1 oct 2013
PHARMA NEWS
ฉบับประจำวันที่ 1 ตุลาคม 2556
ข่าวจากฝ่ายเภสัช
ยาตัวอย่างในโรงพยาบาลXarelto ® ( rivaloxaban 15 mg.)
ตัวยาสำคัญ : ใน 1 เม็ด ประกอบด้วยตัวยา riaroxaban 15 mg
ลักษณะยา : ยาเม็ดเคลือบฟิล์มสีแดง กลม นูน ด้านหนึ่งมีโลโก้ BAYER อีกด้านเป็นรูปสามเหลี่ยมคว่ำและตัวเลข 15
กลไกการออกฤทธิ์ : เป็นยากลุ่ม anti-coagulant โดยออกฤทธิ์ ในการยับยั้ง โดยตรงต่อ factor Xa
คุณสมบัติทางคลีนิก : ใช้ในการป้องกันการเกิด stroke และลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดในผู้ป่วย non-valvular atrial fibrillation รักษาลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำส่วนลึก (Deep Vein Thrombosis,DVT) และป้องกันการกลับเป็นซ้ำของ DVT และลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดที่ปอด ( Pulmonary Embolism,PE) หลังการเกิด DVT ชนิดเฉียบพลัน (acute DVT) ในผู้ใหญ่
ขนาดยา :
stroke prevention in atrial fibrillation 20 mg วันละ 1 ครั้ง
ผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องปานกลาง 15 mg วันละ 1 ครั้ง
venous thrombo embolism
deep vein thrombosis แบบเฉียบพลัน ขนาดเริ่มต้น 15 mg วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ตามด้วย 20 mg. วันละ 1 ครั้ง สำหรับการรักษาต่อเนื่อง
ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยาและส่วนประกอบของยา ผู้ที่กำลังมีเลือดออก ผู้ที่มีโรคตับที่มีความเกี่ยวข้องกับความผิดปรกติของการแข็งตัวของเลือด ห้ามใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
ปฏิกริยากับยาอื่น : ห้ามใช้ร่วมกับยาต้านเชื้อรากลุ่ม azole แต่ใช้ร่วมกับ fluconazole ได้, ยาต้านไวรัสกลุ่ม Protease Inhibitor
ยากลุ่ม Fluoroquinolone กับ อาการไม่พึงประสงค์
ในการเกิดปลายประสาทอักเสบ
คณะกรรมการอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศให้มีการปรับปรุงแก้ไขเอกสารกํากับยาและ Medication Guide ของยาฆ่าเช้ือแบคทีเรีย กลุ่ม fluoroquinolone ทุกชนิด โดยให้เพิ่มข้อความเกี่ยวกับความเสี่ยงของการเกิดอาการ
ปลายประสาทอักเสบ(Peripheral neuropathy) ท่ีอาจเกิดได้อย่างถาวร ภายหลังจากรับประทานยาดังกล่าว
Peripheral neuropathy เป็นอาการอักเสบที่เกิดบริเวณปลายประสาทของแขนและขา
เช่น พบอาการปวด เกิดรอยไหม้ อาการชา หมดแรง และมีการเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดจากการสัมผัสแสงแดด อุณหภูมิ เป็นต้น อาการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว หลังจากได้รับยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม
fluoroquinolone ทุกชนิด เช่น levofloxacin, ciprofloxacin, moxifloxacin, norfloxacin, ofloxacin
และ gemifloxacin เป็นต้น และสามารถมีอาการคงอยู่ได้นานเป็นเดือน หรือ ปี ภายหลังจากหยุดยา ดังน้ัน
ผู้ป่วยควรใช้ยานี้อย่างระมัดระวัง และบุคลากรทางการแพทย์ควรมีการเฝ้าระวังอาการดังกล่าว
เพ่ิมมากขึ้น
ฐานข้อมูลทะเบียนของประเทศไทยพบทะเบียนยาในกลุ่ม fluoroquinolone รวมทั้งหมด 762 ตํารับ ได้แก่ levofloxacin 31 ตํารับ, ciprofloxacin 264 ตํารับ, moxifloxacin 8 ตํารับ, norfloxacin 379 ตํารับ, ofloxacin 73 ตํารับ, besifloxacin 1 ตํารับ, gatifloxacin 1 ตํารับ, pefloxacin 1 ตํารับ, prulifloxacin1ตำรับ, rufloxacin1ตํารับ และ sitafloxacin 2 ตำรับ
