1 june 2013

PHARMA NEWS

 ฉบับประจำวันที่ 1 มิถุนายน    2556

 

ข่าวจากฝ่ายเภสัช

      กลุ่ม งานเภสัชกรรม เชิญชวนบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมการประชุมวิชาการ ตามโครงการ สัปดาห์พัฒนาระบบยา โรงพยาบาลพุทธโสธร ในวันที่ 10-14 มิถุนายน 2556 กำหนดการดังนี้ 


วันที่ 10 มิถุนายน 2556 ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารอุบัติเหตุ และ หอผู้ป่วยที่ได้รับคัดเลือก

 9.00 น. – 12.00 น. พิธีเปิด และ การบรรยาย เรื่อง  การบริหารยา ที่มีความเสี่ยงสูง 

 โดย นพ. สัณฑิติ โมรากุล คณะแพทย์ศาสตร์ รามาธิบดี

13.00 น.- 16.30 น. เยี่ยมสำรวจ หอผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป เพื่อเตรียมสู่การรับรองซ้ำ

 

วันที่  11 มิถุนายน  2556 ณ หอผู้ป่วยที่ได้รับคัดเลือก

9.00 น.- 12.00 น.  เยี่ยมสำรวจหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมเพื่อเตรียมสู่การรับรองซ้ำ

13.00 น.- 16.30 น. เยี่ยมสำรวจหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกเพื่อเตรียมสู่การรับรองซ้ำ

 

วันที่  12 มิถุนายน  2556 ณ หอผู้ป่วยที่ได้รับคัดเลือก และงานผู้ป่วยนอก

9.00 น.- 12.00 น.  เยี่ยมสำรวจ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง เพื่อเตรียมสู่การรับรองซ้ำ

13.00 น.- 16.30 น. เยี่ยมสำรวจ งานผู้ป่วยนอกอายุรกรรม เพื่อเตรียมสู่การรับรองซ้ำ

 

วันที่  13 มิถุนายน  2556 ณ หอผู้ป่วยที่ได้รับคัดเลือก และงานผู้ป่วยนอก

9.00 น.- 12.00 น.  เยี่ยมสำรวจ หอผู้ป่วย สดย.3 เพื่อเตรียมสู่การรับรองซ้ำ

13.00 น.- 16.30 น. เยี่ยมสำรวจ งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน เพื่อเตรียมสู่การรับรองซ้ำ

 

วันที่  14 มิถุนายน  2556 ณ หอผู้ป่วยที่ได้รับคัดเลือก และ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารอุบัติเหตุ

9.00 น.- 12.00 น.  เยี่ยมสำรวจ หอผู้ป่วย ICU อายุรกรรม เพื่อเตรียมสู่การรับรองซ้ำ

13.00 น.- 15.00 น. นำเสนอประเด็นเรียนรู้จากการเยี่ยมสำรวจหน่วยงาน ๆ ละ 6 นาที

คณะผู้วิพากษ์ : อาจารย์ จาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ์

15.00 น.- 16.30  สรุปผลโครงการ และปิดการประชุม

 

 

เปลี่ยนแปลงรายการยาในโรงพยาบาล

 

กลุ่มงานเภสัชกรรม มีการเปลี่ยนแปลงรายการยาดังนี้ 

1. Propylthiouracil ( PTU) 50 มิลลิกรรม

      เปลี่ยนแปลง บริษัท ผู้ผลิตยา จาก องค์การเภสัชกรรม มาเป็น ยาของ บริษัท เภสัชกรรมศรีประสิทธิ์ ซึ่งจัดซื้อผ่านองค์การเภสัชกรรม  ลักษณะแผงยาเปลี่ยนจากแผงยาสีเขียว เป็นแผงยาสีเงิน ชื่อยาเป็นสีเขียว ดังรูป


