Pharma NEWs

 ฉบับประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 

  ข่าวจากฝ่ายเภสัช 

        กลุ่มงานเภสัชกรรม ขอเชิญชวนบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสัปดาห์ความปลอดภัยในระบบยา     ระหว่างวันที่ 21-24 สิงหาคม 2555  ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารอุบัติเหตุ เพื่อฟื้นฟูองค์ความรู้ในการสั่งใช้และบริหารยาอย่างถูกต้อง สร้างบรรยากาศแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงคุณภาพทางระบบยา  โดยมีกำหนดการดังนี้
วันที่ 21 สิงหาคม 2555 

8.30-9.00 น.          พิธีเปิดการประชุม โดยผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธโสธร
9.00-10.30 น.        บรรยายวิชาการ Non-skin Adverse drug reaction 
                                โดย ภญ. จันจิรา   ชอบประดิถ โรงพยาบาลสมุทสาคร
10.30-12.00 น.      บรรยายวิชาการ เรียนรู้จากกรณีแพ้ยาซ้ำ
                                โดย ภญ. จันจิรา   ชอบประดิถ โรงพยาบาลสมุทสาคร
13.00-16.00 น.      บรรยายวิชาการ การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล 
                                โดย นพ. พิสนธิ์    จงตระกูล คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ 

วันที่ 22 สิงหาคม 2555

9.00-10.30 น.       บรรยายวิชาการ การบริหารจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูง(HAD)
                               โดย ภก.ปรมินทร์     วีระอนันตวัฒน์ 
                               สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน)
10.30-12.00 น.     เวทีอภิปราย เรื่องเล่าจาก High Alert Drug
                               โดย ภก.ปรมินทร์     วีระอนันตวัฒน์ 
                               สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน)
                               - ตัวแทนพยาบาลหอผู้ป่วยและเภสัชกรงานผู้ป่วยใน
13.00-14.30 น.    บรรยายวิชาการ Medication Reconcilation 
                              โดย ภก.ปรมินทร์     วีระอนันตวัฒน์ 
                               สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน)
14.30- 16.00 น.    เวทีอภิปราย เรื่องเล่าจาก Medication Reconcilation
                               โดย - ภก.ปรมินทร์     วีระอนันตวัฒน์
                                - ตัวแทนพยาบาลหอผู้ป่วยและเภสัชกรงานผู้ป่วยใน

วันที่ 23-24 สิงหาคม 2555 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบยาจากหน้างานจริง


วันที่ 23 สิงหาคม 2555     9.00-12.00       ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรม
                                          13.00-16.00     ณ หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม
                                                                     ณ ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

วันที่ 24 สิงหาคม 2555    9.00-12.00        ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรม
                                         13.00-16.00      ณ หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม
                                                                     ณ หน่วยตรวจตาและอายุรกรรม





ความรู้คู่ยา

      ยาชนิดต่างๆที่เราใช้รักษาโรคในปัจจุบัน มีมากมาย มีประโยชน์ในการรักษาโรคต่างๆ แต่หากมีการใช้ยาที่ไม่ถูกวิธี ก็จะทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาได้  มียากลุ่มหนึ่ง ที่เราเรียกว่า ยาที่มีความเสี่ยงสูง หรือที่เรียกว่า High Alert Drug เป็นยาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดพลาดในกระบวนการรักษา   ก่อให้เกิดอันตรายอาจถึงแก่ชีวิต  หากเกิดความผิดพลาดในการใช้ยา หรือบริหารยานั้นๆ   
     คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้ตระหนักถึงความเสี่ยงจากการบริหารยาไม่ถูกวิธีและอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย ได้ร่วมกับ PCT ต่างๆ กำหนดรายการยาความเสี่ยงสูงของโรงพยาบาล  เพื่อจัดทำเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ในการบริหารยา และได้มีการประสานงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ วิชาชีพแพทย์ พยาบาล และเภสัชกร ในการจัดทำแนวทางในการบริหารจัดการยาความเสี่ยงสูงร่วมกัน ตั้งแต่การนำยาเข้าสู่เภสัชตำรับโรงพยาบาล การกระจายยา การสั่งใช้ยา การบริหารยา และการติดตามอาการอาการของผู้ป่วยหลังจากที่ได้รับยา  ซึ่งรายการยาความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลพุทธโสธร มีดังนี้