ฐานข้อมูลทะเบียนของประเทศไทยพบทะเบียนยาในกลุ่ม fluoroquinolone รวมทั้งหมด 762 ตํารับ ได้แก่ levofloxacin 31 ตํารับ, ciprofloxacin 264 ตํารับ, moxifloxacin 8 ตํารับ, norfloxacin 379 ตํารับ, ofloxacin 73 ตํารับ, besifloxacin 1 ตํารับ, gatifloxacin 1 ตํารับ, pefloxacin 1 ตํารับ, prulifloxacin1ตำรับ, rufloxacin1ตํารับ และ sitafloxacin 2 ตำรับ
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พบรายงานการเกิด Peripheral neuropathy จากยาในกลุ่ม
fluoroquinolone ทั้งหมด 571 ฉบับ ได้แก่ levofloxacin 260 ฉบับ, ciprofloxacin 200 ฉบับ,
moxifloxacin 80 ฉบับ, norfloxacin 8 ฉบับ, ofloxacin 27 ฉบับ, gatifloxacin 8 ฉบับ, pefloxacin 1
ฉบับ, gemifloxacin 1 ฉบับ, enoxacin 1 ฉบับ, lomefloxacin 1 ฉบับ, fleroxacin 1 ฉบับ,
sparfloxacin1ฉบับ และ trovafloxacin15ฉบับ
ฐานข้อมูลเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของประเทศไทย พบรายงานการเกิด Peripheral
neuropathy จากยาในกลุ่ม fluoroquinolone ทั้งหมด 1ฉบับโดยเป็นยาที่สงสัย levofloxacin
ยาในบัญชียาโรงพยาบาลพุทธโสธร ที่เป็นยาในกลุ่ม fluoroquinolone ได้แก่ levofloxacin tablet 250 mg. , levofloxacin injection 250 mg. (Cravit ), Ciprofloxacin Hcl tablet 250 mg., Ciprofloxacin lactate injection 200 mg/50 ml., ofloxacin 200 mg. tablet
reference
1. http://thaihpvc.fda.moph.go.th/thaihvc/Public/main.jsf
2.http://www.fda.gov/Safety/MedWatch/SafetyInformation/SafetyAlertsforHumanMedical Products/ucm365302.htm
พบความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา ที่เกิดจากการเขียนคำสั่งใช้ยาที่ไม่ชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาในขนาดที่สูงกว่าขนาดที่เคยได้รับ และผลการรักษาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย รายละเอียดดังนี้
วันที่ 3 มิถุนายน 2556 ผู้ป่วยมาตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก ประวัติ กินยา warfarin ขนาด 24 mg/สัปดาห์ ซึ่งเป็นขนาดที่ INR on target ได้มีการสั่งยา โดยเขียนว่า 5 mg. 1/2 x hs , warfarin 3 mg. 1/2 x hs แล้วเขียนปีกกา " ทุกวัน เว้นวันจันทร์ " แต่เขียนทุกวัน ไว้บรรทัดเดียวกับขนาด 5 mg. แล้วเขียน เว้นวันจันทร์ ไว้บรรทัดเดียวกับขนาด 3 mg . ห้องยาจึงจ่ายยาไป โดย ให้กินยา warfarin 5 mg. 1/2 x hs ทุกวัน และ warfarin ขนาด 3 mg 1/2 x hs ทุกวัน เว้น วันจันทร์ ขนาดยาที่ได้รับ เป็น 26.5 mg/สัปดาห์
วันที่ 29 กรกฎาคม 2556 ผู้ป่วยมาตรวจตามนัด พบค่า INR = 3.72 แพทย์ส่งพบเภสัชกร เพื่อหาสาเหตุที่ค่า INR สูงขึ้น จึงพบความคลาดเคลื่อนดังกล่าว
การแก้ไขป้องกัน
1. แจ้งแพทย์ทราบถึงสาเหตุของความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้น
2. แพทย์ปรับขนาดยาของผู้ป่วยให้เป็นขนาดเดิมที่เคยได้รับ คือ 24 mg./สัปดาห์
3. ทบทวนเหตุการณ์ในกลุ่มงานเภสัชกรรม กำหนดให้ ผู้ป่วยที่ได้รับยา warfarin ทุกราย ต้องพบเภสัชกรห้องให้คำปรึกษาแนะนำการใช้ยา เพื่อทบทวนข้อมูลการกินยาของผู้ป่วย
reference
1. http://thaihpvc.fda.moph.go.th/thaihvc/Public/main.jsf
