1 April 2014

PHARMA NEWS


ฉบับประจำวันที่ 1 เมษายน  2557



ข่าวจากกลุ่มงานเภสัชกรรม


อาการไม่พึงประสงค์ จากการฉีดยา  Diclofenac

          ด้วย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้รับรายงาน กรณี การใช้ยา diclofenac โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แล้วพบอาการขาและแขนอ่อนแรง ในผู้ป่วยหลายราย โดยยังไม่สามารถระบุหาสาเหตุที่ชัดเจนได้
           ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พิจารณาแล้วเห็นควรเฝ้าระวังการใช้ยาและติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ภายหลังจากการใช้ยา diclofenac ชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม - 15 พฤษภาคม 2557 เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อไป
  ในส่วนของโรงพยาบาลพุทธโสธร หากทำการบริหารยา diclofenac ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แล้วสงสัยว่าเป็นอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าวหรือไม่ ให้แจ้งมายังกลุ่มงานเภสัชกรรม หมายเลขโทรศัพท์ ภายใน 1800, 1911, 1116, 1216 เพื่อติดตามประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากยาต่อไป


       ผลการดำเนินการกิจกรรมถุงผ้า 

สรุปการทำกิจกรรม  Medication Reconciliation ผู้ป่วยนอก

  กลุ่ม งานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้มีการดำเนินกิจกรรม ทบทวนการใช้ยาของผู้ป่วยนอก  ที่เป็นโรคเรื้อรัง เมื่อเข้ารับการตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก ตามที่แพทย์นัด โดยได้แจ้งให้ผู้ป่วยนำยาที่เหลือ กลับมาด้วยทุกครั้ง เภสัชกรจะเป็นผู้ตรวจสอบยา ให้คำแนะนำ หากพบปัญหา จากการใช้ยา และหากยาที่ผู้ป่วยนำมายังมีสภาพดี จะนำยานั้น มาใช้กับผู้ป่วยคนเดิม โดยหักลบยาจากยาที่แพทย์สั่งในวันนั้น ลดความซ้ำซ้อนจากการกินยา  สามารถสรุปผลการดำเนินการ เดือน เดือน ตุลาคม - ธันวาคม   2556 ดังนี้
     มีผู้ป่วยที่มียาเดิม ที่ต้องทบทวนการใช้ยาทั้งหมด  754  ราย ดังกราฟ
กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยที่ทำ Drug reconciliation






          เมื่อนำยากลับมาใช้ ทำให้โรงพยาบาลสามารถประหยัดค่ายาได้ถึง  207,025. 34 บาท 

กราฟแสดงมูลค่ายาเดิมที่นำมาใช้กับผู้ป่วย




ความรู้คู่ยา


อย. เตือน อย่าใช้ยาแก้ปวดพร่ำเพรื่อ พร้อมแนะ


 อ่านฉลากกำ กับยาอย่างถ้วนถี่ เพื่อความปลอดภัย จากการใช้ยา


          อย. ห่วงใยผู้บริโภค เตือน อย่าใช้ยาแก้ปวดพร่ำเพรื่อ เพราะอาจได้รับอันตรายจากผลข้างเคียงของยา พร้อมแนะ ก่อนใช้ยาควรอ่านเอกสารกํากับยาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากไม่เข้าใจปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้ เพื่อความปลอดภัยจากการใช้ยา
          ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากข้อมูลการใช้ยา พาราเซตามอลของคนไทยพบว่า ส่วนใหญ่มักใช้ยาพาราเซตามอลเกินกว่าปริมาณที่กําหนด เพราะมองว่าเป็นยา พื้นฐาน มีความปลอดภัย และเข้าใจว่าสามารถรักษาได้ทุกอาการปวด ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เนื่องจากยาแก้ปวด แต่ละชนิดมีประสิทธิภาพในการรักษา และความปลอดภัยในการใช้ยาแตกต่างกัน โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 

1. กลุ่มยาแก้ปวดที่ใช้ระงับปวดที่รุนแรงถึงรุนแรงมากที่สุด แต่ไม่มีฤทธิ์ลดไข้ เช่น มอร์ฟีน (morphine) ทรามาดอล (Tramadol) ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ใช้ระงับความเจ็บปวดที่รุนแรงจากอวัยวะภายใน เช่น ปวดนิ่วในไต ปวดกล้ามเนื้อหัวใจจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ปวดจากบาดแผลที่มีขนาดใหญ่ เช่น หลังการ ผ่าตัด การคลอดลูก โรคมะเร็ง ยาประเภทนี้ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ในการซื้อ จึงมักใช้กับคนไข้ในโรงพยาบาลหรือคลินิก เป็นส่วนใหญ่ ยากลุ่มดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงสูง หากได้รับยาเกินขนาดจะทําให้เกิดภาวะอื่น ๆ ตามมา เช่น อาเจียน ระบบหัวใจและหลอดเลือดล้มเหลว ชักและระบบหายใจทํางานช้าลงจนถึงขั้นหยุดหายใจได้ 

