16 april 2012


PHARMA NEWS


ฉบับประจำวันที่ 16 เมษายน  2557



ข่าวจากกลุ่มงานเภสัชกรรม

โครงการ สาระน่ารู้สู่ประชาชน

ก         กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร เชิญชวนเข้าร่วมโครงการ สาระน่ารู้สู่ประชาชน เป็นเวทีให้สาระความรู้ และ สอดแทรกความบันเทิงให้ประชาชน บุคลากรในโรงพยาบาล ผู้ป่วยและญาติ ทุกวันศุกร์สุดท้ายของเดือน 
เดือน เมษายน จัดงานวันที่ 29 เมษายน 2557
สถานที่ ลานพักญาติ ด้านหลังอาคารอุบัติเหตุฉุกเฉิน
กิจกรรม  บรรยายวิชาการและสันทนาการ  เรื่อง โรคหน้าร้อน อาหารที่ควรรับประทานในหน้าร้อน 




ความรู้คู่ยา


 ภาวะไตวาย ภายหลังการใช้ยา

          ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญในการขับถ่ายและรักษาสมดุลของร่างกาย ขับของเสียและเกลือแร่ออกจากร่างกายทางปัสสาวะ กรณีที่ไตไม่สามารถรักษาสมดุลได้ ของเสียก็จะค้างในกระเเสเลือด เกิดเป็นภาวะที่เรียกว่าภาวะหรือระบบโรคไตวาย
          ยาเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคไตวาย จากฐานข้อมูล Thai Vigibase ของศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบมีการรายงานภาวะไตทำงานผิดปรกติที่อาจเกิดจากยา 703 ฉบับ ยาที่สงสัยว่าสัมพันธ์กับภาวะไตทำงานผิดปรกติ ภายหลังจากการใช้ยามากที่สุดคือ ยาในกลุ่ม systemic antibiotic, hypotensive, กลุ่มยา anti-inflammatory and antirheumatic products และกลุ่มยา  antiviral for systemic use ตามลำดับ

รูปที่ 1     กลุ่มยาที่สงสัยว่าสัมพันธ์กับภาวะไตทำงานผิดปรกติ 10 ลำดับแรก

          แต่เมื่อพิจารณารายการยาที่สงสัย พบว่า gentamicin เป็นรายการยาที่สงสัยมากเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ enalapril, amphotericin B, tenofovirdisoproxil และ diclofenac ตามลำดับ


รูปที่ 2     รายการยาที่สงสัยว่าสัมพันธ์กับภาวะไตทำงานผิดปรกติ 10 ลำดับแรก

          กล่าวโดยสรุป จากฐานข้อมูล Thai Vigibase พบว่า ระหว่างปี 2527 ถึง 2556 ส่วนใหญ่พบผู้ป่วยเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันภายหลังการใช้ยา โดยเฉพาะผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ รายการยาที่สงสัยว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะไตทำงานผิดปรกติ รวมถึงไตวายนั้น เป็นรายการยาที่ทราบโดยทั่วไปว่ามีความเสี่ยงก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อไต นอกจากนี้ ยังพบว่าเป็นการใช้ยาที่มีความเสี่ยงต่อไตร่วมกัน เช่น ใช้ยา gentamicin ร่วมกับ amikacin, gentamicin ร่วมกับ amphotericin B เป็นต้น ในการนี้ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น หากมีการใช้ยาเหล่านี้ ควรต้องติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้ทันต่อเหตุการณ์

เอกสารอ้างอิง  :  วิมล สุวรรณเกษาวงษ์. รายงานภาวะไตวายภายหลังการใช้ยา ฐานข้อมูลศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Thai Vigibase).[ออนไลน์]. เข้าถึง 12 เมษายน 2557. http://thaihpvc.fda.moph.go.th/thaihvc/Public/main.jsf


ทบทวนความเสี่ยง เพื่อป้องกันเชิงระบบ

กลุ่มงานเภสัชกรรม ได้ทบทวนความเสี่ยงในระบบยา 
และพัฒนาระบบในการป้องกันความเสี่ยง ดังนี้

            1. ใช้โปรแกรมบันทึก รายละเอียด ความถี่ ความคลาดเคลื่อนเป็นรายบุคคลในขั้นตอนการลงข้อมูล การจัดยา การตรวจสอบ แล้วแจ้งเป็นรายบุคคล เพื่อให้ทราบข้อผิดพลาดตัวเอง และประชุมร่วมกันค้นหาสาเหตุของความคลาดเคลื่อนในเชิงระบบ พบว่าสามารถลดความคลาดเคลื่อนของแต่ละบุคคลในขั้นตอน Pre-dispensing error ลงได้โดยเฉลี่ยร้อยละ 70 และนำสาเหตุบางอย่างมาแก้ไขในเชิงระบบได้
           2.  พัฒนาโปรแกรม Microsoft Office Access ใช้ช่วยลงข้อมูล Prescribing Error เพื่อง่ายต่อการจัดประเภทการ Error และแยกเป็นหน่วยงานตาม PCT เพื่อง่ายต่อการนำไปประสาน ทำให้แพทย์และหน่วยงานใน PCT นั้นๆ ทราบคลาดเคลื่อนอย่างละเอียด  นำไปสู่การลดความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา
           3.  รายการ Sound alike และคู่ยาบางรายการที่วิเคราะห์แล้วว่าน่าจะเกิดจากฉลากยา ได้มีการแก้ไขที่ตำแหน่ง Alphabet  พบว่าลดปัญหาในขั้นตอน Pre-dispensing error ลงได้โดยเฉลี่ยร้อยละ 95  3 คู่ (ชื่อการค้าของ Meropenem กับ Piperacilin , ชื่อการค้าของ Meropenem กับ Imipenem , ชื่อการค้าของ Metoprolol กับ Amiodarone เมื่อมีการแก้ไขแล้ว ในเดือนต่อมาไม่พบการจัดผิดเลย


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560