16 june 2012

PHARMA  NEWS

ฉบับประจำวันที่ 16 มิถุนายน 2556


ข่าวจากฝ่ายเภสัช

ข้อมูลผู้ป่วยแพ้ยารายใหม่

     กลุ่ม งานเภสัชกรรม ได้ทำการสรุปข้อมูล ผู้ป่วยแพ้ยา รายใหม่  ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553 ถึง 2555 พบว่ายาที่ผู้ป่วย แพ้มากที่สุด 10 อันดับแรก ของแต่ละปีงบประมาณ เป็นดังนี้


  -->

ลำดับ
2553
2554
2555
1
CEFTRIAXONE
STAVUDINE
CEFTRIAXONE

2
STAVUDINE
IBUPROFEN
ENALAPRIL

3
IBUPROFEN
ENALAPRIL
AMLODIPINE,

4
BACTRIM
AMLOPINE
IBUPROFEN

5
DICLOXACILLIN
AMOXYCILLIN
BACTRIM

6
AMOXYCILLIN, PHENYTOIN
CEFTRIAXONE, NORGESIC

CLINDAMYCIN
7
NVP
TRAMADOL, RIFAMPICIN
AMOXYCILIIN,
d4T (stavudine)

8
DICLOFENAC
BACTRIM, DICLOFENAC, CIPROFLOXACIN, AUGMENTIN, DICLOXACILLIN, HCTZ, NVP, AZT, NEURONTIN

AZT (zidovudine)
9
CEFAZOLIN, CEPHALEXIN
TC-MYCIN, PIROXICAM, CEPHALEXIN, ARCOXIA, SIMVASTATIN, OFLOXACIN, PZA
 
CEFAZOLIN, HCTZ,
PHENYTOIN
10
CEFTAZIDIME, CLINDAMYCIN


AUGMENTIN



      จากข้อมูล จะเห็นว่ายาที่พบการแพ้ยาบ่อย คือ ยา Ceftriaxone, Stavudine  อาการที่แพ้ ส่วนมากเป็นอาการทางระบบผิวหนัง คือ มีอาการผื่น คัน


 ผลการทำกิจกรรม Medication Reconciliation

       กลุ่ม งานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้มีการดำเนินกิจกรรม ทบทวนการใช้ยาของผู้ป่วย ที่เป็นโรคเรื้อรัง เมื่อเข้าทำการนอนรักษาตัว เป็นผู้ป่วยใน โรงพยาบาล  โดยเปรียบเทียบ ยาที่ผู้ป่วยได้รับทั้งหมด ตั้งแต่อยู่ที่บ้าน รับยามาจากโรงพยาบาลอื่น ยาที่แพทย์สั่งขณะที่นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล และยาที่แพทย์สั่งเมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน เพื่อลดความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยา  ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างต่อเนื่อง ลดความซ้ำซ้อนจากการกินยา ได้มีการดำเนินการครอบคลุมทุกหอผู้ป่วย อย่างเป็นระบบ สามารถสรุปผลการดำเนินการ เดือน พฤษภาคม  2556 ดังนี้

     จำนวนใบสั่งยา ที่ดำเนินกิจกรรม medication reconciliation  48 ใบสั่งยา หอผู้ป่วยที่มีการทบทวนใบสั่งยา มากที่สุด คือ หอผู้ป่วยอายุรกรรม รายละเอียดดังกราฟ

 

   กราฟแสดงจำนวนใบสั่งยาที่ทำ medication reconciliation ในแต่ละหอผู้ป่วย

 

 

                                                  ความรู้คู่ยา                                                          

การเพิกถอนยา Calcitonin ชนิดพ่นทางจมูกในสหภาพยุโรป

    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อยู่ระหว่างการทบทวนมาตรการจัดการความเสี่ยงตำรับยา  calcitonin ที่ได้รับอนุมัติในประเทศ โดยเฉพาะชนิดพ่นทางจมูก 

     การทบทวนดังกล่าว สืบเนื่องจาก คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้ประกาศยอมรับข้อเสนอของกรรมการด้านผลิตภัณฑ์ยาสำหรับใช้ในมนุษย์ของหน่วยงานกำกับดูแลด้านยาของสหภาพยุโรป (European Medicines Agency's Committee for Medicinal Products for Human Use : CHMP) ที่เสนอให้เพิกถอนยา calcitonin ชนิดพ่นทางจมูก ที่อนุมัติข้อบ่งใช้เฉพาะการรักษาภาวะกระดูกพรุนภายหลังหมดประจำเดือนออกจากท้องตลาด เนื่องจากมีหลักฐานทางวิชาการชี้ให้เห็นว่าการใช้ยาดังกล่าวในระยะยาวมีความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งสูงกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาดังกล่าว (0.7%-2.4%) ในการนี้ คณะกรรมการ  CHMP ได้แนะนำให้ใช้ calcitonin เฉพาะรูปแบบยาฉีดในขนาดยาต่ำสุดที่ให้ผลการรักษาและระยะเวลาสั้นที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เฉพาะข้อบ่งใช้ ดังนี้

