PHARMA NEWS

ฉบับประจำวันที่ 1 ธันวาคม 2556

ข่าวจากฝ่ายเภสัช

รายการยาใหม่ในโรงพยาบาล

1     1. Etoricoxib 60 mg. 





เปลี่ยนแปลงขนาดยาจาก เดิม Etoricoxib 90 mg. เป็น Etoricoxib  60 mg.
ชื่อการค้า :   ARCOXIA  ®
ข้อบ่งใช้  : เป็นยาต้านการอักเสบ ใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อม, กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด, ข้ออักเสบชนิดเฉียบพลัน,ปวดกระดูกและกล้ามเนื้อชนิดเรื้อรัง
ขนาดยา : 30-60 mg. ขึ้นกับสภาวะของโรค
ข้อห้ามใช้ยา :
-     ผู้ที่แพ้ยาและส่วนประกอบในยานี้
-     เด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี
-     ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด
อาการข้างเคียง : อาการข้างเคียงทั่วไป ขาดกำลังอ่อนเพลีย วิงเวียน บวมน้ำ มีของเหลวคั่ง เท้าบวม ความดันเลือดสูง

     2.  Simvastatin 20 mg.




เปลี่ยนแปลงขนาดยาจาก Simvastatin  40 mg.  เป็น Simvastatin 20 mg.
ชื่อการค้า : ZIMVA ®
ข้อบ่งใช้ : ใช้ร่วมกับการควบคุมอาหารเพื่อลดระดับโคเลสเตอรอลชนิด LDL  ในผู้ป่วยที่มีภาวะคลอเลสเตอรอลในเลือดสูงและมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นดรคหลอดเลือดหัวใจ
ขนาดยา : ขนาดเริ่มต้น 10-20 mg. ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน  80 mg. วันละครั้งในตอนเย็น
ข้อห้ามใช้ :
     - ผู้ที่แพ้ยาและส่วนประกอบของยานี้ และผู้ที่แพ้ยาในกลุ่ม HMG-CoA reductase inhibitor
        - หญิงมีครรภ์หรือ คาดว่าจะตั้งครรภ์ ผู้ให้นมบุตร
-      -  ผู้ป่วยโรคตับ
อาการข้างเคียง : คลื่นใส้ ท้องร่วง เป็นผื่น มึนงง ตะคริว ปวดกล้ามเนื้อ ตับอ่อนอักเสบ

3.          Roflumilast 500 mcg.



ชื่อการค้า : Daxas ®
ข้อบ่งใช้ : ใช้สำหรับรักษาแบบประคับประคองในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างรุนแรง เป็นยาเสริมเพิ่มจากการรักษาด้วยยาขยายหลอดลม
ขนาดยา : 500 mcg. วันละ 1 เม็ด
ข้อห้ามใช้ :
-     ผู้ที่แพ้ยาและส่วนประกอบของยา
-      ผู้ที่มีภาวะตับบกพร่องปานกลางหรือรุนแรง
อาการข้างเคียง : ท้องเสีย น้ำหนักลด คลื่นใส้ ปวดท้อง ปวดศรีษะ

เปลี่ยนแปลงรายการยาในโรงพยาบาล

1.          Norfloxaxin   200 mg.



เปลียนแปลงยามาเป็นชื่อการค้า Norfloxyl ® ผลิตโดยบริษัท บางกอกแลปแอนด์คอสเมติค จำกัด จากยาเดิม เป็นยาที่ผลิตโดย องค์การเภสัชกรรม  เนื่องจากยาจากองค์การเภสัชกรรมขาด

2.          Amitriptylline 10 mg.



เปลียนแปลงยามาเป็นชื่อการค้า POLYTANOL 10® ผลิตโดยบริษัท  ฟาร์มาสันต์ แล็บบอราตอรี่  จากยาเดิม เป็นยาที่ผลิตโดย องค์การเภสัชกรรม  เนื่องจากยาจากองค์การเภสัชกรรมขาด

3.Glipizide 5 mg.