ยา Propylthiouracil  บริษัทใหม่







ยา Propylthiouracil บริษัทเดิม


 ยาเข้าใหม่ในบัญชียาโรงพยาบาล

1.SERVANTA 

      SURVANTA  เป็นยาปราศจากเชื้อชนิด  non-pyrogenic pulmonary surfactant และสารสกัดธรรมชาติจากปอดของวัว และเสริมด้วยไขมันที่ได้จากการสังเคราะห์ 3 ชนิด และ surfactant-associated proteins  คือ cotfosceril palmitate (dipalmitoylphosphatidylcholine) , palmitic acid และ tripalmitin ถูกเพิ่มเพื่อ standardize และ mimic surface tension โดยลดคุณสมบัติของ  surfactant ของปอด ส่วนประกอบทั้งหมดจะให้ phospholipid  ที่มีความเข้มข้นเฉลี่ย 25 มก./มล.และโปรตีนน้อยกว่า   1.0 มก./มล. ยานี้เป็นของเหลวทึบแสงสีขาวนวลจนถึงสีน้ำตาลอ่อน

ส่วนประกอบ     :     ส่วนประกอบของไขมันและโปรตีน ใน SURVANTA  กำหนดไว้ดังนี้

Total  phospholipid          ประมาณ           25     มก./มล.

Free  Fatty Acid                ประมาณ          1.4 - 3.5 มก./มล.

Triglycerides                     ประมาณ          0.5 - 1.75  มก./มล.

Protein                               ประมาณ          0.1 - 1.0  มก/มล. 



 

เภสัชวิทยา     :     ยาจะช่วยลดแรงตึงผิวที่พื้นที่ผิวของถุงลมปอด ในระหว่างการหายใจ และช่วยรักษาถุงลมปอดไม่ให้แฟ่บในภาวะ resting transpulmonary pressure การขาด pulmonary surfactant จะทำให้เกิด respiratory distress syndrome (RDS) ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด ยาจะช่วยเพิ่ม surfactant และทำให้ surface activity กลับมาเป็นปรกติในทารกเหล่านี้

 

ความรู้คู่ยา

 

ยาตีกัน คืออะไร 

    

      การรักษาโรคด้วยยา ส่วนใหญ่ ผู้ป่วยมักจะได้รับยาหลายขนาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งต้องกินยามากกว่าหนึ่งชนิด และกินยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้บางครั้งอาจทำให้เกิดปัญหา ยาตีกัน หรือเรียก อีกอย่างว่า ปฏิกริยาระหว่างยา (Drug Interaction)

     ยาตีกัน หมายถึง การที่ฤทธิ์ของยาตัวหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเมื่อได้รับยาอีกตัวหนึ่งร่วม ด้วย โดยผลที่เกิดขึ้นอาจก่อให้เกิดผลการรักษาที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ตั้งใจ เช่น เกิดอาการไม่พึงประสงค์ หรืออาจจะทำให้ผลการรักษาลดลง ซึ่งบางครั้งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ส่วนความรุนแรงของยาตีกันจะเกิดขึ้นมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาวะของ ผู้ป่วย ระยะเวลาที่ใช้ยาร่วมกัน และขนาดยาที่ใช้ด้วย

     กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้มีการกำหนด คู่ยา ที่ก่อให้เกิด ปฏิกริยาต่อกัน  ห้ามใช้ยาร่วมกัน เพราะก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรง จนอาจทำให้เกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ รายละเอี ยด ดังนี้

1.Levofloxacin  กับ  Amiodarone

 Levofloxacin  กับ  Erythomycin 

ผลต่อผู้ป่วย : ทำให้หัวใจเต้นผิดปรกติ ( cardiac arrhythmia) รวมถึง torsades de points

2. Ergotamine, Methergin กับ Itraconazole

Ergotamine, Methergin กับ ยาต้านไวรัส Efavirenz, Indinavir, Ritronavir, Lopinavir/Ritronavir

ผลต่อผู้ป่วย : เพิ่มพิษจากยากลุ่ม ergot ( หลอดเลือดส่วนปลายหดตัว, เกิดการขาดเลือดที่ปลายแขน ขา)

3. Ceftriaxone inj. ในทารกแรกคลอดที่มีอายุน้อยกว่า  28 วัน กับ ยาที่มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบ,  Linger lactate Solution,สารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำ

ผลต่อผู้ป่วย  :  จะเกิดตะกอนในเส้นเลือด ปอด ไต และทารกแรกเกิดที่มี  hyperbiliruinemia โดยเฉพาะคลอดก่อนกำหนด อาจเกิด  bilirubin encephalopathy

