PHARMA NEWS
ฉบับประจำวันที่ 1 มกราคม 2558
ข่าวจากกลุ่มงานเภสัชกรรม
เปลี่ยนแปลงรายการยาในโรงพยาบาล
1. Escitalopram Oxalate
เปลี่ยนบริษัทจัดซื้อยา จากชื่อการค้า Lexapro ® เป็น ชื่อการค้า ESIDEP ® ซึ่งเป็นยาที่ผลิตโดยบริษัท RANBAXY LABORATORIES LIMITED.INDIA
ชื่อสามัญทางยา : Escitalopram Oxalate
ความแรง : ในยา 1 แผง มีตัวยา Escitalopram Oxalate 10 mg.
ลักษณะยา : เป็นยาเม็ดเคลือบฟิล์ม รูปรี สีขาวถึงขาวนวล นูนทั้ง 2 ด้าน ด้านหนึ่งมีรอยแบ่งครึ่งเม็ดยา ใน 1 แผงมีตัวยา 7 เม็ด ใน 1 กล่อง มียา 28 เม็ด
ข้อบ่งใช้ : เป็นยาต้านอาการซึมเศร้า
งานนิทรรศการยา สัปดาห์เภสัช
กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร จัดกิจกรรม สัปดาห์เภสัช เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องด้านยา และความเสี่ยงด้านยา ในวันที่ 26-30 มกราคม 2558 จึงขอเชิญชวนให้ทุกหน่วยงานและผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมในวัน เวลาดังกล่าว กำหนดการจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ความรู้คู่ยา
ลดความอ้วน กับการใช้ยา
ยาลดความอ้วนส่วนใหญ่ จะออกฤทธิ์ทำให้ลดความอยากอาหาร ลดความถี่ของความรู้สึกหิว เป็นยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสามส่วนกลาง การใช้ยาลดน้ำหนักจะทำให้น้ำหนักลดลงได้ขณะรับประทานยา แต่น้ำหนักจะสูงกลับขึ้นเท่าเดิมเมื่อหยุดยา เนื่องจากการใช้ยาลดน้ำหนักในช่วงระยะเวลาหนึ่งนั้น จะทำให้ร่างกายปรับตัวตามธรรมชาติ เมื่อร่างกายได้รับพลังงานจากอาหารน้อยลง เพื่อที่จะให้มีพลังงานเพียงพอที่จะดำรงชีวิต จึงปรับตัวให้มีอัตราการเผาผลาญพลังงานลดลง เมื่อหยุดยาและกลับมารับประทานเท่าเดิม จะทำให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นกว่าเดิม จากการที่มีการเผาผลาญพลังงานที่ลดลงนั่นเอง เราเรียกอาการนี้ว่า yo-yo effect
วิธีง่ายๆ ที่จะดูว่าตนเองอ้วนหรือไม่นั้น คำนวนได้จาก การหาค่าดัชนีมวลกาย ( Body Mass Index)
การคำนวน ดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก (kg)
ส่วนสูง 2 (m)
ยกตัวอย่าง เช่น สูง 160 cm หนัก 50 kg. คำนวณ ดัชนีมวลกายดังนี้
ดัชนีมวลกาย = 50 = 22.22
( 1.5) 2
จากนั้นนำค่าดัชนีมวลกาย มาแปรผลดังนี้
ต่ำกว่า 20 หมายความว่า น้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน
20.0-24.9 หมายความว่า น้ำหนักปกติ
25.0- 29.9 หมายความว่า น้ำหนักเกิน
30.0-39.9 หมายความว่า โรคอ้วน
มากกว่า 40 หมายความว่าโรคอ้วนรุนแรง
ผลจากการใช้ยาลดความอ้วน
