PHARMA NEWS


ฉบับประจำวันที่ 16 ตุลาคม   2557



ข่าวจากกลุ่มงานเภสัชกรรม


เปลี่ยนแปลงรายการยาในโรงพยาบาล

1. Aripiprazole 15 mg. 

เปลี่ยนบริษัทจัดซื้อยา เป็นยาที่ผลิตโดย บริษัท ยูนิซัน จำกัด
ชื่อการค้า : APALIFE 15  ®
ชื่อสามัญทางยา : Aripiprazole  
ความแรง :  ในยา 1 เม็ด มีตัวยา Aripiprazole 15 mg.
ลักษณะยา : เป็นยาเม็ดกลมนูน เคลือบฟิล์มสีเหลืองอ่อน ด้านหนึ่งมีเลข 15 อีกด้านหนึ่งเรียบบรรจุในแผง แผงละ 10 เม็ด
ข้อบ่งใช้ : รักษาโรคจิตเภท, โรคอารมณ์แปรปรวนชนิดไบโพลาร์



ยาใหม่


ยาเดิม



2 .Lamotrigine 100 mg. 

เปลี่ยนบริษัทจัดซื้อยา เป็นยาที่ผลิตโดย บริษัท เคนยากุ (ประเทศไทย)  จำกัด
ชื่อการค้า : Neumogine  ®
ชื่อสามัญทางยา : Lamotrigine   
ความแรง :  ในยา 1 เม็ด มีตัวยา Lamotrigine 100  mg.
ลักษณะยา : เป็นยาเม็ดสี่เหลี่ยมนูน ขอบมน สีเหลืองอ่อน ด้านหนึ่งมีขีดแบ่งครึ่ง  อีกด้านหนึ่งมีตัวอักษร "NRP 100 " บรรจุในแผง แผงละ 10 เม็ด
ข้อบ่งใช้ : รักษาโรคลมชัก



ยาใหม่

ยาเดิม



3 .Memantine Hydrochloride 10  mg. 

เปลี่ยนบริษัทจัดซื้อยา เป็นยาที่ผลิตโดย บริษัท มิลลิเมด จำกัด
ชื่อการค้า : Neumantine  ®
ชื่อสามัญทางยา : Memantine Hydrochloride   
ความแรง :  ในยา 1 เม็ด มีตัวยา Memantine Hydrochloride  10  mg.
ลักษณะยา : เป็นยาเม็ดรูปยาวนูน ปลายมนทั้งสองด้าน ด้านหนึ่งมีขีดแบ่งครึ่ง อีกด้านหนึ่งเรียบ
ข้อบ่งใช้ : รักษาภาวะสมองเสื่อมชนิด Alzheimer ที่มีอาการในระดับปานกลางถึงรุนแรง




                                                               ยาใหม่




                                                                     ยาเดิม


      กิจกรรมถุงผ้า     


          กลุ่มงานเภสัชกรรม ได้ทำกิจกรรมถุงผ้า ในแผนกผู้ป่วยนอก และ แผนกผู้ป่วยใน เพื่อติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย ลดปัญหาการใช้ยาซ้ำซ้อน ยาเสื่อมสภาพ 
          แผนกผู้ป่วยนอก เภสัชกร จะทำการติดตามยาของผู้ป่วย ที่คลินิกโรคเรื้องรังต่างๆ ได้แก่ คลินิกอายุรกรรม ได้แนะนำให้ผู้ป่วยนำยาที่แพทย์สั่ง ที่เหลือที่บ้าน กลับมาด้วยทุกครั้ง ที่มาพบแพทย์ตามนัด เภสัชกรจะทำการติดตามการใช้ยา ให้คำแนะนำการใช้ยาแก่ผู้ป่วย หากมีการสั่งยาชนิดเดิม ก็จะนำยาเดิมของผู้ป่วยรายนั้นๆ มาใช้ต่อ  หลังจากที่มีการตรวจสภาพ และพบว่ายายังมีคุณภาพ 
          จากการดำเนินกิจกรรม ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557   เป็นต้นมา ในแผนกผู้ป่วยนอก ได้ติดตามการใช้ยาผู้ป่วยทั้งหมด 3,110  คน จำนวนผู้ป่วยในแต่ละเดือน รายละเอียด ดัง กราฟ





                 จากการที่นำยาเดิมของผู้ป่วยรายนั้นๆ มาใช้ต่อ ทำให้โรงพยาบาลสามารถประหยัดค่ายาได้ ในปี 2557 เป็นจำนวนเงิน  840,120.36  บาท. ดังกราฟ





ข่าวความปลอดภัย


การยกเลิกข้อบ่งใช้รักษา ภาวะกระดูกพรุน ของยา Calcitonin


           ยา calcitonin เป็นฮอร์โมนที่เพิ่มระดับแคลเซียมในกระดูกและลดระดับแคลเซียมในเลือด ข้อบ่งใช้คือ รักษาภาวะกระดูกพรุน มีทั้งชนิดพ่นจมูกและชนิดฉีดในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย  ในปี 2555 European Medicines Agency's Committee for Medical Products for Human Use : CHMP ได้ประเมินประโยชน์และความเสี่ยงของยา calcitonin ชนิดพ่นจมูก พบว่าประโยชน์ ไม่มากกว่าความเสี่ยงที่พบ เนื่องจากมีหลักฐานทางวิชาการ ชี้ว่า ผู้ป่วยที่ได้รับ calcitonin ในระยะยาว เมื่อเทียบกับผู้ที่ได้รับยาหลอก มีความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ( 0.7 % - 2.4 %)  
          วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556  คณะกรรมาธิการยุโรป ได้เพิกถอนยา calcitonin ชนิดพ่นจมูกออกจากท้องตลาดในสหภาพยุโรป

           การดำเนินการของประเทศไทย

          สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ออกจดหมายแจ้งเตือนให้บุคคลากรทางการแพทย์ทราบถึงความเสี่ยงของยา และขอให้ใช้ยาด้วยความระมัดระวัง เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง พร้อมกันนั้นก็ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมิน ประโยชน์และความเสี่ยงของยา calcitonin เสนอคณะทำงานพัฒนาระบบและจัดการความเสี่ยงด้านยา และคณะอนุกรรมการศึกษาและเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ยาพิจารณาตามลำดับ
           สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยคำแนะนำของคณะอนุกรรมการศึกษาและเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ยา จึงเสนอมาตรการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย แก่คณะกรรมการยา พิจารณาให้ความเห็นชอบตามเกณฑ์การออกมาตรการทางกฎหมาย ซึ่งคณะกรรมการยามีมติเห็นชอบตามที่เสนอ คือ
1. ยกเลิกข้อบ่งใช้รักษาภาวะกระดูกพรุนของยา calcitonin ทุกรูปแบบ
2. กำหนดให้ยา calcitonin ทุกรูปแบบ ต้องมีคำเตือนตามกฎหมาย ดังนี้ " มีรายงานว่า การใช้ calcitonin ชนิดพ่นจมูกในระยะยาวทำให้เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็ง "
           ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความคำเตือนของยา calcitonin ฉบับที่ 54  ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ซึ่งอยู่ระหว่างประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยจะมีผลบังคับให้ผู้ประกอบการต้องแสดงข้อความคำเตือนของยา calcitonin ไว้ในฉลากและเอกสารกำกับยาภายหลังวันที่กำหนดในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

reference : พัทรียา โภคะกุล. " การยกเลิกข้อบ่งใช้รักษาภาวะกระดูกพรุน ของยา calcitonin " ข่าวสารด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ. 17(3) : 67 - 71 : กรกฎาคม - กันยายน 2557.












































ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560