธโสธร คือ DEPAKIN CHRONO 500 mg. ดังภาพ

 

ยากลุ่ม Valproate  ที่มีในโรงพยาบาล

reference
FDA Drug Safety Communication: Valproate Anti-seizure Products Contraindicated for Migraine Prevention in Pregnant Women due to Decreased IQ Scores in Exposed Children [online]. เข้าถึงได้จาก  : http://www.fda.gov/Drugs/DrugSafety/ucm350684.htm

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560