 1. ยาเตรียม Cytotoxic inj. (ได้แก่ Cyclophosphamide inj., Doxorubicin inj., Dactinomycin inj., Fluorouracil inj., Methotrexate inj., Paclitaxel inj., Irinotecan inj., Oxaliplatin inj.)
2. KCl inj. เฉพาะความเข้มข้น K> 40 meq ในสารละลาย 1000 cc
    KCl inj. เฉพาะความเข้มข้น K> 0.1 mg/kg/1000 cc (ในกรณีผู้ป่วยเด็ก)
3. Dopamine inj.
4. Dobutamine inj.
5. Digoxin inj.
6. Digoxin Elixir
7. Cordarone inj.
8. Streptokinase inj.
9. Levophed inj.
10. Aminophylline inj. เฉพาะกรณีผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 15 ปี
11. Enoxaparin inj.
12. Indocid inj. เฉพาะ New born
13. Pethidine inj.
14. Parenteral nutrion
15. Morphine inj.
16. MgSO4 inj กรณี severe Pre-eclamsia
17. Bricanyl inj. เฉพาะกรณีคนตั้งครรภ์ที่มีปัญหา contraction ผิดปกติ
18. Arixtra
19. Actilyse

     ซึ่ง ทุกรายการ High Alert Drug ความแรงหนึ่งๆ จะมีรูปแบบเดียว เพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยา ที่ภาชนะบรรจุยา หรือ amp ยา จะมีสติ๊กเกอร์สีชมพูสะท้อนแสงติด เพื่อแสดงว่าเป็นยา High Alert Drug 

 
Potassium chloride injection
  
      ตัวอย่างยา High Alert Drug Potassium Chloride Injection มีการติดสติ๊กเกอร์สีชมพูสะท้อนแสดงที่ ภาชนะบรรจุยา เพื่อแสดงว่า เป็นยาที่มีความเสี่ยงสูง
     ในการจัดเก็บยา จะแยกเก็บยาในที่เก็บเฉพาะ High Alert Drug และมีคำเตือน  " ยาที่มีความเสี่ยงสูง ต้องระวังยิ่ง " ติดที่กล่องยา 

                                       
                                        การจัดเก็บยา High Alert Drug
     
     ในขั้นตอนการจ่ายยา  เภสัชกรเป็นผู้ตรวจสอบใบสั่งยาก่อนจัดเตรียมยา มีการเซ็นชื่อกำกับในการจัดยา  โดยมีการตรวจสอบซ้ำ โดยผู้จัดยา 2 คน มีเอกสารข้อควรระวัง แนบไปกับยา และมีเภสัชกรตรวจสอบยาก่อนจ่ายอีกครั้ง


                          ตัวอย่างเอกสารข้อควรระวังในการใช้ยา KCl inj.

  
     ซึ่งในวารสาร Pharma News ฉบับต่อไป จะกล่าวถึง รายละเอียดของยา High Alert Drug แต่ละชนิด

  ทบทวนความเสี่ยงนำไปสู่การแก้ไขเชิงระบบ

   กลุ่มงานเภสัชกรรม ได้มีการทบทวนรายงานความเสี่ยง ในเรื่อง ความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา  โดย ในใบสั่งยา  แพทย์ได้สั่งยา Betnovate creame  ดังภาพ
 


     แต่ผู้ป่วยรายนี้ได้รับยา เป็นครีมนวดน้ำมันระกำไป ผู้ป่วยใช้ยาหมดแล้ว และนำมาแจ้งที่ห้องยา จึงได้มีการทบทวนเหตุการณ์ พบว่ากล่องยาของ betamethasone creame และ Balm มีกล่องที่คล้ายกันทั้งขนาด และสีของกล่องยา  ดังภาพ

methyl salicylate creame


Betamethasone creame

  จึงได้มีการแก้ไขโดยประสานงานกับงานคลังเวชภัณฑ์ ในการจัดซื้อยา Betamethasone creame จากบริษัทใหม่ เป็นกล่องยาสีชมพู  ซึ่งหลังจากที่เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ ยังไม่มีรายงานความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นอีก


Betamethasone บริษัทใหม่
                  
 ตอบคำถามชิงรางวัล

      คำถาม ประจำฉบับนี้ คือ รายการยาความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลพุทธโสธร มีกี่รายการ  อะไรบ้าง

     ส่งคำตอบได้ที่ ห้องจ่ายยาทุกห้อง ภายในวันที่ 14 กรกฎาคม 2555   ผู้ที่ตอบถูกจะได้รับของรางวัลเป็น กล่ิองใส่ CD สวยหรู ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลในวารสาร ฉบับประจำวันที่ วันที่ 16 กรกฎาคม 2555

 

พบกันใหม่ ฉบับวันที่ 16 กรกฎาคม 2555 ค่ะ 
 























     





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 february 2015

มกราคม 2560