การออกฤทธิ์ของยาลดความอ้วน คือกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง และยาส่วนใหญ่จัดเป็นอนุพันธ์ของแอมเฟตามีน แต่มีการพัฒนายาให้มีผลข้างเคียงต่อระบบประสาทน้อยกว่ามาก ผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ ไม่อยู่นิ่งเฉย นอนไม่หลับ เวียนศรีษะ วิตกกังวล เคลิ้มฝัน ปวดศรีษะ ตาพร่า หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดการติดยาได้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีประวัติใช้ยาในทางที่ผิด หรือมีภาวะซึมเศร้ามาก่อน แม้ว่าจะใช้ยาในขนาดปรกติเพื่อลดความอ้วน หากหยุดยาอย่างทันทีทันใด ก็อาจเกิดภาวะถอนยาได้ อาการดังกล่าวได้แก่ การเกิดภางะทางจิตอย่างเฉียบพลัน ประกอบด้วยอาการสับสน หวาดระแวง และประสาทหลอน
การลดน้ำหนักอย่างถาวร ทำอย่างไร
วิธีลดน้ำหนักตัวที่แนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่
1. การควบคุมอาหาร
2. การออกกำลังกาย
3. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
• การรับประทานอาหารนอยลงวันละ 500 กิโลแคลอร่ี นํ้าหนักตัวจะลดลงไดประมาณ 0.45 กิโลกรัม ตอสัปดาห ถาปฏิบัติไดจริงในชวง 10 เดือน จะสามารถลดได 18 กก. ท้ังน้ีตองมีความต้ังใจความอดทนจึง
ประสบความสําเร็จ
• การออกกําลังกายสมํ่าเสมอนอกจากมีผลตอน้ําหนักตัวที่ลดลงแลว ยังทําใหรางกายแข็ง แรงมี
ความเส่ียงตอโรคอ่ืนๆ ลดลง ถาคุณรูสึกวานํ้าหนักมากเกินไป แนะนําใหออกกําลังกาย ครั้งละ 20-30 นาที
5-7 วันตอสัปดาห
• การเปล่ียนแปลงพฤติกรรม เชนรับประทานอาหารในแตละม้ือใหชาลง เค้ียวอาหารให นานข้ึน
กอนกลืนอาหาร จะทําใหรูสึกอิ่ม จะบริโภคไดนอยลง เปนตน
ทบทวนความเสี่ยง
พบความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา ผิดชนิด รายละเอียดดังนี้
แพทย์ ได้สั่งยา Atrovastatin 45 เม็ด ห้องยาจ่ายยาผู้ป่วยไป ต่อมาผู้ป่วยได้นำซองยากลับมาถามที่ห้องยา เนื่องจากแผงยาไม่เหมือนเดิมที่เคยกิน ตรวจสอบที่ซองยา พบว่า มียา Atrovastatin 1 กล่อง คือ 30 เม็ด และ อีก 15 เม็ด ที่เป็นแผงแยกออกมาจากกล่อง พบว่าเป็นยา Clopidogrel กรณีผู้ป่วยรายนี้ยังไม่ได้กินยา เนื่องจากผู้ป่วยสงสัยจึงกลับมาถามก่อน
ใบสั่งยาที่แพทย์สั่งยา |
ยา atrovastatin และ ยา clopidogrel |
แผงยา clopidogerl ด้านหลัง |
แผงยา Atrovastatin ด้านหลัง |
จากลักษณะของแผงยาทั้งสองชนิด พบว่าเป็นยาแผงสีเงินคล้ายกัน หากจัดยา โดยคว่ำด้านที่ไม่มีตัวหนังสือออกมาให้เห็นชัดเจน ทำให้สังเกตุได้ยาก ยาทั้งสองชนิดนี้ก็วางอยู่ชั้นยาที่ห่างกันอยู่แล้ว จึงได้มีการแจ้งเตือนให้บุคคลากรในกลุ่มงานเภสัชกรรม เฝ้าระวังการจัด/ จ่ายยาคู่นี้ ยาคู่นี้ ขณะนี้กำลังติดตามว่าพบการเกิดซ้ำหรือไม่
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น