(1)  ป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกอย่างเฉียบพลันเนื่องจากเคลื่อนไหวไม่ได้ โดยจำกัดการให้ยาเป็นเวลา 2 สัปดาห์ สูงสุดไม่เกิน 4 สัปดาห์

(2) โรคปาเก็ทของกระดูก (กระดูกอักเสบเกิดจากโรคกระดูกซึ่งทำให้กระดูกอยู่ในลักษณะผิดรูป ผิดส่วน) ในกรณีที่การรักษาอื่นใช้ไม่ได้ผล โดยจำกัดการรักษาไม่เกิน 3 เดือน และ

(3) ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงที่มีสาเหตุจากโรคมะเร็ง

     Calcitonin เป็นฮอร์โมนที่เพิ่มระดับแคลเซียมในกระดูก และช่วยลดระดับแคลเซียมในเลือด ตำรับที่ได้รับอนุมัติทะเบียนยาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีทั้งสิ้น  19 ตำรับ (รูปแบบยาฉีด 5 ตำรับ และยาพ่นจมูก  14 ตำรับ) ในข้อบ่งใช้ต่างๆ ได้แก่ รักษาภาวะกระดูกพรุนภายหลังหมดประจำเดือน ปวดกระดูกที่เกิดจากภาวะที่กระดูกถูกย่อยสลายหรือภาวะที่กรดสร้าง osteoid ทำให้กระดูกมีความหนาแน่นตัวน้อยลง โรคปาเก็ทของกระดูก ความผิดปกติทางระบบประสาท (neurodystrophic disorder  หรือ algodystrophy หรือ sudeck's disease) หรือ ภาวะแคลเซียมสูงในเลือดและภาวะแคลเซียมในเลือดสูงอย่างวิกฤติ

     ฐานข้อมูลศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Thai Vigibase) พบรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยา  calcitonin ทั้งหมด  75 รายงาน 207 อาการ  แบ่งเป็นชนิดไม่ร้ายแรง 67 รายงาน 185 อาการ และชนิดร้ายแรง 8 รายงาน 22 อาการ ไม่พบรายงานเกี่ยวกับการเกิดมะเร็งหรือเนื้อร้าย ตัวอย่างอาการไม่พึงประสงค์ชนิดร้ายแรงที่พบ เช่น bronchospasm, dyspnoea, hypercalcaemia และ palpitation เป็นต้น

reference : การเพิกถอนยา  calcitonin ชนิดพ่นทางจมูกในสหภาพยุโรป.[online]. เข้าถึงได้จาก : http://thaihpvc.fda.moph.go.th/thaihvc/Public/NewsAdr/uploads/hpvc_171.pdf

 

 ทบทวนความเสี่ยง


       ในเดือน พฤษภาคม 2556 ได้พบความเสี่ยง เรื่อง การบันทึกข้อมูลการใช้ยา ของผู้ป่วยในใบสั่งยา และใน  OPD card ไม่ตรงกัน  7 ครั้ง ซึ่งจะส่งผลให้ข้อมูลประวัติการใช้ยาของผู้ป่วยผิดพลาด และการประเมินผลการรักษาของแพทย์เกิดความคลาดเคลื่อน 

     ตัวอย่างความคลาดเคลื่อน

     ผู้ป่วยรายหนึ่ง มารับการตรวจตามนัด มีการสั่งยา Atenolol 50 mg .  1/2 x 1 เม็ด  ในใบสั่งยา 



      แต่เมื่อ ติดตาม ข้อมูลการบันทึกการใช้ยา ใน OPD card ของผู้ป่วย ในวันเดียวกัน พบว่า มีการบันทึกข้อมูลการใช้ยา  Atenolol เป็น Atenolol 1/4 x1 เม็ด

       

          ทำให้แพทย์เข้าใจว่า ผู้ป่วยได้รับยา Atenolol 1/4 x1 แต่ที่จริงแล้ว ผู้ป่วยได้รับยา Atenolol 1/2 x1 ตามคำสั่งในใบสั่งยา        

          จากความเสี่ยงที่พบดังกล่าว ได้มีการแก้ไขโดย หากพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงวิธีการกินยา ปรับขนาดยา ให้สอบถามผู้ป่วยเพื่อยืนยันว่าแพทย์ปรับขนาดยาหรือไม่ ถ้าผู้ป่วยไม่แน่ใจ ให้ยืนยันการสั่งใช้ยากับแพทย์อีกครั้ง

 

     ตอบคำถามร่วมสนุกประจำสัปดาห์

        คำถามประจำฉบับ วันที่ 16 มิถุนายน 2556

 ยาชนิดใดที่พบว่าเกิดการแพ้ยามากที่สุดในโรงพยาบาล และอาการที่แพ้คืออะไร 

          โดยตอบคำถาม ส่งมาที่ ห้องจ่ายยาต่างๆ ภายใน วันที่ 30 มิถุนายน 2556 และจะประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล ใน วารสาร ฉบับต่อไป  

    กลุ่มงานเภสัชกรรม ขอเชิญชวนท่านผู้อ่านทุกท่าน ร่วมสนุก  เพื่อรับของสมนาคุณต่างๆ มากมายค่ะ

 

ตัวอย่างของรางวัล





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560