เปลี่ยนแปลงยามาเป็น ชื่อการค้า  GLYCEDIAB ®

3.          Diltiazem 120 mg




เปลี่ยนแปลงยามาเป็นชื่อการค้า PROGOR ® ผลิตโดยบริษัท SMB TECHNOLOGY S.A. ประเทศเบลเยี่ยม

4.          Gemfibrozil  6oo mg.



เปลี่ยนแปลงยามาเป็นชื่อการค้า G.F.B – 600 ®  โดยบริษัท UMEDA CO.,LTD

5.          Acyclovir Injection 250 mg




เปลี่ยนแปลงมาเป็นชื่อการค้า TROVIR ผลิตโดยบริษัท TROIKAA PHARMACEUTICAL LTD. ประเทศอินเดีย

6.         Pantoprazole Injection 40 mg.




เปลี่ยนแปลงมาเป็นชื่อการค้า PANTOPPI ผลิตโดยบริษัท SRS Phamaceutical Pvt. Ltd. ประเทศอินเดีย

โรงพยาบาลพุทธโสธร ขอเชิญชม
concert  "เพลงรักรวมใจ จัดซื้อเครื่องมือแพทย์ "

วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 13.00 - 15.00 น.
ณ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อหารายได้ในการจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ และเครื่องมือใช้ในการพยาบาลที่จำเป็นในการดูแลรักษาผู้ป่วย ภายในอาคารสร้างใหม่ 14 ชั้น ซึ่งยังขาดแคลนอีกจำนวนมากรวมมูลค่า 7 ล้านบาท
 2. เพื่อเป็นการตอบแทนผู้ให้ความอนุเคราะห์ด้วยเสียงเพลงในเทศกาลแห่งความรักด้วยวงดนตรี- นักร้องคุณภาพและนักร้องกิตติมศักดิ์

กำหนดการและรายละเอียด
12.30 น. : ท่านผู้มีเกียรติ ลงทะเบียนและรับอาหารว่าง
13.00 น. : เริ่มบรรเลงเพลงรักรวมใจจัดซื้อเครื่องมือแพทย์โดย
     สุเทพ     วงศ์กำแหง     ศิลปินแห่งชาติ นักร้องแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน
     อุมาพร     บัวพึ่ง     นักร้องแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน
     ดร.วินัย     พันธุรักษ์     อดีตวง the impossible และ วง the oriental funk
     นัดดา     วิยกาญจน์     เจ้าของรางวัลนานาชาติ the best song award 
15.00 น. : สรุปรายได้และปิดงาน

ความรู้คู่ยา

Anaphylactic Reaction จากการใช้ยา

          เป็นอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (Adverse drug reaction : ADR) ที่ร้ายแรง อาการดังกล่าวเป็น ปฏิกริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน (Immunologic reaction) ที่รุนแรง และเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่นาทีหลังได้รับสารก่อแพ้ (antigen) หากไม่ได้รับกาารักษาที่ทันท่วงที ผู้ป่วยก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ อาการที่แสดงสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายระบบของร่างกาย ได้แก่ ทางผิวหนัง เช่น ผื่นแดง ลมพิษ เป็นต้น ทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมตีบ     กล่องเสียงบวม  เป็นต้น  ทางเดินอาหาร เช่น คลื่นใส้ อาเจียน  เป็นต้น  ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะความดันโลหิตต่ำเป็นต้น   anaphylactic reaction แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Anaphylactic reaction (anaphylaxis) จัดเป็นการแพ้ยาแบบ type I หรือ Immediate hypersensitivity reaction มีกลไกของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น immunoglobulin E (IgE) เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดอาการแพ้
2. Anaphylactoid reaction (pseudo allergy) มีกลไกที่ไม่เกี่ยวข้องกับ IgE ทำให้เกิดอาการแพ้ได้
นับตั้งแต่ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพได้พัฒนาฐานข้อมูล Thai vigibase ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมาจนถึง วันที่ 15 กรกฎาคม 2556 ศูนย์เฝ้าระวัง ได้รับรายงานอาการ  anaphylactic reaction  จำนวนทั้งหมด  16,803 รายงาน  ความร้ายแรงและผลลัพธ์ของอาการเป็นดังนี้
ตารางที่ 1   ความร้ายแรงของอาการ

รายการ
จำนวน
ร้อยละ
เสียชีวิต
76
0.4
อันตรายถึงชีวิต
3,162
18.8
ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือทำให้เพิ่มเวลาในการรักษานานขึ้น
9,077
54.0
ก่อให้เกิดความผิดปกติโดยกำเนิดของทารก
1
0.01
มีความสำคัญทางคลีนิก
287
1.7
ไม่ระบุ
319
1.9
  
ตารางที่ 2 ผลลัพธ์ของอาการ

 ผลลัพธ์ของอาการไม่พึงประสงค์
จำนวน
ร้อยละ
หายเป็นปกติโดยไม่มีร่องรอยเดิม
13,613
81
หายโดยยังมีร่องรอยเดิม
923
5.5
ยังมีอาการอยู่
1,252
7.5
เสียชีวิตจากอาการไม่พึงประสงค์
71
0.4
เสียชีวิตโดยอาจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
5
0.03
เสียชีวิตจากสาเหตุอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์
9
0.05
ไม่สามารถติดตามผลได้
692
4.1



