Pharma NEWs

 ฉบับประจำวันที่ 1 สิงหาคม 2555 

  ข่าวจากฝ่ายเภสัช 

        กลุ่มงานเภสัชกรรม ขอเชิญชวนบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสัปดาห์ความปลอดภัยในระบบยา     ระหว่างวันที่ 21-24 สิงหาคม 2555  ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารอุบัติเหตุ เพื่อฟื้นฟูองค์ความรู้ในการสั่งใช้และบริหารยาอย่างถูกต้อง สร้างบรรยากาศแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงคุณภาพทางระบบยา 

เปลี่ยนแปลงบัญชียาโรงพยาบาล

1. ได้มีการเปลี่ยนแปลงรายการยา SERMION®  ชื่อสามัญทางยาคือ  NICERGOLINE จากบริษัท Pfizer โดยตัดความแรง 30 mg ออกจากบัญชียาโรงพยาบาล และนำยาขนาด 10 mg เข้ามาแทน




 ยาเดิม Nicergoline ขนาด 30 






                                                                                                                            


                                             
                                           ยาใหม่ Nicergoline 10 mg 




2. รายการยาวัคซีน เข้าใหม่ ต้องชำระเงินทุกสิทธิ์การรักษา 5 รายการ ดังนี้



ชื่อยา
ข้อบ่งใช้
ราคา
PRIORIX-MMR VACCINE
ป้องกันการติดเชื้อหัด คางทูม และหัดเยอรมัน
237  บาท
CERVARIX INJ 0.5 ML/DOSE
เป็นวัคซีนสำหรับใช้ป้องกันการติดเชื้อฝังแน่น รอยโรคก่อนมะเร็ง และมะเร็งปากมดลูก
2,256  บาท
ENGERIX-B INJ
วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
294  บาท
VARILRIX INJ 0.5 ML/DOSE
ใช้ป้องกันโรคอีสุกอีใสอายุตั้งแต่ 9 เดือนขึ้นไป
1,131  บาท
BOOSTERIX INJ(DPT) 0.5 ML/DOSE
วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน
639  บาท


ความรู้คู่ยา

  แนวทางการเฝ้าระวัง ADR 
การแพ้ยากลุ่มเดียวกันและการแพ้ยาข้ามกลุ่ม
          ผู้ป่วยที่เคยแพ้ยา มีโอกาสแพ้ยาในกลุ่มเดียวกัน หรือกลุ่มที่มีสูตรโครงสร้างใกล้เคียงกันได้ โดยกลุ่มที่พบบ่อยในการแพ้ยาข้ามกลุ่มได้แก่ ยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนนิซิลลิน ซัลโฟนาไมด์ และกลุ่มยาแก้ปวด NSAID

 
กลุ่มยา/รายชื่อยา
ยาที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายกันและอาจแพ้ข้ามกลุ่ม
การจัดการ
Penicillin
-         Amoxycillin
-         Augmantin
-         Ampicillin
-         Cloxacillin
-         Dicloxacillin
-         Penicillin V
-         Penicillin G
Cephalosporins
-         Cefazolin
-         Cephalexin
-         Ceftriaxone
ยาทั้งหมดมีโอกาสแพ้ข้ามกลุ่มน้อยกว่า 10%
*หากผู้ป่วยแพ้ยาตัวใดตัวหนึ่งในกลุ่มนี้ด้วยอาการ Urticaria(ลมพิษ) ,Angioedema (หน้าบวม,ตาบวม), Anaphylactic shock, Stevens Johnson Syndrome, TEN ให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาทุกตัวในกลุ่มนี้ ให้จ่ายยา Erythromycin หรือ Roxithromycin แทน
* ในกรณีที่ผู้ป่วยมีประวัติกินยาตัวอื่นนอกจากยาที่แพ้ได้ ให้จ่ายยาที่ผู้ป่วยสามารถกินได้ต่อไป เช่น ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยา penicillin แต่เคยใช้ยา amoxicillin แล้วไม่แพ้ จึงสามารถจ่ายยา amoxicillin ให้ผู้ป่วยได้
Sulfonamide
-         Silver sulfadiazine
-         Sulfamethoxazole
-         Co-trimoxazole
-         HCTZ
-         Cerecoxib
-         Sulfasalazine
-         Glibenclamide
-         Furosemide
-         Dapsone
การแพ้ยาข้ามกันในกลุ่มยาซัลโฟนาไมด์ที่เป็นยาต้านเชื้อแบคทีเรียด้วยกันเอง
 - เป็นไปได้สูงหากผู้ป่วย ซัลโฟนาไมด์ตัวใดตัวหนึ่ง ควรหลีกเลี่ยงยากลุ่มซัลโฟนาไมด์ที่เป้นยาต้านเชื้อแบคทีเรีย
การแพ้ยาข้ามกันระหว่างยากลุ่มซัลโฟนาไมด์ที่เป็นยาต้านเชื้อแบคทีเรียกับยาอื่นที่มิใช่ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย
- จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าการแพ้ยาข้ามกลุ่มในยากลุ่มซัลฟา พบได้ค่อนข้างน้อยมาก แต่ยาผู้ป่วยมีอาการแพ้รุนแรง เช่น steven Johnson syndrome,TEN, Anaphylaxis shock ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีโครงสร้างคล้ายกับยากลุ่มซัลโฟนาไมด์

NSAID
-         Diclofenac
-         Ibuprofen
-         Indomethacin
-         Mefenamic Acid
-         Naproxen
-         Piroxicam
-         Aspirin

* คนไข้มีประวัติ หอบหืด ภูมิแพ้ เช่น มีอาการจามตอนเช้าๆ หากแพ้ยาตัวใดตัวหนึ่ง ห้ามให้ยาทุกตัวในกลุ่ม
*คนไข้ไม่มีประวัติหอบหืด ภูมิแพ้ หากแพ้ยาตัวใดตัวหนึ่งให้ระวังในการใช้ยาตัวอื่น แต่ถ้าแพ้ยาตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ห้ามใช้ยาในกลุ่ม NSAIDs ทั้งหมด
* คนไข้มีประวัติเคยใช้ยาแล้วไม่มีอาการแพ้มากกว่า 2 ครั้ง ให้ใช้ยาตัวนั้นได้ต่อไป







ทบทวนความเสี่ยงเพื่อการปรับปรุงระบบ



เหตุการณ์
        ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล โดยได้รับยา Ceftriaxone inj. ซึ่งเป็นรายการยาที่แพ้ จากการตรวจสอบมีบันทึกประวัติการแพ้ยาเข้าสู่ระบบครบถ้วน ทั้งเวชระเบียนผุ้ป่วยนอก บัตรแพ้ยา และระบบตั้งเตือนในคอมพิวเตอร์
บทเรียน
    ควรเน้นย้ำการซักประวัติแพ้ยาทุกครั้ง โดยทุกบุคลากรตั้งแต่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร โดยทวนซ้ำทั้งการสัมภาษณ์คัดกรองประวัติและทวนจากข้อมูลแพ้ยาที่แสดงในใบยาและใบส่งมอบยา โดยระบบป้องกันในคอมพิวเตอร์เป็นเพียงเครื่องมือช่วยป้องกันตัวหนึ่งเท่านั้น
          โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้มีการเปลี่ยนตำแหน่งการแสดงข้อมูลแพ้ยาในผู้ป่วยนอกใหม่เป็น ตำแหน่งก่อนการสั่งยาของแพทย์เพื่อให้เห็นข้อมูลที่ชัดเจนขึ้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560