PHARMA NEWS
ฉบับประจำวันที่ 16 ตุลาคม 2556
ข่าวจากฝ่ายเภสัช
เปลี่ยนแปลงยา Ceftriaxone Injection
กลุ่มงานเภสัชกรรม เปลี่ยนแปลงบริษัทผู้จำหน่ายยา Ceftriaxone 1 กรัม จากบริษัท ยูโทเปียน จำกัด ในชื่อการค้า UTOCEFTRIAXONE ® เป็นบริษัท ฟอร์ท ฮามินตัน ฮอสปิตอล จำกัด ในชื่อการค้า Zontriaxone ® ตามผลการประกวดราคายา เขต 6 ซึ่งยาบริษัทใหม่นี้ มีความคงตัวเปลี่ยนแปลงไปจากยาเดิม ดังนี้
ประเภทของตัวทำละลายและอัตราการให้ยา
ตัวทำละลาย
|
ความเข้มข้น
|
Diluent
|
rate
of administration
|
||
IM
|
Direct IV
|
IV infusion
|
|||
1%
lidoain
|
1g/3.5 ml
|
IM
|
-
|
-
|
|
SWI
|
1g/10 ml
|
-
|
2-4 นาที
|
-
|
|
SWI
|
1g/10 ml
|
D5W,NSS,SWI
NSS+D5W
|
-
|
-
|
30 นาที
|
ประเภทของตัวทำละลายและความคงตัว
ตัวทำละลาย
|
ความเข้มข้น
|
Diluent
|
after
recons
|
after
dilution
|
||
2-8 C
|
อุณหภูมิห้อง
|
2-8 C
|
อุณหภูมิห้อง
|
|||
1%
lidoain
|
1g/3.5 ml
|
-
|
-
|
|||
SWI
|
1g/10 ml
|
24 ชั่วโมง
|
6 ชั่วโมง
|
|||
SWI
|
1g/10 ml
|
D5W,NSS,SWI
NSS+D5W
|
24 ชั่วโมง
|
6 ชั่วโมง
|
24 ชั่วโมง
|
6 ชั่วโมง
|
SWI = sterile water for injection
จะเห็นได้ว่า ยา ceftriaxone injection ในชื่อการค้า Zontriaxone หลังจากผสมแล้ว จะมีความคงตัวที่อุณหภูมิห้อง 6 ชั่วโมง
เอกสารอ้างอิง : http://thaihpvc.fda.moph.go.th/thaihvc/Public/main.jsf
ทบทวนความเสี่ยง เพื่อการป้องกันเชิงระบบ
ความรู้คู่ยา
เพิ่มคำเตือนจากการใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม OPIOID
คณะกรรมการอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา เตรียมแจ้งให้บริษัทผู้ผลิตยาเพิ่มข้อความคําเตือนในเอกสารกํากับยาบรรเทาปวด
กลุุ่ม Opioidชนิดต่างๆ เช่น oxycodone และ morphine เป็นต้น ซึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์เป็นระยะเวลานานๆ
(long acting) เกี่ยวกับ ความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากการใช้ยาเกินขนาด
ก่อนหน้าน้ีมีการกําหนดข้อความบนเอกสารกํากับยาเหล่านี้ว่าใช้รักษาอาการปวดปานกลาง
ถึงปวดมาก แต่ในครั้งนี้ได้มีการเสนอข้อความใหม่แทนคือใช้เพื่อบรรเทาปวดรุนแรง แต่ควรใช้อย่างเพียงพอใน
ขนาดที่เหมาะสมในแต่ละวัน โดยการรักษาด้วยยาดังกล่าวควรเป็นกรณีที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีรักษา
ทางเลือกอื่นๆได้แล้ว
คณะกรรมการอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา ยังเสนอให้ ควรมีคําเตือนใหม่ใน boxed warning เก่ียวกับความเสี่ยงของการเกิด
อาการถอนยา (withdrawal syndrome) เช่น หายใจเร็ว ตัวส่ัน ทานอาหารได้น้อย เป็นต้น ในเด็กทารกและ
เด็กแรกเกิดในช่วงการตั้งครรภ์ คลอด และช่วงเล้ียงดูต่างๆ
นอกจากนี้รายงานของ US FDA พบว่าแพทย์จํานวนหนึ่งจ่ายยาบรรเทาปวดเพ่ือรักษา
อาการอื่นๆเช่น ปวดไมเกรน เป็นต้น ในขณะที่ผู้ป่วยบางครั้งได้เค้ียวยาที่ออกแบบให้กลืน (extended
release pill) ซึ่งสาเหตุดังกล่าวอาจทําให้พบการใช้ยาที่เกินขนาดได้
ฐานข้อมูลเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ องค์การอนามัยโลก พบรายงาน overdose 77 ฉบับ
และ withdrawal syndrome neonatal 7 ฉบับ จากการใช้ยาในกลุ่ม Opioids
ฐานข้อมูลเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไม่พบ
รายงาน overdose และ withdrawal syndrome neonatal จากการใช้ยาดังกล่าว
เอกสารอ้างอิง : http://thaihpvc.fda.moph.go.th/thaihvc/Public/main.jsf
ทบทวนความเสี่ยง เพื่อการป้องกันเชิงระบบ
พบความเสี่ยงต่อการแพ้ยา รายละเอียดดังนี้
ผู้ป่วยหนึ่งราย เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล มีประวัติแพ้ยา penicillin ต่อมาแพทย์สั่งยา Tazocin (Piperacillin + tazobactam
) ซึ่งเป็นยาที่อาจทำให้ผู้ที่แพ้ยา penicillin เกิดการแพ้ยาได้ ห้องยา
ได้จ่ายยา และได้มีการให้ยาผู้ป่วยไป 3 วัน ติดตามอาการผู้ป่วย พบ
ว่าผู้ป่วยไม่แพ้ยา
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น : มีการสั่งยา จ่ายยา บริหารยาที่ผู้ป่วยอาจเกิด
การแพ้ยาได้
ทบทวนปัญหาและหาแนวทางการป้องกันเชิงระบบ
1. การลงรหัสยาที่ผู้ป่วยแพ้ พบว่าไม่มีการบันทึกรหัสยา Tazocin ที่
เป็นยา local made แก้ไขโดย จะเพิ่มการบันทึกรหัสยา Tazocin
ยาที่เป็น local made ต่อจากยา Tazocin ที่เป็นยา original ในผู้
ป่วยทุกรายที่แพ้ยากลุ่มนี้
2. ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยาที่อาจเกิดการแพ้ยาข้ามกลุ่ม หรือยาที่มีสูตร
โครงสร้างที่อาจทำให้แพ้ยาได้ ต้องยืนยันการสั่งยากับแพทย์ทุกครั้ง
3. ตั้งระบบคอมพิวเตอร์ แสดงวันที่ที่มีการบันทึกแพ้ยา ครั้งล่าสุด
หากมีการบันทึกการแพ้ยาก่อนปี 2554 เภสัชกรต้องตรวจสอบการ
บันทึกแพ้ยาให้ถูกต้อง
4. หากมีการจัดซื้อยาใหม่ในโรงพยาบาล ยาที่มีชื่อสามัญทางยา
เดียวกันให้ใช้รหัสยาเดิม เพื่อป้องกันการล็อคยาที่ผู้ป่วยอาจแพ้ได้
juncdoQrio_gu Adam Leon Free Download
ตอบลบvieducheasign