       นอกจากนี้ พบยาที่สงสัยว่าสัมพันธ์กับการเกิด   anaphylactic reaction มีจำนวน 687 ชนิด คิดเป็น  18,620 รายการ (รายงาน 1 ฉบับ มียาที่สงสัยได้มากกว่า  1 รายการ ) ชนิดที่พบมาก 10 อันดับแรก ดังตาราง ที่ 3

ตารางที่ 3 แสดงจำนวนรายการและร้อยละของยาที่ทำให้เกิด anaphylactic reaction ที่พบมาก  10 อันดับแรก

ลำดับ
ชื่อยา
จำนวน
ร้อยละ
 1.
 amoxycillin
1,559
8.4
 2.
diclofenac
1,539
8.3
 3.
ceftriaxone
1,400
7.5
 4.
ibuprofen
1,325
7.1
 5.
Penicillin V (phenoxymethyl penicillin)
733
3.9
 6.
cloxacillin
486
2.6
 7.
Diclofenac for injection
480
2.5
 8.
Sulfamethoxazole+trimethoprim (cotrimoxazole)
480
2.5
 9.
tolperisone
427
2.3
 10.
dicloxacillin
394
2.1


        จากข้อมูลรายงานอาการ anaphylactic reaction ที่ศูนย์เฝ้าระวัง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้รับ สรุปเบื้องต้นได้ว่า อาการดังกล่าวมักเกิดจากการในกลุ่มยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบ และยาแก้ปวด โดยเป็นอาการที่ทราบอยู่ก่อน นอกจากนี้ ยังมีรายงานการเกิดที่พบบ่อย จากการใช้ยาในกลุ่ม systemic chemotherapeutic, contrast media และ diagnostic agent  อีกด้วย ดังนั้น ในการสั่งใช้ยาแต่ละครั้ง ควรมีการซักประวัติแพ้ยาของผู้ป่วย และควรมีการเฝ้าระวังติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว


reference : วิทยา ประชาเฉลิม, ข่าวสารด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 ก.ค.- ก.ย. 2556 หน้า 92-96.

เฝ้าระวังความเสี่ยงยุคใหม่ รวดเร็ว ทันใจ ไม่ยุ่งยาก


      กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้สร้างระบบในการเฝ้าระวังความเสี่ยง ผ่านเทคโนโลยีทางโทรศัพท์ ผ่าน application  ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ที่ชื่อว่า  โปรแกรม LINE 
      วิธีการคือ
- สร้างกลุ่ม LINE ของกลุ่มงานเภสัชกรรม โดยให้เภสัชกรทุกคนเข้าเป็นสมาชิก 
- เมื่อพบความเสี่ยง ถ่ายรูป เหตุการณ์ แจ้งสมาชิกในกลุ่มรับทราบ
- สมาชิกในกลุ่ม LINE รับทราบปัญหาได้ทันที ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการแก้ไขและเฝ้าระวังความเสี่ยงได้อย่างทันที และทั่วถึงกัน

          ตัวอย่างการแจ้งความเสี่ยงผ่านระบบ LINE

1. พบยาเม็ด  MTV  ปนกันกับยา Immipramine ในซองเดียวกัน 


     เมื่อแจ้งความเสี่ยงแล้ว ได้มีการสั่งให้ตรวจสอบยา prepack   ใหม่ทุกซอง เป็นต้น

2. ยา Cephalexin syrup กับ Dicloxacillin syrup ปนมาในถุงเดียวกัน 



     โดยเป็นยา  Cephalexin syrup กับ Dicloxacillin syrup  ซึ่งมีขวดยาที่คล้ายกัน ถูกจัดมาในถุงยาเดียวกัน ตรวจสอบพบก่อนที่จะจ่ายให้ผู้ป่วยไป

3. ความเสี่ยงจากการเขียนคำสั่งยาไม่ชัดเจน


     มีการสั่งยา  warfarin tablet โดยเขียนขนาดยาไม่ชัดเจนว่าต้องการสั่งเป็น warfarin 3 mg. หรือ warfarin 5 mg.
     จากตัวอย่างการรายงานความเสี่ยงดังกล่าว จะเห็นได้ว่า มีวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก ทุกคนสามารถรับทราบความเสี่ยงได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการเฝ้าระวังความเสี่ยงได้อย่างทันที  เข้ากับยุคสมัย เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้ smart phone กันอย่างแพร่หลาย นับเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการที่จะป้องกันความเสี่ยง ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ป่วยได้ 

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560