4. Pimozide กับ Erythomycin, Clarithromycin, Azithromycin

 ผลต่อผู้ป่วย  :   ทำให้เกิดพิษต่อหัวใจ ( Prolong QT Interval)

5. Propranolol กับยา Chlorpromazine, Thioridazine

ผลต่อผู้ป่วย  :  หัวใจเต้นผิดปรกติ

6. Clozapine กับยา Ritonavir

ผลต่อผู้ป่วย : เพิ่มพิษจากยา Clozapine ( agranulocytosis, คลื่นหัวใจ ผิดปรกติ,ชัก)

7. Thioridazine กับยา Duloxetine,Fluoxetine,Fluvoxamine,pimozide

ผลต่อผู้ป่วย  :  ทำให้หัวใจเต้นผิดปรกติ และตายอย่างเฉียบพลัน

     หากพบว่ามีการสั่งใช้ยาร่วมกัน ให้ปฏิบัติตามแนวทางดังนี้

 1. กรณีใช้ยาตัวแรกอยู่ ให้จ่ายยารายการเดิม ไม่จ่ายยาที่เป็นคู่อันตรกิริยา

 2. กรณีสั่งใช้ยาคู่อันตรกิริยาพร้อมกันไม่จ่ายยารายการที่เป็นคู่อันตรกิริยา

3. ส่งผู้ป่วย/ญาติ พร้อมใบสั่งยา และใบทบทวนการใช้ยากลับหาแพทย์ หรือยกเลิกรายการยาตัวใดตัวหนึ่ง

4. เภสัชกรสื่อสารข้อมูลกับแพทย์เจ้าของไข้ 2 ทาง คือ 

วาจา : โทรศัพท์ 

อักษร : ใบทบทวนการใช้ยา

5. แจ้งเภสัชกรประจำตึกที่เบอร์ 1811 เพื่อติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย

 

 


ทบทวนความเสี่ยง เพื่่อการป้องกันเชิงระบบ


     พบความคลาดเคลื่อนในการสั่งยา ที่เป็นคู่ยาที่ทำให้เกิด ปฏิกิริยา ระหว่างกัน ใน ระดับ  Fatal Drug Interaction  รายละเอียด ดังนี้

 ผู้ป่วยชายไทย มารับการตรวจ เดือน มีนาคม แพทย์สั่งยา ตามใบสั่งยา 

 

 

 

     จะเห็นว่า มีการสั่งยา คู่ที่เกิด ปฏิกริยาต่อกัน ในระดับ ที่เป็น  fatal drug interaction คือ ยา Thioridazine กับยา Fluoxetine  ซึ่งผลของการสั่งยานี้ร่วมกัน อาจทำให้เกิด

หัวใจเต้นผิดปรกติ และตายอย่างเฉียบพลัน

     และได้มีการจ่ายยาให้ผู้ป่วยไป โดยไม่สามารถดักจับได้ว่าเป็นยาที่อาจทำให้เกิด ปฏิกริยาต่อกันในระดับที่รุนแรง ผู้ป่วยได้รับยาคู่กัน ประมาณ  25 วัน เมื่อสอบถามผู้ป่วยถึงความผิดปรกติที่อาจเกิดขึ้น ผู้ป่วยแจ้งว่า ไม่มีอาการผิดปรกติ

     จึงได้ทบทวนหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไขดังนี้

  1. โรงพยาบาล ได้มีการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ แจ้งเตือน เมื่อพิมพ์ยาคู่ที่เป็น  fatal drug interaction  แต่ในกรณีผู้ป่วยรายนี้ ไม่พบการแจ้งเตือนจากระบบคอมพิวเตอร์ จึงประสานงานไปยังผู้ดูแลระบบให้แก้ไขแล้ว

2. ทบทวนคู่ยาที่เกิดปฎิกริยาต่อกัน ให้กับ เภสัชกร และบุคลากรในหน่วยงาน เฝ้าระวัง 

3. แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้พิมพ์ยาให้ระวังในการพิมพ์ยาเมื่อมีคำเตือนปรากฎที่หน้าจอคอมพิวเตอร์









 



 

     

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560