1 MAY 2013


PHARMA NEWS


ฉบับประจำวันที่ 1 พฤษภาคม  2557



ข่าวจากกลุ่มงานเภสัชกรรม





เปลี่ยนแปลงยาในบัญชียาโรงพยาบาล

1. Procaterol 50 mcg.

เปลี่ยนบริษัทจัดในการจัดซื้อ จากชื่อการค้า MEPTIN มาเป็น ชื่อการค้า CATEROL 50 ® ผลิตโดย PHARMASANT LABORATORY CO.,LTD จำหน่ายโดย CENTRAL POLY TRADING CO.,LTD


ยาใหม่
รายการยาเข้าใหม่

1. Rivaroxaban 20 mg.

ชื่อการค้า : Xarelto ®
ข้อบ่งใช้ยา : ป้องกันการเกิด stroke และลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดในผู้ป่วย non- valvular atrial fibrillation, ใช้ในการรักษาลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำส่วนลึก (Deep Vein Thrombosis, DVT) และป้องกันการกลับเป็นซ้ำของ DVT และลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดที่ปอด (Pulmonary Embolism,PE) หลังการเกิด DVT ชนิดเฉียบพลัน ในผู้ใหญ่

     หมายเหตุ : เป็นยาที่สั่งมาใช้สำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย






โครงการ สาระน่ารู้สู่ประชาชน


         กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร เชิญชวนผู้ที่สนใจ  เข้าร่วมโครงการ      สาระน่ารู้สู่ประชาชน เพื่อให้สาระความรู้ด้านอาหาร และ ยา  สอดแทรกความบันเทิงให้ประชาชน บุคลากรในโรงพยาบาล ผู้ป่วยและญาติ ทุกวันศุกร์สุดท้ายของเดือน 
         เดือน พฤษภาคม พบกันวันที่ 30 พฤษภาคม 2557 ณ ลานพักญาติ ด้านหลังอาคารอุบัติเหตุฉุกเฉิน





ก      


ผลการดำเนินการกิจกรรมถุงผ้า


สรุปการทำกิจกรรม  Medication Reconciliation ผู้ป่วยใน

     กลุ่ม งานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้มีการดำเนินกิจกรรม ทบทวนการใช้ยาของผู้ป่วย ที่เป็นโรคเรื้อรัง เมื่อเข้าทำการรักษาตัว เป็นผู้ป่วยใน โรงพยาบาล  โดยเปรียบเทียบ ยาที่ผู้ป่วยได้รับทั้งหมด ตั้งแต่อยู่ที่บ้าน รับยามาจากโรงพยาบาลอื่น ยาที่แพทย์สั่งขณะที่นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล และยาที่แพทย์สั่งเมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน เพื่อลดความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยา  ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างต่อเนื่อง ลดความซ้ำซ้อนจากการกินยา ได้มีการดำเนินการครอบคลุมทุกหอผู้ป่วย อย่างเป็นระบบ สามารถสรุปผลการดำเนินการ เดือน มีนาคม 2557 ดังนี้
     มีผู้ป่วยที่มียาเดิม ที่ต้องทบทวนการใช้ยาทั้งหมด  89 ราย ได้มีการทบทวนการใช้ยาของผู้ป่วย  88 ราย คิดเป็นร้อยละ  98.88 หอผู้ป่วยที่มีการทบทวนใบสั่งยา มากที่สุด คือ หอผู้ป่วยอายุรกรรม   รายละเอียดดังกราฟ






ความรู้คู่ยา




ใช้ยาพาราเซตตามอลอย่างไรให้ปลอดภัย

          ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) มีสรรพคุณในการแก้ปวด ลดไข้ จัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน มีขายในชื่อการค้าต่างๆ เช่น ไทลีนอล, ซาร่า, เทมปร้า, คาลปอล ยังมีผสมในยาแก้หวัดหลายยี่ห้อ เช่น ดีคอลเจน, ทิฟฟี่, นูต้า เป็นต้น และผสมในยาแก้ปวดเมื่อยคลายกล้ามเนื้อ เช่น มัสคอล, นอร์เจสิก, พาราฟอนฟอร์ท เป็นต้น

          ขนาดยาและวิธีใช้

พาราเซตตามอล 500 มิลลิกรัม

เด็ก (6-12 ปี) รับประทานครั้งละ 1/2 - 1 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการปวดหรือมีไข้ แต่ไม่เกิน 2.6 กรัม

ผู้ใหญ่ รับประทาน 1 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง หากรับประทาน 2 เม็ด ให้รับประทานทุก 6 ชั่วโมง ไม่เกินวันละ 8 เม็ด 

ยาน้ำพาราเซตตามอล ขนาด 120  มิลลิกรัม/5 มิลลิลิตร


 รับประทาน ขนาด 10 มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ ครั้ง ทุก 4-6 ชั่วโมง


** ไม่ให้รับประทานยาติดต่อกันเกิน 5 วัน

ผลข้างเคียงจากยา

          หากมีการใช้ยาเกินขนาด จะทำให้เกิดพิษต่อตับ ยาพาราเซตามอล จะถูกส่งไปทำลายที่ตับ เปลี่ยนเป็นรูปแบบที่ไม่มีฤทธิ์ แล้วขับออกทางไตในรูปแบบของปัสสาวะ หากได้รับยาในปริมาณสูง หรือเป็นเวลานาน ตัวยาก็จะไปสะสมที่ตับ ทำให้เซลล์ตับตาย หากได้รับยาต้านพิษไม่ทันเวลา จะทำให้เสียชีวิตได้
          นอกจากนี้ การกินยาพาราเซตามอลร่วมกับเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ จะทำให้เสริมฤทธิ์การเป็นพิษต่อตับยิ่งขึ้น
          



ทบทวนความเสี่ยงเพื่อการป้องกันเชิงระบบ


          พบความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาผิดชนิด จากการอ่านคำสั่งยาคลาดเคลื่อน  ดังใบสั่งยา 




          ยารายการที่สาม แพทย์ต้องการสั่งยา Omeprazole 20 mg 1x1  จำนวน 30  เม็ด แต่ ห้องยา อ่านชื่อยาเป็น Enalapril 20 mg 1x1 จำนวน 30 เม็ด เมื่อมาทบทวนใบสั่งยา พบว่าเป็นยา Omeprazole จึงได้โทรศัพท์ติดตามผู้ป่วย และเปลี่ยนยาที่ถูกต้องให้กับผู้ป่วย

การทบทวน

1. ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้น เกิดจากการเขียนชื่อยา ไม่ชัดเจน ชื่อยา Omeprazole และ Enalapril มีชื่อยาที่คล้ายกัน ความแรงของยาก็เท่ากัน คือ 20 mg. 
2. ได้แจ้งเตือนในหน่วยงาน ให้ระวัง และหากมีการสั่งยาด้วยลายมือแพทย์ลักษณะนี้ ถ้าไม่แน่ใจว่าเป็นยาอะไร ให้ยืนยันกับแพทย์อีกครั้ง 
3. ประสานงานในที่ประชุม PCT ขอให้เขียนชื่อยาให้ชัดเจน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560