2.http://www.fda.gov/Safety/MedWatch/SafetyInformation/SafetyAlertsforHumanMedical Products/ucm365302.htm
ผลการดำเนินงาน ถุงผ้า งานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วย นอก
กลุ่ม งานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้จัดกิจกรรม มอบถุงผ้าใส่ยา ให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง และต้องมาพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง โดยส่งมอบยาใส่ลงในถุงผ้า และอธิบายให้ผู้ป่วยนำยาที่เหลือทั้งหมดใส่ลงในถุงผ้า เมื่อมารับยาครั้งต่อไป เมื่อผู้ป่วยมารับยาพร้อมกับยาที่เหลือในถุงผ้า เจ้าหน้าที่จะนำยาเดิมที่เหลือมาตรวจสอบสภาพและวันหมดอายุ หากยามีสภาพที่ดี จะนำยาเดิมกลับมาใช้กลับผู้ป่วยคนเดิม โดยหักลบยาเดิมจากยาที่แพทย์สั่ง ทำให้ผู้ป่วยได้ใช้ยาเดิมจนหมด ป้องกันการใช้ยาที่เสื่อมสภาพ หรือหมดอายุ และลดค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาลได้อีกด้วย
ผลการดำเนินการ ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2555- เดือน สิงหาคม 2556 เป็นดังนี้
มีผู้ป่วยที่ได้ทำกิจกรรมถุงผ้า ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2555 จนถึง เดือน สิงหาคม 2556 รวมทั้งสิ้น 3,955 คน จำนวนผู้ป่วยในแต่ละเดือน ดังกราฟ
กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยที่ทำกิจกรรมถุงผ้าในแต่ละเดือน
กราฟแสดงมูลค่ายาที่ประหยัดได้จากกิจกรรมถุงผ้าในแต่ละเดือน
มูลค่ายาที่โรงพยาบาลประหยัดได้ จากการทำกิจกรรมถุงผ้า ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2555 จนถึง เดือน สิงหาคม 2556
รวมทั้งสิ้น 1,370,233 บาท
ทบทวนความเสี่ยง เพื่อการป้องกันเชิงระบบ
พบความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา ที่เกิดจากการเขียนคำสั่งใช้ยาที่ไม่ชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาในขนาดที่สูงกว่าขนาดที่เคยได้รับ และผลการรักษาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย รายละเอียดดังนี้
วันที่ 3 มิถุนายน 2556 ผู้ป่วยมาตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก ประวัติ กินยา warfarin ขนาด 24 mg/สัปดาห์ ซึ่งเป็นขนาดที่ INR on target ได้มีการสั่งยา โดยเขียนว่า 5 mg. 1/2 x hs , warfarin 3 mg. 1/2 x hs แล้วเขียนปีกกา " ทุกวัน เว้นวันจันทร์ " แต่เขียนทุกวัน ไว้บรรทัดเดียวกับขนาด 5 mg. แล้วเขียน เว้นวันจันทร์ ไว้บรรทัดเดียวกับขนาด 3 mg . ห้องยาจึงจ่ายยาไป โดย ให้กินยา warfarin 5 mg. 1/2 x hs ทุกวัน และ warfarin ขนาด 3 mg 1/2 x hs ทุกวัน เว้น วันจันทร์ ขนาดยาที่ได้รับ เป็น 26.5 mg/สัปดาห์
วันที่ 29 กรกฎาคม 2556 ผู้ป่วยมาตรวจตามนัด พบค่า INR = 3.72 แพทย์ส่งพบเภสัชกร เพื่อหาสาเหตุที่ค่า INR สูงขึ้น จึงพบความคลาดเคลื่อนดังกล่าว
การแก้ไขป้องกัน
1. แจ้งแพทย์ทราบถึงสาเหตุของความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้น
2. แพทย์ปรับขนาดยาของผู้ป่วยให้เป็นขนาดเดิมที่เคยได้รับ คือ 24 mg./สัปดาห์
3. ทบทวนเหตุการณ์ในกลุ่มงานเภสัชกรรม กำหนดให้ ผู้ป่วยที่ได้รับยา warfarin ทุกราย ต้องพบเภสัชกรห้องให้คำปรึกษาแนะนำการใช้ยา เพื่อทบทวนข้อมูลการกินยาของผู้ป่วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น