2. กลุ่มยาแก้ปวดที่ใช้สําหรับอาการปวดไม่รุนแรง เช่น พาราเซตามอล แอสไพริน ยาต้านการอักเสบที่ ไม่ใช่สเตียรอยด์(Non-steroidal anti-inflammatory drugs : NSAIDs)ซึ่งมีฤทธิ์แก้ปวดลดไข้และต้านการ อักเสบ แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันนาน ๆ โดยเฉพาะยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เนื่องจากจะมีผลต่อ ระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ทําให้คลื่นไส้ ปวดท้อง เป็นแผลบริเวณทางเดินอาหาร, ทําให้ความดันโลหิตสูงขึ้น, หลอดเลือดสมองอุดตัน, ทําให้ง่วงซึม มึนงง ซึมเศร้า, มีผลต่อการทํางานของไต เป็นต้น นอกจากนี้ ยาพาราเซตามอล ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายนั้น หากใช้ยาเกินปริมาณที่แนะนําอาจจะนําไปสู่การเกิดพิษต่อตับ จนนําไปสู่ภาวะตับวาย และเสียชีวิตในที่สุด
          จากผลที่กล่าวมา ผู้บริโภค จึงควรใช้ยารักษาอาการปวดอย่างถูกต้อง ห้ามใช้ยาเกินขนาด ใช้บ่อยครั้ง หรือใช้เป็นระยะเวลานานกว่าที่ระบุไว้บนฉลากหรือเอกสารกํากับยาหรือแพทย์สั่ง เพราะ อาจทําให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย หรือเสียชีวิตได้ รวมทั้งควรอ่านฉลากและเอกสารกํากับยาอย่างถ้วนถี่ และปฏิบัติ ตามวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด ไม่ควรรับประทานยาเกินกว่าปริมาณที่ระบุไว้โดยเฉพาะยาพาราเซตามอล ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 8 เม็ด (เม็ดละ 500 มิลลิกรัม) และหากมีความผิดปกติหรือมีอาการข้างเคียงจาก การใช้ยา อาทิ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร บวมบริเวณท้อง กดเจ็บบริเวณตับ ขอให้พบแพทย์โดยด่วน ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา 

ทบทวนความเสี่ยง เพื่อความปลอดภัย

          กลุ่มงานเภสัชกรรม ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ความคลาดเคลื่อน ก่อนการจ่ายยา และความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา พบว่า ยาที่มักเกิดปัญหา เป็นยาที่มี ชื่อยา และ ลักษณะยาที่คล้ายคลึงกัน จึงได้มีการจัดคู่ยาที่พบ และทำการแก้ไขดังต่อไปนี้
คู่ยาที่ว่าเป็น Look alike ที่มีปัญหาจากรูปแบบลักษณะคล้ายกัน มีการแจ้งเตือนให้ระมัดระวังในการเก็บยาคืนจาก  ward ขึ้นชั้น แก้ไข โดยการติดสติกเกอร์ ย้ายตำแหน่งการวางยาและทำป้ายชื่อให้เห็นชัดเจนขึ้น ดังรายการดังนี้

               
ชื่อยา
ชื่อยา
ปัญหา
วิธีปฏิบัติ
Imipenam inj
Ceftazidium inj
Vial มีฉลากสีเหลืองเหมือนกัน
ติดสติกเกอร์ สีน้ำเงินที่ Amp Imiprnam
Vitamin B complex inj
Haloperidol inj
Ampule เป็นสีชาตัวอักษรสีขาวเหมือนกัน
ติดสติกเกอร์ สีเขียวที่ Amp Haloperidol
Heparin inj
Dormicum inj
Ampule สีใสมีฉลากสีขาวเหมือนกัน
ติดสติกเกอร์ สีเหลืองที่ Amp Heparin
Vitamine B1 inj
Vitamine B complex inj
Ampule เป็นสีชาเหมือนกัน
ติดสติกเกอร์ สีเหลืองที่ Amp Vitamine B1
Microvise 0.5 cc
Microvise 0.85 cc
กล่องเหมือนกันต่างกันที่ระบุปริมาตร
แยกตู้เย็นเก็บคนละตู้

 คู่ยาที่เป็น Sound alike ที่มักพบว่ามีการคีย์ผิดบ่อย  อาจเนื่องมาจาก copy order ไม่ค่อยชัด ทำให้มองรายการยาไม่ค่อยชัดเจน แก้ไข เลือกคู่ยาที่มักผิดบ่อยมาแจ้งเตือน และให้เภสัชที่ screen เขียนกำกับก่อนส่งคีย์ หากไม่ชัดเจนให้ประสาน ward ก่อนทุกครั้ง พบว่าสามารถลดปัญหาในขั้นตอน Pre-dispensing error ลงได้โดยเฉลี่ยร้อยละ 70 รายการมีดังนี้

ชื่อยา
ชื่อยา
Dexamethasone  tab
Dextromethophan tab
Mucosta tab
Ambroxol tab
Adrenaline inj
Adenosine inj
Cefazolin inj
Ceftazidime inj
Ceftriaxone inj
Ceftazidime inj
Imipramine tab
Imodium cap
Norfloxacin tab
Norflex tab
Dobutamine inj
Dopamine inj
Omeprazole inj
Furosemide inj
Warfarin 3 mg
Warfarin 5 mg



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560