16 december 2013
PHARMA NEWS
ฉบับประจำวันที่ 16 ธันวาคม 2556
รายการยาใหม่ในโรงพยาบาล
1. Fluticasone furoate nasal inhalation
ชื่อการค้า : AVAMYS ®
รูปแบบ : ยาน้ำแขวนตะกอน สำหรับพ่นจมูก
ข้อบ่งใช้ : สำหรับรักษาอาการผิดปรกติทางจมูก (น้ำมูกไหล คัด จมูก คันจมูก และจาม) และอาการผิดปรกติทางตา ( คัน/แสบตา น้ำตาไหลและตาแดง) จากโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ชนิดเป็นเฉพาะฤดูกาล (seasonal allergic rhinitis) สำหรับรักษาอาการผิดปรกติทางจมูก (น้ำมูกไหล คัดจมูก คันจมูก และจาม) จากโรคเยื่อบุจมูกอักเสบ จากภูมิแพ้ชนิดเป็นตลอดทั้งปี (perenial allergic rhinitis)
ขนาดยาและวิธีใช้ :
ผู้ใหญ่ : พ่นจมูกข้างละ 2 ครั้ง วันละครั้ง
เด็ก ( อายุ 2-11 ปี) : พ่นจมูกข้างละ 1 ครั้ง วันละครั้ง
** หมายเหตุ : เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ยังไม่มีข้อมูลที่แนะนำให้ใช้
ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยาหรือส่วนประกอบใดๆในยานี้
วิธีใช้เครื่องพ่น
1. เขย่าเครื่องพ่นแรงๆ
2. เปิดฝาครอบขวดยาออก
3. ก่อนใช้ยาให้สั่งน้ำมูกเพื่อให้จมูกโล่ง และก้มศรีษะไปข้างหน้าเล็กน้อย
4. ถือเครื่องพ่นยาให้ตั้งตรงและค่อยๆสอดหัวพ่นยาเข้าไปในรูจมูกข้างหนึ่ง
5. หันส่วนปลายของหัวพ่นยาออกทางด้านข้างของจมูก ให้ห่างจากจุดกึ่งกลางของสันจมูก การปฏิบัติเช่นนี้จะช่วยให้สามารถพ่นยาเข้าไปยังตำแหน่งที่ถูกต้องในจมูกได้
6. ในขณะที่สูดลมหายใจเข้าทางรูจมูก ให้กดแป้นยาหนึ่งครั้งจนสุดด้วยแรงพอสมควร
7. ควรระวังไม่ให้ละอองยาเข้าตา หากละอองยาเข้าตาให้ล้างออกด้วยน้ำ
8. นำปลายหัวพ่นยาออกจากจมูก พร้อมกับหายใจออกทางปาก
9. หากแพทย์สั่งให้พ่นยาเข้ารูจมูกวันละ 2 ครั้ง ให้ทำซ้ำตั้งแต่ข้อ 4-6
10. ทำข้อ 4-6 เพื่อพ่นรูจมูกอีกข้างหนึ่ง
11. ปิดฝาครอบขวดยาให้เข้าที่
2. Topiramate tablet 50 mg.
ชื่อการค้า : TOPAMAX ®
รูปแบบ : ใน 1 เม็ด ประกอบด้วยตัวยา Topiramate 50 mg.
ข้อบ่งใช้ : ใช้สำหรับรักษาโรคลมชัก ได้ทั้งผู้ใหญ่ และ เด็ก ( อายุมากกว่า 2 ปี ขึ้นไป)
ขนาดยาและวิธีใช้ :
ผู้ใหญ่ : เริ่มให้ยาขนาด 25-50 mg. ก่อนนอน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากนั้นเพิ่มขนาดยาขึ้นครั้งละ 25-50 (ถึง 100 mg.) mg. ต่อวัน ทุกสัปดาห์หรือทุก 2 สัปดาห์ โดยแบ่งให้วันละ 2 ครั้ง
เด็ก ( อายุมากกว่า 2 ปี) : 5-9 mg/kg/day โดยแบ่งให้วันละ 2 ครั้ง ควรปรับขนาดยาอย่างช้าๆ โดยเริ่มให้ยาขนาด 25 mg. ( หรือน้อยกว่า ในช่วง 1-3 mg/kg/day) ทุกสัปดาห์หรือทุก 2 สัปดาห์ โดยแบ่งให้วันละ 2 ครั้ง จนได้ขนาดที่ได้ผลในการรักษา
ข้อควรระวัง :
1. ยานี้อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม ไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือเครื่องจักรกลขณะใช้ยานี้ และไม่ควรดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมขณะกินยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดความผิดปรกติของเม็ดเลือด
3. ห้ามใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ เพราะอาจทำให้ทารกพิการได้
4. ควรระวังในการใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคตับ ไต
5. ยานี้อาจทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นแบบเฉียบพลัน ( acute myopia) และโรคต้อหินชนิด secondary angle closure glaucoma
เปลี่ยนแปลงยาในโรงพยาบาล
1. Ferrous sulphate drop.
เปลี่ยนแปลงยา เป็น ชื่อการค้า PEDIRON ® drop. บริษัท ห้างยาไทย 1942 จำกัด เนื่องจากยาบริษัทเดิมขาดชั่วคราว
ขนาดยา : ใน 0.6 ml. ประกอบด้วย ferrous sulphate 50 mg.
โรงพยาบาลพุทธโสธร ขอเชิญชม
concert "เพลงรักรวมใจ จัดซื้อเครื่องมือแพทย์ "
วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 13.00 - 15.00 น.
ณ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อหารายได้ ในการจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ และเครื่องมือใช้ในการพยาบาล ที่จำเป็นในการดูแลรักษาผู้ป่วย ภายในอาคารสร้างใหม่ 14 ชั้น ซึ่งยังขาดแคลน อีกจำนวนมากรวมมูลค่า 7 ล้านบาท
2. เพื่อเป็นการตอบแทน ผู้ให้ความอนุเคราะห์ด้วยเสียงเพลงในเทศกาลแห่งความรัก ด้วยวงดนตรี - นักร้องคุณภาพ และนักร้องกิตติมศักดิ์
กำหนดการและรายละเอียด
12.30 น. : ท่านผู้มีเกียรติ ลงทะเบียนและรับอาหารว่าง
13.00 น. : เริ่มบรรเลงเพลงรักรวมใจจัดซื้อเครื่องมือแพทย์โดย
สุเทพ วงศ์กำแหง ศิลปินแห่งชาติ นักร้องแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน
อุมาพร บัวพึ่ง นักร้องแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน
ดร.วินัย พันธุรักษ์ อดีตวง the impossible และ วง the oriental funk
นัดดา วิยกาญจน์ เจ้าของรางวัลนานาชาติ the best song award
15.00 น. : สรุปรายได้และปิดงาน
สรุปผลการทำกิจกรรมถุงผ้า
สรุปผลการทำกิจกรรมถุงผ้า
กลุ่ม งานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้จัดกิจกรรม มอบถุงผ้าใส่ยา ให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง และต้องมาพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง โดยส่งมอบยาใส่ลงในถุงผ้า และอธิบายให้ผู้ป่วยนำยาที่เหลือทั้งหมดใส่ลงในถุงผ้า เมื่อมารับยาครั้งต่อไป เมื่อผู้ป่วยมารับยาพร้อมกับยาที่เหลือในถุงผ้า เจ้าหน้าที่จะนำยาเดิมที่เหลือมาตรวจสอบสภาพและวันหมดอายุ หากยามีสภาพที่ดี จะนำยาเดิมกลับมาใช้กลับผู้ป่วยคนเดิม โดยหักลบยาเดิมจากยาที่แพทย์สั่ง ทำให้ผู้ป่วยได้ใช้ยาเดิมจนหมด ป้องกันการใช้ยาที่เสื่อมสภาพ หรือหมดอายุ และลดค่าใช้
จ่ายด้านยาของโรงพยาบาลได้อีกด้วย
ผลการดำเนินการ ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2555- เดือน กันยายน 2556 มีผู้ป่วยที่ได้ทำกิจกรรมถุงผ้า รวมทั้งสิ้น 4,272 คน จำนวนผู้ป่วยในแต่ละเดือน ดังกราฟ
กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยที่เข้าร่วมกิจกรรมถุงผ้าในปีงบประมาณ 2556
จากการที่ผู้ป่วยนำมาคืนที่โรงพยาบาล ทำให้โรงพยาบาลสามารถประหยัดค่ายาได้ รวมทั้งสิ้น 1,460,660.95 บาท ดังกราฟ
กราฟแสดงมูลค่ายาที่ผู้ป่วยนำมาโรงพยาบาล
ช่องทางใหม่ในการรายงานความเสี่ยง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น